คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา ร่วมกับคณะอนุกรรมการสภานิติศึกษาแห่งชาติ จัดทำ “ข้อเสนอการปฏิรูปการศึกษานิติศาสตร์แห่งชาติ”

12/2/2565 9:01:04น. 1036
คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา  ร่วมกับคณะอนุกรรมการสภานิติศึกษาแห่งชาติ จัดทำ “ข้อเสนอการปฏิรูปการศึกษานิติศาสตร์แห่งชาติ” และจัดรับฟังความคิดเห็นสาธารณะเพื่อการปฏิรูปการศึกษานิติศาสตร์แห่งชาติ
คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา ร่วมกับคณะอนุกรรมการสภานิติศึกษาแห่งชาติ จัดทำ “ข้อเสนอการปฏิรูปการศึกษานิติศาสตร์แห่งชาติ” และจัดรับฟังความคิดเห็นสาธารณะเพื่อการปฏิรูปการศึกษานิติศาสตร์แห่งชาติ โดยได้ร่วมกันจำทำข้อเสนอการปฏิรูปการศึกษานิติศาสตร์อย่างเป็นระบบ ตั้งแต่การเรียนการสอนนิติศาสตร์ในสถาบันอุดมศึกษา การฝึกอบรมในทางปฏิบัติในระดับเนติบัณฑิต เพื่อให้สอดคล้องกับการจัดการศึกษานิติศาสตร์ในระดับสากล ทั้งนี้ ข้อเสนอการปฏิรูปการศึกษานิติศาสตร์แห่งชาติเป็นเพียงข้อเสนอเบื้องต้นสำหรับใช้ในการรับฟังความคิดเห็นจากผู้ประกอบวิชาชีพนิติศาสตร์ในสาขาต่างๆ อาจารย์และนักศึกษานิติศาสตร์ ตลอดจนบุคคลทั่วไป โดยภายหลังจากที่ได้รับฟังความคิดเห็นอย่างครบถ้วนและรอบด้าน คณะอนุกรรมการสภานิติศึกษาแห่งชาติจะรวบรวมข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะที่ได้รับเพื่อจัดทำแผนการปฏิรูปการศึกษานิติศาสตร์แห่งชาติ และจะหารือความเป็นไปได้ในการดำเนินการตามแผนการปฏิรูปการศึกษานิติศาสตร์แห่งชาติกับองค์กรวิชาชีพและหน่วยงานของภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้องต่อไป
โดยมีข้อเสนอการปฏิรูปการศึกษานิติศาสตร์ ดังนี้
1. การปฏิรูปกระบวนการผลิตนักกฎหมาย
โดยที่มหาวิทยาลัยรับผิดชอบการศึกษาในทางทฤษฎีและทักษะทางสังคม (soft skills) ในขณะที่สภานิติศึกษาแห่งชาติ (เนติบัณฑิตเดิม) รับผิดชอบการฝึกและทดสอบในทางปฏิบัติ ตลอดจนรับผิดชอบการทดสอบเพื่อเป็นเนติบัณฑิต
2. การจัดตั้งสภานิติศึกษาแห่งชาติ
การจัดตั้งสภานิติศึกษาแห่งชาติ ซึ่งประกอบด้วยกรรมการที่มาจากสายปฏิบัติและสายวิชาการในสัดส่วนที่ใกล้เคียงกัน และมีกรรมการบางส่วนมาจากบุคคลภายนอกที่ไม่ใช่นักกฎหมาย ในทำนองเดียวกับ สภานิติศึกษา (Institute of Legal Education) ของสิงคโปร์ โดยที่สภานิติศึกษาจะเป็นผู้กำหนดโครงสร้างและกรอบหลักสูตรนิติศาสตร์ในมหาวิทยาลัย (แทนที่หน่วยงานของรัฐอื่นๆ) และรับผิดชอบในการฝึกและทดสอบในทางปฏิบัติ ตลอดจนรับผิดชอบการทดสอบเพื่อเป็นเนติบัณฑิต สภานิติศึกษาจึงทำหน้าที่เป็นสำนักอบรมเนติบัณฑิตยสภาและสำนักอบรมวิชาว่าความของสภาทนายความในเวลาเดียวกัน
3. การปฏิรูปโครงสร้างหลักสูตรปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอกทางกฎหมาย
โดยที่สภานิติศึกษาจะกำหนดกรอบและโครงสร้างของหลักสูตรในภาพรวมและกำหนดวิชาบังคับเท่าที่จำเป็น เพื่อให้มหาวิทยาลัยสามารถออกแบบหลักสูตร กำหนดวิชา ให้เหมาะสมกับความต้องการของสังคม ความต้องการของท้องถิ่น หรือสอดคล้องกับอัตลักษณ์ของแต่ละสถาบัน
4. การปฏิรูปการจัดการอบรมและการทดสอบความรู้ในทางปฏิบัติในชั้นเนติบัณฑิต
โดยที่สภานิติศึกษาจะมีบทบาทในการจัดการอบรมและทดสอบความรู้ในทางปฏิบัติอย่างจริงจังและเป็นระบบ และทดสอบความรู้เพื่อเป็นเนติบัณฑิต โดยที่ผู้ที่สอบผ่านเป็นเนติบัณฑิตจะมีคุณวุฒิในการว่าความและให้คำปรึกษากฎหมายโดยไม่ต้องผ่านการทดสอบความรู้ในสถาบันอื่นอีก
5. การกระจายบทบาทหน้าที่ของสภานิติศึกษาในการจัดการฝึกอบรมและทดสอบความรู้ในทางปฏิบัติไปให้กับภูมิภาคหรือท้องถิ่น
โดยสภานิติศึกษากำหนดมาตรฐานการฝึกปฏิบัติ การทดสอบหรือข้อสอบกลาง และให้คณะกรรมการนิติศึกษาของแต่ละภูมิภาค/ท้องถิ่นเป็นผู้ดำเนินการ ในทำนองเดียวกับระบบของเยอรมนี
6. การยกเลิกข้อกำหนดของ กต. และ กอ. เกี่ยวกับหลักสูตร / รายวิชาที่ต้องเรียนในระดับปริญญาตรี ปริญญาโท หรือปริญญาเอก เพื่อให้มีคุณสมบัติในการสอบเป็นผู้พิพากษาหรืออัยการ
โดยผู้ที่ผ่านการทดสอบเป็นเนติบัณฑิตตามข้อกำหนดของสภานิติศึกษาแล้ว มีคุณสมบัติที่จะสอบผู้พิพากษาหรืออัยการได้ หรือผู้ที่ได้รับปริญญาโทหรือปริญญาเอกจากหลักสูตรที่เป็นตามข้อกำหนดของสภานิติศึกษามีคุณสมบัติในการสอบเป็นผู้พิพากษาหรืออัยการ
7. บทบาทของสภานิติศึกษาในการส่งเสริมและร่วมมือกับสถาบันการศึกษา และหน่วยงานต่างๆ ในการจัดอบรมหรือกิจกรรมเพื่อให้ผู้ประกอบวิชาชีพกฎหมายได้พัฒนาความรู้และทักษะทางกฎหมายเพิ่มเติมและให้ทันสมัยตามความสนใจของผู้ประกอบวิชาชีพและตามความต้องการของสังคม
1. รายละเอียดของข้อเสนอการปฏิรูปการศึกษานิติศาสตร์แห่งชาติ ได้ที่ https://bit.ly/3usuhxt
2. ร่วมแสดงความคิดเห็นการปฏิรูปการศึกษานิติศาสตร์แห่งชาติ ได้ที่ https://bit.ly/3GGwGqR
3. ปฏิทินกิจกรรมการรับฟังความคิดเห็นการปฏิรูปการศึกษานิติศาสตร์แห่งชาติ https://bit.ly/3B7F9lG
4. เข้าร่วมการรับฟังความคิดเห็นออนไลน์ได้ที่
https://bit.ly/3fuRPcl
Webinar Number: 2513 972 4322
Webinar Password: La1234
5. Facebook page: https://www.facebook.com/legaledureform.th (Legal Education Reform Thailand)
6. ติดต่อหรือแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติมได้ที่ legaledureform.th@gmail.com


   

facebooktwitterline

แท็กที่เกี่ยวข้อง

ภาพ :   คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา   
ข้อมูล/ข่าว :    ผศ.อุดม งามเมืองสกุล   
เพิ่มข่าวโดย :   krittabhorn.ju@up.ac.th   
12/2/2565 9:01:04น. 1036
Print Friendly and PDF

ติดตามข่าวสาร มพ.


ติดตามข่าวสารผ่าน tiktok มพ.

@uptiktok2024

แอปพลิเคชั่น Smart UP

ดาวน์โหลดได้แล้ววันนี้

ข่าวที่มีผู้อ่านสูงสุด ย้อนหลัง 7 วัน