คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยาร่วมเวทีนำเสนอผลการดำเนินงานและแลกเปลี่ยนในประเด็น “การพัฒนาแนวปฏิบัติด้านสิทธิมนุษยชน” เนื่องในวันสิทธิมนุษยชนสากล

23/12/2567 17:15:16น. 225
สิทธิมนุษยชน

 วันที่ 19 - 20 ธันวาคม 2567 คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา นำโดย ผศ.อุดม งามเมืองสกุล คณบดีคณะนิติศาสตร์ ร่วมเวทีนำเสนอผลการดำเนินงานและแลกเปลี่ยนในประเด็น “การพัฒนาแนวปฏิบัติด้านสิทธิมนุษยชน” ในงานสมัชชาสิทธิมนุษยชน เนื่องในวันสิทธิมนุษยชนสากล ประจำปี 2567 ภายใต้แนวคิด “Our Rights Our Future สิทธิของเรา อนาคตของเรา” เพื่อให้เกิดกระบวนการทำงานในรูปแบบของสมัชชาสิทธิมนุษยชนที่เน้นการมีส่วนร่วมของประชาชน รับฟังความเห็นจากเครือข่ายทุกภาคส่วนทั้งภาครัฐ ภาคประชาสังคม องค์กรพัฒนาเอกชน ชุมชน ประชาชน รวมถึงภาคเอกชน และสื่อมวลชน เกี่ยวกับสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในแต่ละพื้นที่และข้อเสนอในการแก้ปัญหาร่วมกัน จัดโดยคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) และภาคีเครือข่าย วันที่ 19 - 20 ธันวาคม 2567 ณ ห้องประชุมวายุภักษ์ 3 - 4 โรงแรมเซ็นทารา ไลฟ์ ศูนย์ราชการและคอนเวนชั่น เซ็นเตอร์ กรุงเทพมหานคร

               นางสาวพรประไพ  กาญจนรินทร์ ประธานกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ กล่าวเปิดงานว่างานสิทธิมนุษยชนมีขอบเขตที่กว้างขวางซึ่งไม่สามารถดำเนินงานให้ลุล่วงได้เพียงองค์กรใดองค์กรหนึ่ง กสม. จึงต้องอาศัยความร่วมมือจากเครือข่ายทุกภาคส่วน ทั้งองค์กรภาครัฐ ภาคการศึกษา ภาคประชาสังคม ภาคเอกชน และภาคประชาชนในการขับเคลื่อนงาน จึงเป็นที่มาของการจัดงานสมัชชาสิทธิมนุษยชนต่อเนื่องมาเป็นปีที่ 3 โดยการจัดงานสมัชชาฯ ในช่วงสองปีที่ผ่านมา ได้ก่อให้เกิดความก้าวหน้าและความเปลี่ยนแปลงทางสังคมในหลายเรื่อง เช่น การขับเคลื่อนให้พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการทรมานและ
การกระทำให้บุคคลสูญหาย พ.ศ. 2565 มีผลใช้บังคับ การขับเคลื่อนให้มีการแยกประวัติอาชญากรรม ซึ่งจะทำให้ผู้พ้นโทษได้รับโอกาสในการกลับคืนสู่สังคมได้อย่างมีศักดิ์ศรี หรือการผลักดันให้มีกฎหมายสมรสเท่าเทียมในประเทศไทยเพื่อสิทธิในการสร้างครอบครัวของคนทุกเพศ โดยในปี 2567 นี้ สมัชชาสิทธิมนุษยชนจะมีข้อเสนอแนะไปยังรัฐบาลในประเด็นสิทธิในสิ่งแวดล้อม สิทธิในกระบวนการยุติธรรม และสิทธิผู้สูงอายุ และในปีข้างหน้า กสม. จะร่วมกับภาคีเครือข่ายขับเคลื่อนเรื่องสิทธิสำหรับอนาคต ทั้งสิทธิแรงงานอิสระ สิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวโยงกับปัญญาประดิษฐ์ (AI) ธุรกิจกับสิทธิมนุษยชน รวมทั้งสิทธิในสิ่งแวดล้อมที่ดี และสิทธิผู้สูงอายุซึ่งจะมีการหารือกันต่อไป ทั้งหมดนี้ล้วนเป็นเรื่องที่สำคัญและท้าทายในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนสำหรับเราทุกคน



   

facebooktwitterline

แท็กที่เกี่ยวข้อง

ภาพ :   พันธศิลป์ เจนใจ   
ข้อมูล/ข่าว :    พันธศิลป์ เจนใจ   
เพิ่มข่าวโดย :   pantasin.je@up.ac.th   
23/12/2567 17:15:16น. 225
Print Friendly and PDF

ติดตามข่าวสาร มพ.


ติดตามข่าวสารผ่าน tiktok มพ.

@uptiktok2024

แอปพลิเคชั่น Smart UP

ดาวน์โหลดได้แล้ววันนี้

ข่าวที่มีผู้อ่านสูงสุด ย้อนหลัง 7 วัน