โครงการนับหนึ่ง

1/11/2564 14:32:47น. 2426
ประชากรประมาณร้อยละ 20 ที่ติดเชื้อเอช ไอ วีทั่วโลกไม่ทราบสถานะการติดเชื้อของตนเอง ดังนั้นจึงมีความเสี่ยงในการถ่ายทอดเชื้อเอช ไอ วีไปยังผู้อื่นและพัฒนาไปเป็นโรคเอดส์ได้ จึงเป็นสิ่งที่ชี้ให้เห็นชัดเจนว่าการตรวจหาการติดเชื้อเอช ไอ วีเป็นประจำในผู้ที่มีความเสี่ยงนั้นยังไม่เพียงพอ

           ประชากรประมาณร้อยละ 20 ที่ติดเชื้อเอช ไอ วีทั่วโลกไม่ทราบสถานะการติดเชื้อของตนเอง ดังนั้นจึงมีความเสี่ยงในการถ่ายทอดเชื้อเอช ไอ วีไปยังผู้อื่นและพัฒนาไปเป็นโรคเอดส์ได้ จึงเป็นสิ่งที่ชี้ให้เห็นชัดเจนว่าการตรวจหาการติดเชื้อเอช ไอ วีเป็นประจำในผู้ที่มีความเสี่ยงนั้นยังไม่เพียงพอ

          โครงการนับหนึ่งเป็นโครงการวิจัยที่มีกลวิธีต่างๆ เพื่อให้บริการตรวจหาเอช ไอ วีและการติดเชื้ออื่นๆ แบบนิรนาม พร้อมทั้งให้การปรึกษาซึ่งมีพื้นที่ดำเนินโครงการในภาคเหนือของประเทศไทย

          ในการวิจัยระยะแรก (ปี 2558-2562) มีผู้มารับบริการที่มาใช้บริการครั้งเดียวมากกว่า 5,700 ราย ผู้มารับบริการได้รับการปรึกษาและตรวจหาเอช ไอ วี ไวรัสตับอักเสบบี ไวรัสตับอักเสบซี และซิฟิลิส ทางโครงการได้ประเมินกลวิธีต่างๆ เพื่อให้การบริการตรวจหาเอช ไอ วีที่เหมาะสมที่สุด รวมถึงการลดเวลาในการให้การปรึกษาและให้ผู้ที่มีความเสี่ยงมีความเข้าใจเพิ่มขึ้นในการกลับมาตรวจเอช ไอ วีซ้ำ 

          ในการวิจัยในกลุ่มควบคุมแบบสุ่มตัวอย่าง (randomized controlled trial: RCT) ระยะแรกพบว่าการให้การปรึกษาโดยใช้คอมพิวเตอร์ร่วมด้วย (computer-assisted counseling) ช่วยลดเวลาในการให้คำปรึกษาได้มาก ซึ่งให้ประสิทธิภาพเหมือนกันกับการให้การปรึกษาตามมาตรฐานในการกลับมาตรวจซ้ำ การเปลี่ยนแปลงความรู้ด้านเอช ไอ วี

          การเปลี่ยนแปลงในเรื่องพฤติกรรมเสี่ยงในการมีเพศสัมพันธ์ และการยอมรับ ในการวิจัยในกลุ่มควบคุมแบบสุ่มตัวอย่างระยะที่สองพบว่าการทำการนัดหมายและส่งข้อความแจ้งเตือนให้แก่ผู้มารับบริการ 1 สัปดาห์ล่วงหน้านั้นเป็นเรื่องง่าย และเป็นวิธีที่ดำเนินการได้ง่ายและมีประสิทธิผลซึ่งทำให้ผู้ที่มีความเสี่ยงมีความเข้าใจในการกลับมาตรวจเอช ไอ วีซ้ำเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ

          การวิจัยระยะที่สองที่กำลังดำเนินการอยู่ (ปี 2562-2565) มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาการเข้าถึงการป้องกันการติดเชื้อเอช ไอ วี การตรวจหาการติดเชื้อ และการส่งต่อในระบบการดูแลรักษาสุขภาพที่มีประสิทธิภาพสำหรับผู้ที่มีความเสี่ยงซึ่งอาศัยในจังหวัดขนาดกลางในประเทศไทย

         โดยเฉพาะอย่างยิ่งได้มุ่งเน้นไปที่การบริการตรวจหาการติดเชื้อเอช ไอ วีและการให้การปรึกษาที่เหมาะสมที่สุด เช่นการใช้วิธีการตรวจด้วยตนเองภายใต้การดูแลของเจ้าหน้าที่โครงการวิจัย การให้การปรึกษาโดยใช้คอมพิวเตอร์ร่วมด้วยและระบบการจองนัดหมายแบบออนไลน์


          จึงได้เกิดความร่วมมือด้านการวิจัยระหว่างนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยพะเยา และโครงการนับหนึ่งจากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เพื่อให้กลุ่มผู้มีความเสี่ยงในการติดเชื้อในพื้นที่จังหวัดพะเยา และผู้ที่สนใจ สามารถเข้าถึงการตรวจหาการติดเชื้อ ในรูปแบบการตรวจนิรนามที่ไม่เสียค่าใช้จ่าย มีความสะดวก และสามารถเลือกช่วงเวลาในการเข้าใช้บริการได้ทุกวัน เวลา 13.00-18.00 น. ตั้งแต่วันที่ 5 พฤศจิกายน 2564 ทั้งนี้สามารถนัดหมายและจองเวลาตรวจได้หลายช่องทางที่




เว็บไซต์: https://www.napneung.net

เฟซบุ๊ก: https://www.facebook.com/NapneungPYO

โทร: 061-6813399


นักวิจัยหัวหน้าโครงการ ณ มหาวิทยาลัยพะเยา: ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สาวิตรี นะงอลา

นักวิจัยร่วม: ดร.จิรพัฒน์ คล้อยปาน ดร.เอกพจน์ พรมพันธ์ ดร.สุภาพร ขำจันทร์

หมายเลขการวิจัยทางคลินิก ClinicalTrials.gov: NCT02752152, NCT04585165





facebooktwitterline

แท็กที่เกี่ยวข้อง

ภาพ :   งานประชาสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยพะเยา   
ข้อมูล/ข่าว :    งานประชาสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยพะเยา   
เพิ่มข่าวโดย :   nantawat.mu@up.ac.th   
1/11/2564 14:32:47น. 2426
Print Friendly and PDF

ติดตามข่าวสาร มพ.


ติดตามข่าวสารผ่าน tiktok มพ.

@uptiktok2024

แอปพลิเคชั่น Smart UP

ดาวน์โหลดได้แล้ววันนี้

ข่าวที่มีผู้อ่านสูงสุด ย้อนหลัง 7 วัน