การวิเคราะห์สภาพปัญหาของนิสิตระดับปริญญาตรีในการส่งคืนทรัพยากรสารสนเทศ ศูนย์บรรณสารและการเรียนรู้ สถาบันนวัตกรรมการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยพะเยา
การวิเคราะห์สภาพปัญหาของนิสิตระดับปริญญาตรีในการส่งคืนทรัพยากรสารสนเทศ ศูนย์บรรณสารและการเรียนรู้ สถาบันนวัตกรรมการเรียนรู้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัญหาการส่งคืนทรัพยากรสารสนเทศและเพื่อนำเสนอแนวทางในการแก้ไขปัญหาการส่งคืนทรัพยากรสารสนเทศ ในปัจจุบันการนำเทคโนโลยีสารสนเทศ ระบบห้องสมุดอัตโนมัติมาใช้ในงานห้องสมุดช่วยให้การทำงาน มีประสิทธิภาพและรวดเร็วมากขึ้น มีการจัดการและจัดเก็บทรัพยากรสารสนเทศไว้อย่างเป็นระบบเพื่อการบริการที่มีคุณภาพและตรงกับความต้องการของผู้ใช้บริการ ได้แก่ บริการทรัพยากรสารสนเทศประเภทสิ่งพิมพ์ทรัพยากรสารสนเทศประเภทอิเล็กทรอนิกส์ รวมถึงบริการยืม - คืนทรัพยากรสารสนเทศ เป็นบริการหลักของศูนย์บรรณสารและการเรียนรู้ เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ใช้บริการ การใช้ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ ALIST ซึ่งถือได้ว่าเป็นหนึ่งในระบบสำหรับให้บริการและบริหารจัดการระบบห้องสมุดที่ทันสมัย และมีการใช้งานที่ครอบคลุมความต้องการใช้งานในทุกด้าน ซึ่งศูนย์บรรณสารและการเรียนรู้เปิดให้บริการฟรีแก่บุคคลภายในมหาวิทยาลัยและบุคคลภายนอกมหาวิทยาลัย
การยืมทรัพยากรสารสนเทศและมีการส่งคืนทรัพยากรสารสนเทศเกินกำหนดจะมีค่าปรับรายการละ 5 บาท ต่อรายการและตามประกาศสถาบันนวัตกรรมการเรียนรู้ เรื่อง การให้บริการของศูนย์บรรณสารและการเรียนรู้ สถาบันนวัตกรรมการเรียนรู้ พ.ศ. 2565
การยืม - คืนทรัพยากรสารสนเทศของศูนย์บรรณสารและการเรียนรู้ ปี พ.ศ. 2565 พบว่า ผู้ใช้บริการยืม - คืนทรัพยากรสารสนเทศมีปริมาณเพิ่มขึ้น และมีจำนวนทรัพยากรสารสนเทศค้างส่งจำนวนเพิ่มขึ้น การยืมทรัพยากรสารสนเทศ ระหว่างปี พ.ศ. 2563 - 2566 พบว่า ในปี พ.ศ. 2563 มีการยืมทรัพยากรสารสนเทศ มากที่สุด และในปี พ.ศ. 2564 มีการยืมทรัพยากรสารสนเทศ น้อยที่สุด
ภาพที่ 1 บรรยากาศการเข้าใช้บริการศูนย์บรรณสารและการเรียนรู้
จากข้อมูลข้างต้น พบว่าจำนวนการคืนทรัพยากรสารสนเทศเกินกำหนดยังมีจำนวนมากทำให้ผู้ใช้บริการจะต้องเสียค่าปรับและผู้ใช้บริการคนอื่น ๆ เสียโอกาสในการใช้ทรัพยากรสารสนเทศการบริการยืม - คืนนั้น หากผู้ใช้บริการไม่คืนทรัพยากรสารสนเทศ ตามกำหนดส่งทำให้มีค่าปรับเพิ่มมากขึ้นตามระยะเวลาและจำนวนที่ทรัพยากรสารสนเทศที่ยืมออกไป การเสียค่าปรับการส่งคืนทรัพยากรสารสนเทศเกินกำหนดผลกระทบต่อผู้ปกครอง เนื่องจากนิสิตยังไม่มีรายได้จึงทำให้ผู้ปกครองจะต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น
การศึกษาสภาพปัญหาการส่งคืนทรัพยากรสารสนเทศเกินกำหนดส่งของผู้ใช้บริการของศูนย์บรรณสารและการเรียนรู้ สถาบันนวัตกรรมการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยพะเยา จะเป็นแนวทางในการปรับปรุงการให้บริการของศูนย์บรรณสารและการเรียนรู้ ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นและตอบสนองต่อความต้องการของผู้ใช้บริการให้ได้มากที่สุด
สภาพปัญหาของนิสิตระดับปริญญาตรีในการส่งคืนทรัพยากรสารสนเทศ พบว่า ปัญหาของนิสิตระดับปริญญาตรีในการส่งคืนทรัพยากรสารสนเทศ มากที่สุด คือ ด้านผู้ใช้บริการ รองลงมา คือ ด้านระเบียบการให้บริการและด้านผู้ให้บริการ/เจ้าหน้าที่
ข้อเสนอแนะความต้องการในการแก้ไขปัญหาการคืนทรัพยากรสารสนเทศเกินกำหนดส่ง แบ่งออกได้เป็น 2 ด้าน มีดังนี้
ด้านการอำนวยความสะดวกการให้บริการ
1) ควรมีหลักฐานในการคืนการทรัพยากรสารสนเทศจากตู้คืนหนังสืออัตโนมัติทุกครั้ง
2) ควรมีระบบแจ้งเตือนข้อความ (SMS) ผ่านโทรศัพท์มือถือ หรือไลน์ ออฟฟิเชียล (Line Official) ก่อนครบกำหนดส่งคืน 1-2 วัน
ด้านระเบียบการให้บริการ
1) ควรมีการลดหย่อนค่าปรับกรณีที่นิสิตมีการคืนล่าช้าเป็นเวลานานแต่ไม่ควรมากจนเกินไป
2) ควรมีการกำหนดค่าปรับในอัตราสูงสุดไม่เกิน 2 เท่าของราคาหนังสือที่ยืมออกไป
3) ควรมีกิจกรรมให้นิสิตได้ปฏิบัติทดแทนการชำระค่าปรับหรือจ่ายเพียงครึ่งหนึ่งของจำนวนค่าปรับจริงกับนิสิตที่มีค่าปรับจำนวนมาก
ข้อเสนอแนะ
1) ข้อเสนอแนะในการนำผลการศึกษาไปใช้
ผลจากการศึกษาในครั้งนี้ ศูนย์บรรณสารและการเรียนรู้ สถาบันนวัตกรรมการเรียนรู้ สามารถนำข้อมูลสภาพปัญหาของการส่งคืนทรัพยากรสารสนเทศเกินกำหนดส่งของผู้ใช้บริการไปปรับปรุง มีดังนี้
1.1) ดำเนินการออกแบบสื่อการประชาสัมพันธ์ตามความสนใจของผู้ใช้บริการ
1.2) ดำเนินการปรับปรุงประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับระเบียบการยืม-คืนทรัพยากรสารสนเทศผ่านทางออนไลน์ เช่น เว็บไซต์ (Website) เฟชบุ๊ค (Facebook)
1.3) ดำเนินการสร้างการรับรู้และออกแบบสื่อประชาสัมพันธ์ระเบียบการยืม-คืนทรัพยากรสารสนเทศ อย่างต่อเนื่อง
1.4) ดำเนินกิจกรรมแนะนำให้ความรู้แก่นิสิตที่เข้ามาใช้บริการ หรือให้ความรู้ในรูปแบบบทเรียนออนไลน์
2) ข้อเสนอแนะในการศึกษาในครั้งต่อไป
2.1) ควรพัฒนาระบบแจ้งเตือนทรัพยากรสารสนเทศเกินกำหนดส่ง ผ่านแอปพลิเคชันไลน์ (LINE)
2.2) ควรพัฒนาระบบแจ้งเตือนทรัพยากรสารสนเทศเกินกำหนดส่ง ผ่านข้อความในโทรศัพท์มือถือ (SMS)
2.3) ควรพัฒนาระบบแจ้งเตือนทรัพยากรสารสนเทศเกินกำหนดส่ง ผ่านแอปพลิเคชัน ALIST OPAC
บทความโดย นางสาวภคมณ ยะยศ
สถาบันนวัตกรรมการเรียนรู้
ที่ปรึกษา ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นรินธน์ นนทมาลย์