การประเมินผลกระทบต่อสุขภาพ (Health Impact Assessment, HIA)

8/6/2566 9:28:16น. 5214
Health Impact Assessment, HIA)



การประเมินผลกระทบต่อสุขภาพ (Health Impact Assessment, HIA)

          สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ ได้ให้ความหมาย การประเมินผลกระทบต่อสุขภาพ (Health Impact Assessment, HIA) หมายถึง การคาดการณ์ถึงผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากนโยบาย แผนงานและโครงการ ที่มีต่อสุขภาพอนามัยของประชาชน ทั้งทางลบ ทางบวก และความเป็นธรรมจากการได้รับผลกระทบจากนโยบายสาธารณะดังกล่าว โดยประยุกต์ใช้เครื่องมือที่หลากหลายและมีกระบวนการมีส่วนร่วมอย่างเหมาะสม เพื่อสนับสนุนและเสนอต่อกลไกที่เกี่ยวข้องในการตัดสินใจที่จะเป็นผลดีต่อสุขภาพของประชาชนทั้งในระยะสั้นและระยะยาว

          การทำการประเมินผลกระทบบต่อสุขภาพ เรียกสั้น ๆ ว่า ทำ HIA เพื่อเป็นการศึกษาผลกระทบจากโครงการหรือนโยบาย จัดทำขึ้นเพื่อจัดทำข้อเสนอต่อการป้องกัน การควบคุมปัจจัยเสี่ยงหรือสิ่งคุกคามสุขภาพที่เกิดขึ้นในชุมชน เป็นการให้ความสำคัญกับการพิจารณาผลกระทบสุขภาพ แก้ไขปัญหาผลกระทบต่อสุขภาพที่อาจเกิดขึ้นกับประชาชน และมีมาตรการป้องกันผลกระทบอย่างรอบด้าน โดยการประเมินผลกระทบต่อสุขภาพจากการจัดการนั้นมีการศึกษาผลกระทบในทุกโครงการไม่ว่าจะโครงการขนาดใหญ่หรือโครงการขนาดเล็ก ซึ่งเป็นการประยุกต์ใช้ HIA ภายใต้พระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535 เช่น การประเมินผผลกระทบต่อสุขภาพ กรณีโรงสีข้าว กรณีกิจการหอพัก กรณีกิจการเลี้ยงสุกร กรณีกิจการเทศการอาหาร เป็นต้น




          การที่มนุษย์ไม่เจ็บป่วยด้วยยโรคภัยไข้เจ็บหรือพิการ และยังครอบคลุมไปถึงการที่มนุษย์ดำรงชีวิตอยู่ในสิ่งแวดล้อมและสังคมที่ดี มีความสมบูรณ์ทั้งทางร่างกาย จิตใจ และสังคม ตามคำนิยยาม สุขภาพ (Health) ของ องค์การอนามัยโลก (World Health Organization, WHO) และพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550 ปัจจัยกำหนดสุขภาพ โดยสามารถระบุปัจจัยกำหนดสุขภาพสำคัญได้ 12 ประเด็น ดังนี้
          1) รายได้และสถานะทางสังคม
          2) เครือข่ายการช่วยเหลือทางสังคม
          3) การศึกษา 
          4) การมีงานทำและสภาพการทำงาน
          5) สิ่งแวดล้อมทางสังคม
          6) สิ่งแวดล้อมทางกายภาพ
          7) พฤติกรรมสุขภาพและทักษะชีวิต 
          8) พัฒนาการที่ดีในวัยเด็ก
          9) ปัจจัยทางชีววิทยาและพันธุกรรม
          10) บริการสุขภาพ
          11) เพศ
          12) วัฒนธรรม

          ดังนั้น หากกิจกรรม กิจการ โครงการ แผนงาน หรือนโยบายในท้องถิ่นมีโอกาสทำให้ปัจจัยกำหนดสุขภาพทั้ง 12 ประเด็น เปลี่ยนแปลงไปแล้ว ก็มีโอกาสที่จะมีผลกระทบต่อสุขภาพทั้งทางบวกและทางลบ





          การทำ HIA จะแบ่งการดำเนินงานเป็น 3 ระยะ คือ 1) ระยะเตรียมการ 2) ระยะดำเนินการประเมินผลกระทบต่อสุขภาพ และ 3) ระยะการนำข้อมูลและผลการทำ HIA ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ ขั้นตอนกระบวนการทำ HIA
1) ระยะเตรียมการ เป็นการกำหนดผู้รับผิดชอบ มีการมอบหมายความรับผิดชอบ การแต่งตั้งคณะทำงาน HIA มีแผนการปฏิบัติงานที่ระบุผู้รับผิดชอบอย่างชัดเจน 2) ระยะดำเนินการประเมินผลกระทบต่อสุขภาพ

2) ระยะดำเนินการประเมินผลกระทบต่อสุขภาพ เป็นการกลั่นกรองและกำหนดเป้าหมายในการทำ HIA มีการวิเคราะห์สถานการ์ด้านสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่น มีการำหนดขอบเขต ร่วมกันรับฟังข้อคิดเห็น ร่วมกันกำหนดขอบเขตดำเนินงานออกแบบวิธีการศึกษาผลกระทบ รวมรวมวิเคราะห์เป็นการประเมินผลกระทบ วิเคราะห์ข้อมูลความรุนแรงของผลกระทบ จัดลำดับความสำคัญ จัดทำข้อเสนอมาตรการป้องกันแก้ไขหรือส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม จัดประชุมหารือกับผู้มีส่วนได้เสีย ร่วมกันกำหนดมาตรการป้องกันแก้ไขปัญหาหรือมาตรการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม สรุปข้อมูลและข้อเสนอจากผู้มีส่วนได้เสียเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ต่อไป

3) ระยะการนำข้อมูลและผลการทำ HIA ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ นำข้อมูลและข้อเสนอมาตรการนำไปเสนอต่อผู้มีอำนาจตัดสินใจ มีการดำเนินให้เกิดการป้องกันแก้ไขปัญหาหรือให้เกิดการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม มีแผนการดำเนินงานติดตามตรวจสอบและประเมินผล กลไกการติดตามตรวจสอบและประเมินผล

          ประโยชน์จากการนำ HIA ไปใช้ประโยชน์ เพื่อให้ได้ข้อมูลหลักฐานเกี่ยวกับผลกระทบของชุมชน สร้างการมีส่วนร่วมและเกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของคนในท้องถิ่น ประชาชนได้เรียนรู้การพิจารณาปัจจัยเสี่ยงต่อสุขภาพ กระบวนการ HIA เป็นการเปิดโอกาส ได้ข้อมูล และสนับสนุนการมีส่วนร่วมทุกภาคส่วนในการให้ความคิดเห็นและให้ข้อเสนอแนะต่อการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ในพื้นนที่ เพื่อให้การตัดสินใจเป็นไปอย่างรอบคอบและเป็นธรรมมากที่สุด ข้อเสนอต่อการพัฒนาชุมชนหรือท้องถิ่นที่มาจากการมีส่วนร่วมของประชาชน และมาตรการป้องกันหรือแก้ไขปัญหาอนามัยสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ มีการพิจารณาวิถีชีวิตและปัจจัยกำหนดสุขภาพของคนในนท้องถิ่น ทรัพยากรพื้นฐาน และทิศทางการพัฒนาของท้องถิ่น และความเป็นไปได้ในการจัดการผลกระทบ มีแผนการแก้ไข หรือมาตรการป้องกันผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้น โดยหลีกเลี่ยงการดำเนินการที่จะก่อให้เกิดผลกระทบที่ยากต่อการฟื้นฟูกลับมา เกิดความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจ เนื่องจากการทำ HIA จะช่วยลดผลกระทบและความสูญเสียที่อาจเกิดขึ้น ทำให้งบประมาณในการแก้ไขเยียวยาและฟื้นฟูน้อยลง ซึ่งจะนำไปกำหนดแผนพัฒนาท้องถิ่นหรือแผนปฏิบัติการสำหรับขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพของท้องถิ่น


--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อรัณย์ภัค พิทักษ์พงษ์
ประธานหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาอนามัยสิ่งแวดล้อม
คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา







facebooktwitterline

แท็กที่เกี่ยวข้อง

ภาพ :      
ข้อมูล/ข่าว :      
เพิ่มข่าวโดย :   tidaduen.ut@up.ac.th   
8/6/2566 9:28:16น. 5214
Print Friendly and PDF

ติดตามข่าวสาร มพ.


ติดตามข่าวสารผ่าน tiktok มพ.

@uptiktok2023

แอปพลิเคชั่น Smart UP

ดาวน์โหลดได้แล้ววันนี้


ข่าวที่มีผู้อ่านสูงสุด ย้อนหลัง 7 วัน