กิจกรรมรายงานความก้าวหน้าและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ Super KPI การตีพิมพ์ในระดับนานาชาติ และโครงการหน่วยวิจัยเพื่อความเป็นเลิศ ( Unit of Excellence : UoE )

14/6/2565 11:14:14น. 713
UoE มหาวิทยาลัยพะเยา
        กิจกรรมรายงานความก้าวหน้าและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ Super KPI การตีพิมพ์ในระดับนานาชาติ และโครงการหน่วยวิจัยเพื่อความเป็นเลิศ (Unit of Excellence : UoE) จัดขึ้นระหว่างวันที่ 9 – 10 มิถุนายน 2565 ณ โรงแรม Kantary Hills จังหวัดเชียงใหม่ โดยกองบริหารงานวิจัย มหาวิทยาลัยพะเยา เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้การดำเนินงานด้านการวิจัยและนวัตกรรมของมหาวิทยาลัยพะเยาร่วมกันระหว่างผู้บริหารมหาวิทยาลัยและนักวิจัย


       โดยกิจกรรมในวันที่ 9 มิถุนายน 2565 เป็นการนำเสนอผลการดำเนินงานของสถาบันนวัตกรรมและถ่ายทอดเทคโนโลยี” โดยผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สันธิวัฒน์ พิทักษ์พล ผู้อำนวยการสถาบันนวัตกรรมและถ่ายทอดเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยพะเยา ที่ให้การบริการ การจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญา การพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่อาศัยองค์ความรู้จากงานวิจัยและนวัตกรรมเพื่อพัฒนาเป็น UP Products ที่จะวางจำหน่ายใน UP Inno shop ทั้งในรูปแบบ Online และร้านค้าของสถาบันนวัตกรรมฯ รวมถึงอนาคตในการจัดตั้ง อุทยานวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา ที่จะเป็นศูนย์รวมของการวิจัยและพัฒนาทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่ครบวงจร สนับสนุนการถ่ายทอดเทคโนโลยีของมหาวิทยาลัยและการนำเทคโนโลยีไปสู่เชิงพาณิชย์

       จากนั้นได้มีการแลกเปลี่ยนและเรียนรู้ถึงความสำคัญของการตีพิมพ์ผลงานวิจัย สู่การจัดอันดับมหาวิทยาลัยใน World Rankings ร่วมกับมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยได้รับเกียรติจาก รศ.ดร.ปิยะพงศ์ เนียมทรัพย์ ผู้ช่วยอธิการบดี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และคุณธรรมนูญ น่วมอนงค์ รองผู้อำนวยการสำนักงานบริหารงานวิจัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เพื่อให้นักวิจัยมหาวิทยาลัยพะเยาได้เห็นถึงความสำคัญในการตีพิมพ์ผลงานวิจัยในระดับนานาชาติ ซึ่งจะนำไปสู่การขอตำแหน่งทางวิชาการในอนาคตได้ด้วย



        และในวันดังกล่าวได้มีการเสวนาในหัวข้อ “แนวทางการพัฒนานักวิจัยเชิงพื้นที่สู่ผลงานขอตำแหน่งทางวิชาการ” ซึ่งได้รับเกียรติจาก ศ.เกียรติคุณ ดร.เกตุ กรุดพันธ์ กรรมการสภามหาวิทยาลัยพะเยา ได้ร่วมเสวนาถึงแนวทางในการพัฒนางานวิจัยเชิงพื้นที่เพื่อนำไปสู่ตีพิมพ์ผลงานวิจัยทั้งในระดับชาติและนานาชาติ ร่วมกับ ดร.ธนาทิพย์ จันทร์คง อาจารย์ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และ รศ.ดร.ผณินทรา ธีรานนท์ ผู้ช่วยอธิการบดี มหาวิทยาลัยพะเยา


      
  “มหาวิทยาลัยพะเยามีต้นทุนการทำงานวิจัยในพื้นที่อยู่มาก ซึ่งหากทำการวิเคราะห์/สังเคราะห์ได้ จะสามารถเผยแพร่ในรูปแบบ International publication/เกิดนวัตกรรมในหลักสูตร ตลอดจนสามารถบูรณาการร่วมกับการเรียนการสอน งานวิจัย บำรุงศิลปวัฒนธรรมและงานบริการวิชาการ” ศ.เกียรติคุณ ดร.เกตุ กล่าว
        วันที่ 10 มิถุนายน 2565 รศ.ดร.สุภกรณ์ พงศบางโพธิ์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยพะเยา ให้เกียรติเป็นประธานในการเปิดกิจกรรม รายงานความก้าวหน้าและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ Super KPI การตีพิมพ์ในระดับนานาชาติ และโครงการหน่วยวิจัยเพื่อความเป็นเลิศ (Unit of Excellence : UoE) ซึ่งกิจกรรมดังกล่าว เป็นการติดตามผลการดำเนินงานโครงการ รวมทั้งเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้สู่การสร้างแนวปฏิบัติที่ดี ในการพัฒนางานวิจัยของมหาวิทยาลัย ให้เกิดผลกระทบในวงวิชาการระดับสากล


        ในวันเดียวกันนี้ได้มีการมอบรางวัล Top Awards ผลงานการตีพิมพ์ภายใต้โครงการ Unit of Excellence ประจำปี 2564 ให้แก่นักวิจัย มีผู้ได้รับรางวัลดังนี้


        ระดับ Premier League อันดับที่ 1 รศ.ดร.วัชรภรณ์ ช่อลำเจียก และคณะ คณะวิทยาศาสตร์ ผลงานตีพิมพ์ระดับนานาชาติ จำนวน 24 ผลงาน ในชื่อโครงการจัดตั้งหน่วยวิจัยเพื่อความเป็นเลิศ ด้าน หน่วยความเป็นเลิศทางการวิเคราะห์ข้อมูล (รศ.ดร.อนุรักษ์ ประสาทเขตร์การ เป็นผู้ขึ้นรับรางวัลแทน)


        ระดับ Premier League อันดับที่ 2 ดร.ปรัชญา นวนแก้ว และคณะ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ผลงานตีพิมพ์ระดับนานาชาติ จำนวน 15 ผลงาน ในชื่อโครงการจัดตั้งหน่วยวิจัยเพื่อความเป็นเลิศ ด้าน สารสนเทศเชิงประยุกต์เพื่อการสร้างสรรค์สิ่งใหม่


        ระดับ Premier League อันดับที่ 3 รศ. ดร. ภก. สุรศักดิ์ เสาแก้ว และคณะ คณะเภสัชศาสตร์ ผลงานตีพิมพ์ระดับนานาชาติ จำนวน 13 ผลงาน ในชื่อโครงการจัดตั้งหน่วยวิจัยเพื่อความเป็นเลิศ ด้าน การวิจัยผลลัพธ์และบูรณาการทางคลินิก (Clinical Outcomes Research and Integration)

        ระดับ Division 1 อันดับที่ 1 ผศ.ดร.สาคร เมฆรักษาวนิช และคณะ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ผลงานตีพิมพ์ระดับนานาชาติ จำนวน 21 ผลงาน ในชื่อโครงการจัดตั้งหน่วยวิจัยเพื่อความเป็นเลิศ ด้าน เทคโนโลยีสารสนเทศการวิเคราะห์ข้อมูลขั้นสูง


        ระดับ Division 1 อันดับที่ 2 ดร.นิรมล พรมนิล และคณะ คณะบริหารธุรกิจและนิเทศศาสตร์ ผลงานตีพิมพ์ระดับนานาชาติ จำนวน 7 ผลงาน ในชื่อโครงการจัดตั้งหน่วยวิจัยเพื่อความเป็นเลิศ ด้าน นวัตกรรมการท่องเที่ยวและโรงแรม


        ระดับ Division 2 อันดับที่ 1 ผศ.ดร.นครินทร์ ชัยแก้ว และคณะ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ผลงานตีพิมพ์ระดับนานาชาติ จำนวน 4 ผลงาน ในชื่อโครงการจัดตั้งหน่วยวิจัยเพื่อความเป็นเลิศ ด้าน การพัฒนานวัตกรรมเชิงพื้นที่ (ผศ.ดร.สาคร เมฆรักษาวนิช เป็นผู้ขึ้นรับรางวัลแทน)

        ระดับ Division 2 อันดับที่ 2 ผศ.ดร.สุกัญญา สืบแสน และคณะ คณะวิทยาศาสตร์ ผลงานตีพิมพ์ระดับนานาชาติ จำนวน 3 ผลงาน ในชื่อโครงการจัดตั้งหน่วยวิจัยเพื่อความเป็นเลิศ ด้าน การประยุกต์ใช้พลาสมาเทคโนโลยีเพื่อการเกษตร


        และการเสวนาเรื่อง “กลยุทธ์และความท้าทายกับเป้าหมาย Super KPI การตีพิมพ์ในระดับนานาชาติ” ซึ่งมี 3 กลุ่มการเสวนา ประกอบด้วย กลุ่มการวิจัยวิทยาศาสตร์สุขภาพ กลุ่มการวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และกลุ่มการวิจัยมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ โดยคณบดีหรือผู้แทนของแต่ละคณะ


    

    ปิดท้ายกิจกรรมด้วยการรายงานความก้าวหน้าและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (KM) โครงการหน่วยวิจัยเพื่อความเป็นเลิศ Unit of Excellence ประจำปี 2564 และ 2565 โดยนักวิจัยทั้ง 3 ระดับ ได้แก่ ระดับ Premier League ระดับ Division 1 และระดับ Division 2 เพื่อแลกเปลี่ยนความสำเร็จร่วมกัน ตลอดจนการดำเนินการที่ผ่านมา ทั้งในแง่ความสำเร็จ และปัญหา อุปสรรคที่สำคัญในการดำเนินงาน


 

facebooktwitterline

แท็กที่เกี่ยวข้อง

ภาพ :   สุทธิพงศ์ อำไพ   
ข้อมูล/ข่าว :    เด่นนภา ปัสตัน   
เพิ่มข่าวโดย :   thanapong.ph@up.ac.th   
14/6/2565 11:14:14น. 713
Print Friendly and PDF

ติดตามข่าวสาร มพ.


ติดตามข่าวสารผ่าน tiktok มพ.

@uptiktok2024

แอปพลิเคชั่น Smart UP

ดาวน์โหลดได้แล้ววันนี้

ข่าวที่มีผู้อ่านสูงสุด ย้อนหลัง 7 วัน