มหาวิทยาลัยพะเยาพัฒนาเครือข่ายชุมชนนวัตกรรมสำหรับการผลิตกระบือคุณภาพ เพื่อการค้าภายในและต่างประเทศ

9/10/2567 15:22:55น. 91
มหาวิทยาลัยพะเยาพัฒนาเครือข่ายชุมชนนวัตกรรมสำหรับการผลิตกระบือคุณภาพ  เพื่อการค้าภายในและต่างประเทศ
มหาวิทยาลัยพะเยาพัฒนาเครือข่ายชุมชนนวัตกรรมสำหรับการผลิตกระบือคุณภาพ
เพื่อการค้าภายในและต่างประเทศ


        โครงการวิจัยการพัฒนาเครือข่ายชุมชนนวัตกรรมสำหรับการผลิตกระบือคุณภาพ เพื่อการค้าภายในและต่างประเทศ ดำเนินกการเพื่อเป็นการสร้างเครือข่ายชุมชนนวัตกรรม สร้างพื้นที่ต้นแบบการเรียนรู้และนวัตกรชุมชมที่สามารถแก้ไขและจัดการตนเองในด้านอาชีพการเลี้ยงกระบือพื้นที่จังหวัดพะเยา เชียงราย เพิ่มขีดความสามารถในการยกระดับการผลิตกระบือเพื่อการค้าในตลาดท้องถิ่นและต่างประเทศจากฐานทรัพยากรท้องถิ่น และยกระดับรายได้ ความกินดีอยู่ดี และคุณภาพชีวิตของเครือข่ายชุมชนนวัตกรรมด้านอาชีพการเลี้ยงกระบืออย่างยั่งยืน


         หัวหน้าโครงการ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พยุงศักดิ์ อินต๊ะวิชา อาจารย์ประจำหลักสูตรสัตวศาสตร์ คณะเกษตรศาสตร์และทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยพะเยา ได้ดำเนินการลงพื้นที่เก็บข้อมูลสภาพการณ์ก่อนเริ่มโครงการ จำนวน 10 ตำบล ในจังหวัดพะเยาและจังหวัดเชียงราย โดยได้รับความร่วมมือจาก ศูนย์วิจัยและบำรุงพันธุ์สัตว์พะเยา ศูนย์วิจัยและพัฒนาอาหารสัตว์เชียงราย สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดพะเยา ชุมชนเกษตรกรผู้เลี้ยงกระบือ ศูนย์วิจัยและผลิตพืชอาหารสัตว์แพร่ ศูนย์ผสมเทียมและเทคโนโลยีชีวภาพเชียงใหม่ ศูนย์วิจัยและผลิตพืชอาหารสัตว์จังหวัดเชียงราย เพื่อสร้างนวัตกรชุมชนให้มีศักยภาพในการถ่ายทอดองค์ความรู้และสามารถสร้าง learning and innovation platform ของตนเอง ให้ผู้ที่มีความสนใจเข้ามาศึกษาเรียนรู้และสามารถนำไปเป็นแนวทางมีพื้นฐานที่ดีในการผลิตกระบือคุณภาพ เพื่อยกระดับการส่งออกได้ ผ่านการสร้างกระบวนการเรียนรู้ การจัดการความรู้ และการเพิ่มขีดความสามารถในการหาความรู้ของพื้นที่ต้นแบบเรียนรู้นวัตกรรม จัดกิจกรรมที่เหมาะสมกับแต่ละพื้นที่ เช่น กิจกรรมโปรแกรมบำรุงสุขภาพ เจาะเลือด เหนี่ยวนำการเป็นสัดและการผสมเทียม โดยให้นวัตกรชุมชนลงมือทำด้วยตนเองและมีคณะผู้วิจัยเป็นพี่เลี้ยง รวมถึงการสร้างแปลงสาธิตการปลูกพืชอาหารสัตว์คุณภาพ เพื่อให้นวัตกรที่ได้ทดลองปลูกและเก็บเกี่ยว เพื่อเป็นแปลงสาธิตพื้นที่เรียนรู้การผลิตพืชอาหารสัตว์ (กระบือ) และการพัฒนาศักยภาพและองค์ความรู้ทางด้านต่าง ๆ ประกอบด้วย ด้านการปรับปรุงพันธุ์ การผลิตอาหารต้นทุนต่ำ การจัดการฟาร์ม และการเชื่อมโยงตลาดด้วย


โดยโครงการดังกล่าวทำให้เกิด Value Chain และการเปลี่ยนแปลงด้านพื้นที่ด้วยการขับเคลื่อนของนวัตกรชุมชน
           ด้านการปรับปรุงพันธุ์ ผ่านเทคโนโลยีการเหนี่ยวนำการเป็นสัด เทคโนโลยีการผสมเทียม แอปพลิเคชันพันธุ์ประวัติออนไลน์ ทำให้เกิดลูกกระบือคุณภาพ ลดปัญหาการเกิดเลือดชิด มีช่องทางการจำหน่ายกระบือเพิ่มขึ้น คือ กระบือเนื้อ ตัวละ 30,000 - 50,000 บาท/ตัว กระบือพันธุ์ ตัวละ 50,000 - 100,000 บาท/ตัว
           ด้านการจัดการอาหาร นำนวัตกรรมการปลูกพืชอาหารสัตว์คุณภาพ ทำให้กระบือได้รับโปรตีน และคุณค่าทางโภชนาการเพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย การนำวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรมาใช้เป็นอาหารสามารถลดต้นทุนด้านอาหาร
           ด้านการจัดการฟาร์ม มีการจัดการโดยใช้แอปพลิเคชันจัดการโปรแกรมวัคซีน ผ่านการแจ้งเตือน ทำให้กระบือมีสุขภาพดีขึ้น และการบันทึกข้อมูลการจัดการฟาร์มที่สะดวกรวดเร็ว ฟาร์มได้รับการรับรองมาตรฐานฟาร์ม ผู้บริโภคเกิดความเชื่อมั่นในอาหารปลอดภัย
           ด้านการตลาด เกิดกระบวนการเชื่อมโยงตลาดท้องถิ่นให้แก่เกษตรกร สร้างระบบเขียงกระบือชุมชน ชำแหละเอง และเปิดขายในชุมชน เกษตรกรได้กำไรเฉลี่ย 9,620.65 บาท/ตัว และการมีคอกกลางรองรับการส่งออก
มหาวิทยาลัยพะเยา เชื่อมั่นว่าโครงการนี้จะเป็นก้าวสำคัญในการพัฒนาการผลิตกระบือคุณภาพ และสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชนท้องถิ่น เกษตรกรสามารถคิดวิเคราะห์ และประเมินสถานการณ์ได้ด้วยตนเองสร้างความมั่นคงทางด้านการเงินให้กับเกษตรกรในระยะยาว รวมถึงสร้างโอกาสทางการค้าในระดับสากลอีกด้วย

 


   

facebooktwitterline

แท็กที่เกี่ยวข้อง

ภาพ :   ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พยุงศักดิ์ อินต๊ะวิชา   
ข้อมูล/ข่าว :    คณะเกษตรศาสตร์และทรัพยากรธรรมชาติ / นิติพัฒน์ ธำรงทอง   
เพิ่มข่าวโดย :   rattanapong.tu@up.ac.th   
9/10/2567 15:22:55น. 91
Print Friendly and PDF

ติดตามข่าวสาร มพ.


ติดตามข่าวสารผ่าน tiktok มพ.

@uptiktok2024

แอปพลิเคชั่น Smart UP

ดาวน์โหลดได้แล้ววันนี้

ข่าวที่มีผู้อ่านสูงสุด ย้อนหลัง 7 วัน