ม.พะเยา จัด พะเยาวิจัย ครั้งที่ ๑๑ “Economic and social recovery from covid-19 by research and Innovation”

27/1/2565 15:37:22น. 1071
พะเยาวิจัย ครั้งที่ ๑๑

           มหาวิทยาลัยพะเยา จัดการประชุมวิชาการระดับชาติพะเยาวิจัย อย่างต่อเนื่องเป็นประจำทุกปี ซึ่งครั้งนี้เป็นครั้งที่ ๑๑ ระหว่างวันที่ ๒๕-๒๘ มกราคม ๒๕๖๕ มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นเวทีนำเสนอผลงานวิจัยในศาสตร์ต่าง ๆ อาทิ งานวิจัยด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ งานวิจัยด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และงานวิจัยด้านมนุษยศาสตร์ และสังคมศาสตร์ มีเป้าหมายสูงสุดคือ การนำไปใช้ประโยชน์ในทางสังคม สิ่งแวดล้อม ให้เกิดความยั่งยืนและเพิ่มขีดความสามารถทางเศรษฐกิจ ในการแข่งขัน กับนานาอารยประเทศ

           วันพฤหัสบดีที่ ๒๗ มกราคม ๒๕๖๕ นายกสภามหาวิทยาลัยพะเยา ศาสตราจารย์เกียรติคุณ คุณหญิงไขศรี ศรีอรุณ ได้ให้เกียรติเป็นประธานกล่าวเปิดงานประชุมวิชาการระดับชาติพะเยาวิจัย ครั้งที่ ๑๑ “Economic and social recovery from covid-19 by research and Innovation” ผ่านระบบออนไลน์ โดยอธิการบดีมหาวิทยาลัยพะเยา รองศาสตราจารย์ ดร.สุภกร พงศบางโพธิ์ กล่าวรายงาน ณ อาคาร ๙๙ ปี พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (ปวง ธมฺมปญโญฺ) มหาวิทยาลัยพะเย

           นายกสภามหาวิทยาลัยพะเยา ศาสตราจารย์เกียรติคุณ คุณหญิงไขศรี ศรีอรุณ กล่าวว่า แม้ว่าปีนี้จากสถานการณ์การระบาดของ COVID-19 ส่งผลกระทบให้การประชุมวิชาการต้องปรับเปลี่ยนการนำเสนอผลงานวิจัยให้เป็นรูปแบบออนไลน์ แต่มหาวิทยาลัยยังคงให้ความสำคัญกับการเปิดเวที การนำเสนอผลงานวิจัยในการประชุมวิชาการระดับชาติพะเยาวิจัย ครั้งที่ ๑๑ ให้เกิดขึ้น ภายใต้หัวข้อ “Economic and social recovery from COVID-19 by research and Innovation” การจัดการประชุมวิชาการพะเยาวิจัย จะเป็นอีกกลไกหนึ่งที่มีส่วนในการขับเคลื่อนเป้าหมายของการจัดตั้งกระทรวง การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ซึ่งต้องการให้เกิดการเสริมพลังจากการบูรณาการการทำงานจากหลากหลายสถาบัน (Synergy) เกิดการแลกเปลี่ยนบุคลากรที่มีคุณภาพอย่างคล่องตัว (Mobility) เกิดการ ใช้ประโยชน์จากทรัพยากรร่วมกัน รวมทั้งเป้าหมายในการสร้างนวัตกรรม ให้กับประเทศ (Innovation) ต่อไป

           อธิการบดีมหาวิทยาลัยพะเยา รองศาสตราจารย์ ดร.สุภกร พงศบางโพธิ์ กล่าวว่า การประชุมวิชาการพะเยาวิจัย ครั้งที่ ๑๑ นี้ เป็นเวทีทางวิชาการ เพื่อร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ สร้างเครือข่ายระดับชาติ ในการพัฒนาศักยภาพของสถาบันการศึกษาของไทย โดยการสนับสนุนการเผยแพร่งานวิจัยและนวัตกรรม ที่สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ซึ่งจะนำไปสู่การนำองค์ความรู้ไปใช้ ในการฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม เพื่อขับเคลื่อนประเทศภายหลังวิกฤติการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ภายใต้บริบทใหม่ (New Normal) ต่อไป

          ด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค COVID-19 มหาวิทยาลัยได้ปรับรูปแบบการนำเสนอผลงานในการประชุมวิชาการ ให้เป็นลักษณะ Online Conference ระหว่างวันที่ ๒๕-๒๘ มกราคม ๒๕๖๕ และกำหนดรูปแบบพิธีเปิดโครงการประชุมวิชาการดังกล่าวให้เป็นการภายใน และเผยแพร่ต่อสาธารณชน ในรูปแบบออนไลน์ ในวันที่ ๒๗ มกราคม ๒๕๖๕ ซึ่งได้จำกัดจำนวนผู้เข้าร่วมงาน เพื่อให้เป็นไปตามมาตรการ ทางสาธารณสุข เรื่อง การเว้นระยะห่างทางสังคม (Social Distancing) และลดอัตราความเสี่ยงในการสัมผัสโรค COVID-19
           การจัดงานครั้งนี้ มีผู้สนใจเข้าร่วมนำเสนอผลงานวิจัย จำนวนทั้งสิ้น ๒๔๕ ผลงาน ประกอบด้วย
                ๑. กลุ่มวิทยาศาสตร์สุขภาพ จำนวน ๔๖ ผลงาน
                ๒. กลุ่มวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จำนวน ๑๐๖ ผลงาน
                ๓. กลุ่มมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ จำนวน ๙๓ ผลงาน

          มหาวิทยาลัยจัดให้มีการมอบรางวัล เพื่อเป็นการสร้างขวัญกำลังใจให้กับนักวิจัย คือ
               ๑. รางวัลนักวิจัยที่มีผลงานการตีพิมพ์สูงสุดในฐานข้อมูลระดับนานาชาติ ปี ๒๕๖๓ แบ่งเป็นกลุ่ม ๓ กลุ่ม ดังนี้
                    - กลุ่มวิทยาศาสตร์สุขภาพ
                    - กลุ่มวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี
                    - กลุ่มมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
              ๒. รางวัลโครงการ “๑ คณะ ๑ ชุมชนนวัตกรรม” ประจำปี ๒๕๖๔


 


        

facebooktwitterline

แท็กที่เกี่ยวข้อง

ภาพ :   ปราการ บุญมาวงค์ งานประชาสัมพันธ์   
ข้อมูล/ข่าว :    ธิดาดือน อุตยานะ งานประชาสัมพันธ์   
เพิ่มข่าวโดย :   tidaduen.ut@up.ac.th   
27/1/2565 15:37:22น. 1071
Print Friendly and PDF

ติดตามข่าวสาร มพ.


ติดตามข่าวสารผ่าน tiktok มพ.

@uptiktok2024

แอปพลิเคชั่น Smart UP

ดาวน์โหลดได้แล้ววันนี้

ข่าวที่มีผู้อ่านสูงสุด ย้อนหลัง 7 วัน