On November 27, 20203, Assoc. Prof. Dr. Torpong Kreetachat, Dean of the school of Energy and Environment (SEEN), in his capacity as the iTAP program manager of the University of Phayao (UP) network and technology consultant, along with Assoc. Prof. Dr. Saksit Imman, Asst. Prof. Dr. Nathiya Kreetachat, Dr. Satawat Thanarat, and Dr. Nopparat Suriyachai, environmental experts, joined the presentation to evaluate the closure of the project "Development and Preparedness for SMEs Entrepreneurs for Environmentally Friendly Production Processes according to the BCG Economic Model", to the assessor, Ms. Peechaya Jirathumkitkul, Food, agriculture and health industry manager Innovation and Technology Assistance Program, National Science and Technology Development Agency (iTAP, NSTDA).
The project focuses on elevating the industry with clear and ethical environmental management plans according to the BCG economic model. These was implemented from April 1 to August 30, 2023, with the participation of 30 SME entrepreneurs in the northern region. The participating received the initial issue analysis, short-term training activities, and the development of environmental plans with five main areas; Carbon Footprint, Waste to Energy, Solar Rooftop, Reclaim Water, and Smart Farm, addressing gaps in applying various technologies to solve environmental issues and maximize efficiency for businesses.
วันที่ 27 พฤศจิกายน 2566 รศ.ดร.ต่อพงศ์ กรีธาชาติ คณบดีคณะพลังงานและสิ่งแวดล้อม ในฐานะผู้จัดการโปรแกรม iTAP เครือข่ายมหาวิทยาลัยพะเยา และที่ปรึกษาเทคโนโลยี พร้อมด้วย รศ.ดร.ศักดิ์สิทธิ์ อิ่มแมน ผศ.ดร.เนทิยา กรีธาชาติ ดร.ศตวรรษ ทนารัตน์ และ ดร.นพรัตน์ สุริยะไชย คณะผู้เชี่ยวชาญด้านสิ่งแวดล้อม ร่วมการนำเสนอเพื่อประเมินการปิดโครงการ “การพัฒนาและเตรียมความพร้อมผู้ประกอบการ SMEs สำหรับกระบวนการผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมตามแนวทางโมเดลเศรษฐกิจ BCG” ต่อผู้จัดการงานอุตสาหกรรมอาหาร เกษตร และสุขภาพ โปรแกรมสนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม iTAP สวทช. คุณพีชยา จิระธรรมกิจกุล
โครงการดังกล่าว มุ่งเน้นการยกระดับอุตสาหกรรมให้มีแผนงานในการจัดการด้านสิ่งแวดล้อมอย่างชัดเจนและเป็นรูปธรรมตามแนวทางโมเดลเศรษฐกิจ BCG ซึ่งได้ดำเนินการ ระหว่างวันที่ 1 เมษายน ถึง 30 สิงหาคม 2566 โดยมีผู้ประกอบการ SMEs ในพื้นที่เขตภาคเหนือที่เข้าร่วมโครงการจำนวน 30 ราย ทั้งนี้ ผู้ประกอบการที่เข้าร่วมโครงการจะได้รับการวิเคราะห์ปัญหาในเบื้องต้น การเข้าร่วมกิจกรรมอบรมระยะสั้น และจัดทำแผนงานด้านสิ่งแวดล้อม โดยแบ่งแนวทางการให้คำปรึกษาด้านสิ่งแวดล้อม 5 ประเด็นหลัก ได้แก่ Carbon Footprint, Waste to Energy, Solar Rooftop, Reclaim Water และ Smart Farm รวมไปถึงช่องว่างในการนำเทคโนโลยีต่าง ๆ เข้าไปประยุกต์ใช้ในการแก้ไขปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมของกิจการเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด