กองบริหารงานวิจัย มหาวิทยาลัยพะเยา ให้การต้อนรับ ผู้ตรวจราชการสำนักนายกรัฐมนตรี เขตตรวจราชการที่ 16

25/3/2565 18:40:33น. 850
ผู้ตรวจราชการสำนักนายกรัฐมนตรี เขตตรวจราชการที่ 16
        วันที่ 24 มีนาคม 2565 คณะผู้ตรวจราชการสำนักนายกรัฐมนตรีเขตตรวจราชการที่ 16 นำโดย คุณสุมิตรา อติศัพท์ ผู้ตรวจราชการฯ ตรวจติดตามผลการดำเนินโครงการจัดการสิ่งแวดล้อมสีเขียว (BCG Model) ในจังหวัดพะเยา พร้อมด้วยหน่วยงานราชการจังหวัดพะเยา อาทิ สำนักงานจังหวัดพะเยา สำนักงานเกษตรจังหวัดพะเยา สำนักงานพาณิชย์จังหวัดพะเยา สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดพะเยา ที่ทำการปกครองอำเภอเมือง ที่ทำการปกครองอำเภอแม่ใจ ตลอดจนสมาคมการค้าเกษตรกรรมยั่งยืนไทย ในการนี้ มหาวิทยาลัยพะเยานำโดย ศ.ดร.เสมอ ถาน้อย รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม และบุคลากรกองบริหารงานวิจัย นำเสนอข้อมูลการดำเนินโครงการที่มหาวิทยาลัยพะเยาได้มีส่วนผลักดันและพัฒนาพื้นที่จังหวัดพะเยาให้เกิดเป็นพื้นที่ต้นแบบแห่งการเรียนรู้ โดยในการตรวจติดตามการลงพื้นที่ในครั้งนี้ มหาวิทยาลัยได้หยิบยกพื้นที่การดำเนินงาน 2 โครงการ ได้แก่
        โครงการ Phayao Learning City ณ พื้นที่การเรียนรู้ บ้านดินคำปู้จู้ (Live and Learn) ต.ท่าวังทอง อ.เมืองพะเยา โดยมี รศ.ดร.ผณินทรา ธีรานนท์ หัวหน้าโครงการ พร้อมด้วย คุณครูชลดา เวยื่อ ครูโรงเรียนเทศบาล 2 (แม่ต๋ำดรุณเวทย์) และคุณครูศักดิ์ชัย เวยื่อ ครูโรงเรียนเทศบาล ๑ (พะเยาประชานุกูล) เจ้าของพื้นที่การเรียนรู้บ้านดินคำปู้จู้ ร่วมให้การต้อนรับ รวมถึงนำเสนอข้อมูลการดำเนินโครงการและเยี่ยมชมพื้นที่ โดยโครงการ Phayao Learning City เป็นการพัฒนาเมืองแห่งการเรียนรู้บนพื้นที่เทศบาลเมืองพะเยา เพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต สร้างพื้นที่การเรียนรู้ระดับเมือง สร้างนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ และพัฒนาการศึกษา ที่สอดคล้องกับความต้องการของคนในพื้นที่ นำไปสู่การสร้างทักษะการเรียนรู้ เพื่อพัฒนาอาชีพรายได้และคุณภาพชีวิตของคนในพื้นที่ ที่สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals–SDGs)ภายใต้การสนับสนุนของหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.)
        โครงการ การบริหารจัดการควบคุมแมลงศัตรูพืชลิ้นจี่และการเพิ่มมูลค่าสินค้าเกษตรแปรรูปและผลิตภัณฑ์ ณ กลุ่มอนุรักษ์ผลิตลิ้นจี่คุณภาพ ห้วยป่ากล้วย อำเภอแม่ใจ โดยมี ผศ.น.สพ.สมชาติ ธนะ หัวหน้าโครงการ พร้อมด้วยคณะทำงาน และเกษตรกรในพื้นที่ให้การต้อนรับ นำเสนอข้อมูลการดำเนินโครงการและเยี่ยมชมพื้นที่การปลูกลิ้นจี่แบบประณีตที่ในปัจจุบันได้รับรองแปลงตามมาตรฐาน GAP และในอนาคตกำลังจะเข้าสู่การเป็นแปลงเกษตรอินทรีย์ (Organic Agriculture)
        มหาวิทยาลัยพะเยามีการทำงานร่วมกับกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกลิ้นจี่ในอำเภอแม่ใจ พัฒนาผลิตภัณฑ์เฉพาะลิ้นจี่ ผลิตภัณฑ์ที่เกิดจากการบูรณาการกับวัตถุดิบในพื้นที่อื่นๆ ของจังหวัดพะเยา เพื่อสร้างอัตลักษณ์ลิ้นจี่และผลิตภัณฑ์ลิ้นจี่พะเยาให้ที่เป็นยอมรับและความเชื่อมั่นจากผู้บริโภค ตลอดจนพัฒนาเครือข่ายเกษตรกร เพื่อให้ชุมชนเพื่อสามารถพึ่งพาตนเองได้และสร้างกลไกที่สามารถขับเคลื่อนเศรษฐกิจสู่เชิงพาณิชย์โดยอาศัยวัตถุดิบฐานรากของชุมชนได้อย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืนต่อไป สอดคล้องกับแนวคิด BCG Economy Model ที่เป็นการพัฒนาเศรษฐกิจแบบองค์รวม พัฒนาเศรษฐกิจ 3 มิติไปพร้อมกัน ได้แก่ เศรษฐกิจชีวภาพ (Bioeconomy) ระบบเศรษฐกิจชีวภาพ มุ่งเน้นการใช้ทรัพยากรชีวภาพเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม โดยเน้นการพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์มูลค่าสูง เชื่อมโยงกับ เศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) คำนึงถึงการนำวัสดุต่าง ๆ กลับมาใช้ประโยชน์ให้มากที่สุด และทั้ง 2 เศรษฐกิจนี้ อยู่ภายใต้เศรษฐกิจสีเขียว (Green Economy)


      

facebooktwitterline

แท็กที่เกี่ยวข้อง

ภาพ :   ทศพล หิรัญสุข,ธนพงษ์ โพธิ์แจ่ม   
ข้อมูล/ข่าว :    เด่นนภา ปัสตัน   
เพิ่มข่าวโดย :   thanapong.ph@up.ac.th   
25/3/2565 18:40:33น. 850
Print Friendly and PDF

ติดตามข่าวสาร มพ.


ติดตามข่าวสารผ่าน tiktok มพ.

@uptiktok2024

แอปพลิเคชั่น Smart UP

ดาวน์โหลดได้แล้ววันนี้

ข่าวที่มีผู้อ่านสูงสุด ย้อนหลัง 7 วัน