ศาสตราจารย์ (พิเศษ) ดร.กฤษณา ไกรสินธุ์ ส่งเสริมฟ้าทะลายโจร 5 อำเภอ จังหวัดพะเยา นำร่องสมุนไพรคุณภาพสู่ “ภูกามยาวโมเดล”

30/8/2565 10:11:52น. 946
ศาสตราจารย์ (พิเศษ) ดร.กฤษณา ไกรสินธุ์
        ในวันที่ 22 – 26 สิงหาคม 2565 นำโดย ศาสตราจารย์ (พิเศษ) ดร.กฤษณา ไกรสินธุ์ ประธานมูลนิธิกฤษณา ไกรสินธุ์ คุณอนุรัตน์ เทียมทัน กรรมการบริษัท ทิปโก้ ไบโอเท็ค จำกัด ศาสตราจารย์ ดร.เสมอ ถาน้อย รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม พร้อมด้วย รองศาสตราจารย์ ดร.ผณินทรา ธีรานนท์ ผู้ช่วยอธิการบดีรองศาสตราจารย์ รองศาสตราจารย์ ดร.สุรศักดิ์ เสาร์แก้ว คณบดีคณะเภสัชศาสตร์ นางสาวอัญชลี เทียมคีรี ผู้อำนวยการกองบริหารงานวิจัย และคณะ ร่วมลงพื้นที่เพื่อริเริ่มโครงการพัฒนาศักยภาพการแปรรูปวัตถุดิบสมุนไพรเบื้องต้น ภายใต้ “ภูกามยาวโมเดล” ซึ่งการลงพื้นที่ครั้งนี้ได้ดำเนินการสำรวจพื้นที่นำร่องในการปลูกพืชสมุนไพรฟ้าทะลายโจร ในจังหวัดพะเยา 5 อำเภอได้แก่ อำเภอภูกามยาว อำเภอปง อำเภอจุน อำเภอเชียงม่วน และอำเภอภูซาง โดยมีเป้าหมายเพื่อให้เกิดการถ่ายทอดองค์ความรู้ให้กับกลุ่มเกษตรกรในจังหวัดพะเยา เกิดผลิตภัณฑ์สมุนไพรคุณภาพโดยใช้ฟ้าทะลายโจรเป็นต้นแบบ เกิดการสร้างรายได้ สร้างอาชีพเสริม ให้กับกลุ่มเกษตรกรในจังหวัดพะเยา เกิดการตระหนักให้กับชุมชนในการใช้สมุนไพรที่มีคุณภาพและเกิดพื้นที่ต้นแบบการผลิตสมุนไพรคุณภาพในการขยายผลในระยะต่อไป ในการลงพื้นที่ครั้งนี้ได้ร่วมสำรวจความเหมาะสมในการพัฒนาเป็นพื้นที่ต้นแบบการปลูกฟ้าทะลายโจร ซึ่งเน้นการปลูกแบบอินทรีย์และให้ชุมชนเป็นกลไกหลักในการดำเนินการดังกล่าว ทั้งนี้จะมีการเรียนรู้ต้นแบบพื้นที่ที่ประสบความสำเร็จมาแล้วจาก “ลังกาสุกะโมเดล” จังหวัดนราธิวาส และ “สามหมื่นโมเดล” จังหวัดตาก ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.กฤษณา ไกรสินธุ์ กล่าวว่า การสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชนเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง เพราะจะทำให้ชุมชนรู้สึกถึงความเป็นเจ้าของ (Sense of belonging) ซึ่งสิ่งนี้เองจะเป็นตัวบ่งชี้ถึงความยั่งยืนในอนาคต


image
image

        นอกจากนี้ ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.กฤษณา ไกรสินธุ์ ยังได้ให้เกียรติ ร่วมพูดคุยแบ่งปันประสบการณ์กับนักวิจัยมหาวิทยาลัยพะเยา ในหัวข้อ “Altruistic Vision : Empowerment, Equality and Dignity for All ในวันที่ 24 สิงหาคม 2565 ณ ห้อง Active Learning ซึ่งศาสตราจารย์ (พิเศษ) ดร.กฤษณา ได้เล่าประสบการณ์การทำงาน ตั้งแต่เป็นผู้ริเริ่มการวิจัยยาต้านเชื้อไวรัสเอดส์ใน ประเทศไทย จนกระทั่งประสบความสำเร็จในการผลิตยาสามัญชื่อ "ยาเอดส์" เป็นครั้งแรกในโลก ในปี พ.ศ. 2538 และการทำงานอุทิศตนให้เพื่อช่วยเหลือด้านเภสัชกรรมให้กับประเทศในทวีปแอฟริกาอีกด้วย


       

facebooktwitterline

แท็กที่เกี่ยวข้อง

ภาพ :   จิรัฏฐ์ ว่องแพร่วิทย์   
ข้อมูล/ข่าว :    เด่นนภา ปัสตัน   
เพิ่มข่าวโดย :   dennapa.pa@up.ac.th   
30/8/2565 10:11:52น. 946
Print Friendly and PDF

ติดตามข่าวสาร มพ.


ติดตามข่าวสารผ่าน tiktok มพ.

@uptiktok2024

แอปพลิเคชั่น Smart UP

ดาวน์โหลดได้แล้ววันนี้

ข่าวที่มีผู้อ่านสูงสุด ย้อนหลัง 7 วัน