วันที่ 10 กรกฎาคม 2565 มหาวิทยาลัยพะเยา นำโดย ศาสตราจารย์ ดร.เสมอ ถาน้อย รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม ผู้ช่วยศาสตราจารย์ นริษรา ประสิทธิปานวัง คณะนิติศาสตร์ และนางจีรัชญ์
ริมจันทร์ หัวหน้างานบริหารทุนวิจัยและบริการวิชาการ กองบริหารงานวิจัย พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่กองบริหารงานวิจัย ให้การต้อนรับ คณะกรรมการบริการโครง
การยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ (มหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ) ในการลงพื้นที่โครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG นำโดย
นางสาวนิสากร จึงเจริญธรรม คณะทำงานที่ปรึกษา รัฐมนตรีกว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม นายพันธุ์เพิ่มศักดิ์ อารุณี หัวหน้ากลุ่มภารกิจบริหารยุทธศาสตร์ และนางสาวกีรติ
แก้วสัมฤทธิ์ ผู้อำนวยการกลุ่มขับเคลื่อนและพัฒนา อววน.3 ณ ศูนย์เศรษฐกิจพอเพียงบ้านห้วยแก้ว ตำบลห้วยแก้ว อำเภอภูกามยาว จังหวัดพะเยา เพื่อหารือแนวทางการดำเนินโครงการฯ ร่วมกับมหาวิทยาลัย และนักวิจัยในพื้นที่
ศาสตราจารย์ ดร.เสมอ ถาน้อย รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม ได้นำเสนอภาพรวมผลการดำเนินงานที่ผ่านมาให้แก่คณะกรรมการฯ ผ่านการประชุมทางไกล (Video Conference) ผ่านระบบ Zoom ว่า "มหาวิทยาลัยพะเยาได้ดำเนินโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ (มหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ) ระยะที่ 1 ในพื้นที่จังหวัดพะเยา จังหวัดเชียงใหม่ และจังหวัดเชียงราย รวมพื้นที่ 70 ตำบล เกิดการจ้างงาน 1,325 อัตรา ที่ครอบคลุม การดำเนินงานทั้งด้าน Health Care/เทคโนโลยีต่างๆ
ด้านการยกระดับการท่องเที่ยว การยกระดับสินค้า OTOP/อาชีพอื่นๆ และการเพิ่มรายได้หมุนเวียนให้แก่ชุมชน เกิดการพัฒนาตำบลที่มุ่งสู่ความพอเพียงและความยั่งยืน 90%"
โดยการลงพื้นที่โครงการฯ ดังกล่าว ได้มีการนำเสนอพื้นที่ Best Practice แผนดำเนินการพัฒนาและยกระดับวิสาหกิจชุมชนตำบลห้วยแก้ว อำเภอภูกามยาว จังหวัดพะเยา ให้ถูกต้องตามกฎหมาย พึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน ซึ่งมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ นริษรา
ประสิทธิปานวัง คณะนิติศาสตร์ เป็นหัวหน้าโครงการ ซึ่งเป็นการนำองค์ความรู้ไปช่วยบริการชุมชน (Health Care/เทคโนโลยีด้านต่างๆ)
ในระยะที่ 2 โครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมรากฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG มหาวิทยาลัยพะเยามีพื้นที่ดำเนินการ ครอบคลุม 4 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดพะเยา จังหวัดเชียงราย จังหวัดลำปาง และจังหวัดน่าน รวมพื้นที่ 98 ตำบล และคาดว่าจะเกินการจ้างงานกว่า 840 อัตรา ทั้งนี้มหาวิทยาลัยคาดว่าจะเพิ่มศักยภาพและขีดความสามารถในการแข่งขันของภาคการผลิตและบริการด้าน BCG ในพื้นที่ ด้วยองค์ความรู้ เทคโนโลยีและนวัตกรรมจากมหาวิทยาลัย ตลอดจนพัฒนากำลังคนให้มีทักษะพื้นฐานที่จำเป็นต่อการทำงานในปัจจุบัน และทักษะที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจ BCG