นักวิจัยคณะบริหารธุรกิจและนิเทศศาสตร์ ลงพื้นที่ถ่ายทำวีดิทัศน์ “ปลานิลจากกลุ่มบ้านปลาฟาร์ม” ร่วมกับสำนักงานพาณิชย์จังหวัดพะเยา

12/7/2566 16:40:41น. 6842
บุคลากร_คณะบริหารธุรกิจและนิเทศศาสตร์

อาจารย์กมลพงศ์ รัตนสงวนวงศ์ ตัวแทนจากทีมวิจัยการสร้างการรับรู้และมูลค่าใหม่ด้วยเครือข่ายความร่วมมือในธุรกิจปลานิล จ.พะเยา ซึ่งได้รับการสนับสนุนทุนวิจัยโดย หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) ได้ลงพื้นที่ถ่ายทำวีดิทัศน์ ร่วมกับสำนักงานพาณิชย์จังหวัดพะเยา เนื่องจาก ปลานิลจากกลุ่มบ้านปลาฟาร์ม ตำบลบ้านต๊ำ จังหวัดพะเยา ซึ่งเป็นผลผลิตจากโครงการวิจัยฯ ได้รับการคัดเลือกให้เป็น 1 ใน 3 ของดีจังหวัดพะเยา ร่วมกับ ข้าวหอมมะลิพะเยา และผลิตภัณฑ์จักสานผักตบชวา

 

โดยปลานิลจากกลุ่มบ้านปลาฟาร์ม ตำบลบ้านต๊ำ จังหวัดพะเยานั้น ถูกเลี้ยงโดยใช้น้ำจากน้ำตกจำปาทอง ซึ่งมีความสะอาดมาก มีแร่ธาตุ และผ่านกระบวนการเลี้ยงที่พิถีพิถัน ดูแล ใส่ใจเป็นอย่างดี อีกทั้งยังใช้นวัตกรรมเครื่องประเมินสภาพน้ำ ซึ่งเป็นผลผลิตจากโครงการวิจัย “ต้นแบบการพัฒนาธุรกิจปลานิลด้วยการสร้างห่วงโซ่คุณค่าใหม่ จังหวัดพะเยา” ทำให้ปลานิลที่ได้ มีคุณลักษณะที่พิเศษเฉพาะ  คือ ปลาไร้กลิ่นโคลน เนื้อปลามีสีขาวอมชมพู  และเนื้อปลายังมีโปรตีนและโอเมก้าสูงกว่าค่าปกติของปลานิลทั่วไป  ซึ่งทำให้โครงการฯ ได้ตั้งมาตรฐานปลานิลคุณภาพสูงขึ้น ชื่อว่า “นิลพะเยาจำปาทอง” โดยเป็นภาคร่วมมือระหว่าง มหาวิทยาลัยพะเยา สำนักงานประมงจังหวัด และหอการค้าจังหวัดพะเยา โดยจะมอบให้กับผู้เลี้ยงปลานิลที่ได้มาตรฐานคุณภาพสูง และยังมอบให้กับร้านอาหารที่ใช้ปลานิลพะเยาจำปาทองในร้าน โดยในปัจจุบันมีร้านอาหารที่ใช้นิลพะเยาจำปาทองมากมาย ได้แก่ ร้านปลาเผานายตุ่น  บ้านปลาคาเฟ่ ร้าน U & Steak พะเยา  ร้านครัวออโรร่า ร้านครัวเข้าท่า  ร้านเฮียอู๊ดข้าวต้มโต้รุ่ง ร้านนิทานบ้านต้นไม้ บ้านบ่อเลคแคมป์ ฯลฯ

 

ทั้งนี้ในโครงการวิจัยได้มีแผนพัฒนานำปลานิลมาแล่แช่แข็ง  บรรจุแพคแบบพร้อมปรุงทันที ไปสู่ผู้บริโภคทั้งในจังหวัดพะเยาและทั่วประเทศ ภายใต้ชื่อแบรนด์ “ปลาตั๊ม” PlaTam เนื่องจากผลจากงานวิจัยพบว่า กลุ่มคนรักสุขภาพและกลุ่มผู้ที่ต้องการฟิ้นฟูร่างกาย ให้ความสนใจในความสะดวก ในการทำอาหารเป็นอย่างมาก อีกทั้งยังเก็บในตู้เย็นได้สะดวก ไร้กลิ่นรบกวน ซึ่งสามารถติดตามข้อมูลข่าวสารได้ทาง เว็บไซต์ PlaTam ( https://www.platam.org/ ) และ เพจเฟสบุค นิลพะเยาจำปาทอง  (https://www.facebook.com/profile.php?id=100091991773913)

 

จากการดำเนินชุดโครงการวิจัย ส่งผลให้คนไทยรู้จักปลานิลคุณภาพของพะเยาในชื่อ “นิลพะเยาจำปาทอง” มากขึ้น เกษตรกรสามารถขายปลาได้มากขึ้นเฉลี่ย 2-3 ตันต่อเดือน  และในอนาคตคาดว่าจะสามารถเพิ่มกำลังการผลิตปลานิลคุณภาพสูงได้ปริมาณมากขึ้นและส่งออกทั้งปลานิลสดและปลานิลแล่แช่แข็งไปยังจังหวัดใกล้เคียงและทั่วประเทศต่อไป



      

facebooktwitterline

แท็กที่เกี่ยวข้อง

ภาพ :   สาขาวิชาการตลาดดิจิทัล   
ข้อมูล/ข่าว :    สาขาวิชาการตลาดดิจิทัล   
เพิ่มข่าวโดย :   pokbaworn.po@up.ac.th   
12/7/2566 16:40:41น. 6842
Print Friendly and PDF

ติดตามข่าวสาร มพ.


ติดตามข่าวสารผ่าน tiktok มพ.

@uptiktok2024

แอปพลิเคชั่น Smart UP

ดาวน์โหลดได้แล้ววันนี้

ข่าวที่มีผู้อ่านสูงสุด ย้อนหลัง 7 วัน