ขอแสดงความยินดีกับ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ อุดม งามเมืองสกุล และผู้ช่วยศาสตราจารย์ กฤษฎา ใจแก้วทิ ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนอนุญาโตตุลาการ

13/6/2566 15:43:40น. 1299
อนุญาโตตุลาการ

ขอแสดงความยินดีกับ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ อุดม งามเมืองสกุล คณบดีคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ กฤษฎา ใจแก้วทิ รองคณบดีฝ่ายบริหาร คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนอนุญาโตตุลาการ สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย

ตามประกาศสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เรื่อง ทะเบียนอนุญาโตตุลาการ สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการ ประกอบธุรกิจประกันภัย (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2566 ลงวันที่ 30 พฤษภาคม 2566


-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------


การอนุญาโตตุลาการ (Arbitration) คือ

การอนุญาโตตุลาการ (Arbitration) เป็นวิธีการระงับข้อพิพาททางเลือก ซึ่งเกิดจากความสมัครใจของ คู่พิพาทตกลงกันตั้งบุคคลที่สามซึ่งเรียกว่าอนุญาโตตุลาการ” (Arbitrators) ทำหน้าที่เป็นผู้ตัดสินชี้ขาดข้อพิพาทที่เกิดขึ้นระหว่างกัน โดยคู่พิพาททั้งสองฝ่ายต้องนำสืบพยานหลักฐานต่าง เพื่อให้อนุญาโตตุลาการใช้เป็นข้อมูลในการวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาท และคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการจะมีผลผูกพันให้คู่พิพาทต้องปฏิบัติตาม

กระบวนพิจารณาของอนุญาโตตุลาการสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (สำนักงาน คปภ.). ดำเนินการภายใต้ พระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2545 และ ระเบียบสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) ว่าด้วยอนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2551, ระเบียบสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) ว่าด้วยอนุญาโตตุลาการ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2553 และ ระเบียบสำนักงาน คณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัยว่าด้วยการประนอมข้อพิพาทประกันภัยในกระบวนการอนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2553 ภายใต้การดำเนินงานของฝ่ายระงับข้อพิพาทและอนุญาโตตุลาการสายคดี สำนักงาน คปภ.

 

ข้อพิพาทใดบ้างที่ระงับได้ด้วยวิธีอนุญาโตตุลาการสำนักงาน คปภ.

ข้อพิพาททางแพ่งที่เกิดจากหรือเกี่ยวเนื่องจากสัญญาประกันภัยระหว่างประชาชนผู้เอาประกันภัย หรือผู้มีส่วนได้เสียในสัญญาประกันภัย กับบริษัทประกันภัย”

 

การยื่นคำเสนอข้อพิพาท

ผู้เสนอข้อพิพาท (ได้แก่ ผู้เอาประกันภัย หรือผู้มีสิทธิเรียกร้องตามสัญญาประกันภัย) ต้องทำคำเสนอข้อพิพาท ตามแบบที่สำนักงาน คปภ. กำหนด โดยมีรายละเอียดของคำเสนอข้อพิพาท ดังนี้

  1. คำเสนอให้ระงับข้อพิพาทด้วยวิธีการอนุญาโตตุลาการภายใต้การดำเนินการของสำนักงาน คปภ.
  2. ชื่อและที่อยู่ของคู่พิพาท
  3. สัญญาหรือข้อตกลงให้ระงับข้อพิพาทด้วยวิธีการอนุญาโตตุลาการ
  4. ข้อเท็จจริงและรายละเอียดของข้อพิพาท หากข้อพิพาทนั้นเกี่ยวกับจำนวนเงินให้ระบุจำนวนเงิน ที่เรียกร้องด้วย
  5. คำขอให้ชี้ขาด
  6. จำนวนอนุญาโตตุลาการ 1 คน หรือ 3 คน

 

ค่าใช้จ่ายในการยื่นคำเสนอข้อพิพาท

การยื่นคำเสนอข้อพิพาท ผู้เสนอข้อพิพาทต้องวางเงินเป็นหลักประกันค่าใช้จ่ายในกระบวนการระงับข้อพิพาท ตามอัตราที่คณะกรรมการอนุญาโตตุลาการประกาศกำหนด ดังนี้

 

ข้อพิพาททุนทรัพย์ที่เรียกร้อง

อัตราการวางเงินเป็นหลักประกันฯ

1. ไม่เกิน 500,000 บาท

ผู้เสนอข้อพิพาทวางเงินหลักประกัน 5,000 บาท

ผู้คัดค้านวางเงินเป็นหลักประกัน 5,000 บาท

2. เกินกว่า 500,000 บาท
  
แต่ไม่เกิน 1,000,000 บาท

ผู้เสนอข้อพิพาทวางเงินหลักประกัน 5,000 บาท

ผู้คัดค้านวางเงินเป็นหลักประกัน 10,000 บาท

3. เกินกว่า 1,000,000 บาท
  
แต่ไม่เกิน 2,000,000 บาท

ผู้เสนอข้อพิพาทวางเงินหลักประกัน 22,500 บาท

ผู้คัดค้านวางเงินเป็นหลักประกัน 45,000 บาท

4. เกินกว่า 2,000,000 บาท
  
แต่ไม่เกิน 5,000,000 บาท

คู่พิพาทวางเงินหลักประกันไม่ต่ำกว่าฝ่ายละ 90,000 บาท

5. เกินกว่า 5,000,000 บาท ขึ้นไป

คู่พิพาทวางเงินหลักประกันไม่ต่ำกว่าฝ่ายละ 180,000 บาท

6. ข้อพิพาทไม่มีทุนทรัพย์

คู่พิพาทวางเงินหลักประกันไม่ต่ำกว่าฝ่ายละ 10,000 บาท

 

สถานที่ยื่นคำเสนอข้อพิพาท

  • ในกรุงเทพมหานคร

ให้ยื่นคำเสนอข้อพิพาทที่ สำนักงาน คปภ. ส่วนกลาง ถ.รัชดาภิเษก กรุงเทพฯ หรือ สำนักงาน คปภ. เขต

  • ในจังหวัดอื่นๆ นอกจากกรุงเทพมหานคร

ให้ยื่นคำเสนอข้อพิพาทที่ สำนักงาน คปภ. จังหวัด หรือ สำนักงาน คปภ. ภาค

 

การตั้งอนุญาโตตุลาการเพื่อวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาท

เมื่อคู่พิพาททั้งสองฝ่ายไม่สามารถเจรจาประนีประนอมและข้อพิพาทไม่อาจยุติลงได้ หากมีความประสงค์ตั้งอนุญาโตตุลาการวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาท มีกระบวนการดำเนินการ ดังนี้

  1. คู่พิพาทกำหนดเลือกบุคคลทำหน้าที่เป็นอนุญาโตตุลาการจากทะเบียนรายชื่ออนุญาโตตุลาการของ สำนักงาน คปภ. ซึ่งการตั้งอนุญาโตตุลาการต้องทำเป็นหนังสือตั้งอนุญาโตตุลาการ และสัญญาหรือ ข้อตกลง ให้ระงับข้อพิพาทด้วยวิธีอนุญาโตตุลาการ
  2. คู่พิพาทตั้งอนุญาโตตุลาการตามจำนวน ดังนี้
  • กรณีข้อพิพาทที่ไม่มีทุนทรัพย์ หรือข้อพิพาทที่มีทุนทรัพย์ไม่เกิน 2,000,000 บาท ให้มีอนุญาโตตุลาการจำนวน 1 คน
  • กรณีข้อพิพาทที่มีทุนทรัพย์เกิน 2,000,000 บาท ให้มีอนุญาโตตุลาการจำนวน 3 คน เว้นแต่คู่พิพาทตกลงกันให้มีอนุญาโตตุลาการจำนวน 1 คนก็ได้


ประโยชน์จากการใช้กระบวนการอนุญาโตตุลาการ

  • ความสะดวกรวดเร็ว เนื่องจากการดำเนินกระบวนการมีความยืดหยุ่น กระชับ และสามารถดำเนินการได้ในทันที
  • รักษาข้อมูลและชื่อเสียงให้แก่คู่พิพาท การสืบพยานหลักฐานทำเป็นความลับ สามารถเลือกผู้ที่มีความรู้ ความชำนาญเป็นพิเศษในเรื่องที่พิพาทให้เป็นผู้ตัดสินชี้ขาดข้อพิพาทและมีผลผูกพัน นำไปบังคับได้

 

บริการให้คำปรึกษาระงับข้อพิพาท

หากมีข้อพิพาทด้านการประกันภัยเกิดขึ้นและประสงค์จะระงับข้อพิพาทด้วยวิธีประนอมข้อพิพาท หรือวิธีอนุญาโตตุลาการ สำนักงาน คปภ. ขอรับคำปรึกษาได้ที่ ฝ่ายระงับข้อพิพาทและอนุญาโตตุลาการ สำนักงาน คปภ. หมายเลขโทรศัพท์ 0-2515-3999 ต่อ 7601, 7605, 7606

----------

ข้อมูลจาก สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.)

https://www.oic.or.th/th/education/laws/arbitration



  

facebooktwitterline

แท็กที่เกี่ยวข้อง

ภาพ :   พันธศิลป์ เจนใจ   
ข้อมูล/ข่าว :    พันธศิลป์ เจนใจ   
เพิ่มข่าวโดย :   pantasin.je@up.ac.th   
13/6/2566 15:43:40น. 1299
Print Friendly and PDF

ติดตามข่าวสาร มพ.


ติดตามข่าวสารผ่าน tiktok มพ.

@uptiktok2024

แอปพลิเคชั่น Smart UP

ดาวน์โหลดได้แล้ววันนี้

ข่าวที่มีผู้อ่านสูงสุด ย้อนหลัง 7 วัน