นิสิตมหาวิทยาลัยพะเยา คว้ารางวัลนวัตกรรมเหรียญเงิน งานมหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ 2567 (Thailand Research Expo 2024) ครั้งที่ 19

11/9/2567 10:08:19น. 776
นิสิตมหาวิทยาลัยพะเยา คว้ารางวัลนวัตกรรมเหรียญเงิน งานมหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ 2567 (Thailand Research Expo 2024) ครั้งที่ 19
นิสิตมหาวิทยาลัยพะเยา คว้ารางวัลนวัตกรรมเหรียญเงิน
งานมหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ 2567 (Thailand Research Expo 2024) ครั้งที่ 19


           ทีมนิสิตมหาวิทยาลัยพะเยา คณะเกษตรศาสตร์และทรัพยากรธรรมชาติ สาขาวิชาเทคโนโลยีการเกษตร คว้ารางวัลนวัตกรรมเหรียญเงิน“อาหารเกสรเทียมหมักสำหรับผึ้งพันธุ์” ซึ่งเป็นผลงานระหว่างศึกษาที่คณะเกษตรศาสตร์และทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยพะเยา โดยพัฒนาต่อยอดจากงานวิจัยของอาจารย์ที่ปรึกษา พัฒนาสูตรอาหารสำหรับนำไปใช้ผลิตอาหารต้นทุนต่ำเพื่อใช้เลี้ยงเสริมผึ้งพันธุ์ ในช่วงขาดแคลนอาหาร ผลงานดังกล่าวได้รับการจดอนุสิทธิบัตร และการตีพิมพ์ผลงานทางวิชาการ โดยทีมนิสิตมหาวิทยาลัยพะเยาร่วมบูรณาการร่วมกับทีมวิจัยจากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ สำนักพัฒนาอาหารสัตว์ กรมปศุสัตว์ มหาวิทยาลัย National Chung Hsing University, Taiwan และ Andong National University โดยผลงานแสดงในงานมหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ 2567 (Thailand Research Expo 2024) เมื่อวันที่ 26 – 30 สิงหาคม 2567 ที่ผ่านมา ณ โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์ และบางกอกคอนเวนชันเซ็นเตอร์ เซ็นทรัลเวิลด์ กรุงเทพมหานคร


           ผลงานดังกล่าว สนับสนุนโดยอาจารย์ที่ปรึกษาของมหาวิทยาลัยพะเยา คือ รองศาสตราจารย์ ดร.โชค โสรัจกุล และ ดร.ขรรค์ชัย ดั้นเมฆ ซึ่งมีการบูรณาการร่วมกับทีมวิจัยจากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (ดร.บาจรีย์ ฉัตรทอง) สำนักพัฒนาอาหารสัตว์ กรมปศุสัตว์ มหาวิทยาลัย National Chung Hsing University, Taiwan (Assoc.Prof.Dr.Ming Cheng Wu) และ Andong National University (Prof.Dr.Chuleui Jung) ผ่านทุนสนับสนุนจากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (the National Research Council of Thailand (NRCT) และ The Korea Research Foundation (NRF) ตัวแทนสมาชิกเข้าร่วมกิจกรรม คือ นายชินดนัย ชาญมณีเวช นายชนะกร นิยม นายกฤษดา ทิพย์เหลือง นายโชควิวัฒน์ สิงห์ฤทธิ์ นายบุริศร์ ลือชานางสาววรรณพร สุระเดช นางสาววรกมล ลอยลม นางสาวณัฐพร ก๊กตระกูล นอกจากการพัฒนาผลิตภัณฑ์แล้ว นิสิตยังมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางวิชาการ โดยได้ทำการนำเสนอผลงานในการประชุมวิชาการระดับชาติ 2 ครั้ง การประชุมวิชาการระดับนานาชาติ 1 ครั้ง และยังมีผลงานวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการระดับชาติ (TCI) 1 เรื่อง นานาชาติ (SCOPUS) อีก 2 ฉบับ ผลงานได้นำไปถ่ายทอดให้กับเกษตรกรผู้เลี้ยงผึ้งในจังหวัดพะเยา เชียงใหม่ และแพร่ เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ และเกษตรกรรับนวัตกรรมไปขยายผลเชิงพาณิชย์แก่ลูกสมาชิก ผู้ที่มีกำลังผลิตขนาดเล็กถึงขนาดใหญ่ เกษตรกรที่เป็นสมาชิกแปลงใหญ่ผึ้งพันธุ์ในพื้นที่ เกษตรกรผู้ผลิตผึ้งพันธุ์ที่ดำเนินธุรกิจแบบเดี่ยว/วิสาหกิจชุมชน/สหกรณ์/บริษัท เกษตรกรผู้ผลิตผึ้งพันธุ์หน้าใหม่ที่อีกด้วย



                  

 


   

facebooktwitterline

แท็กที่เกี่ยวข้อง

ภาพ :   คณะเกษตรศาสตร์และทรัพยากรธรรมชาติ   
ข้อมูล/ข่าว :    คณะเกษตรศาสตร์และทรัพยากรธรรมชาติ / นิติพัฒน์ ธำรงทอง   
เพิ่มข่าวโดย :   rattanapong.tu@up.ac.th   
11/9/2567 10:08:19น. 776
Print Friendly and PDF

ติดตามข่าวสาร มพ.


ติดตามข่าวสารผ่าน tiktok มพ.

@uptiktok2025

แอปพลิเคชั่น Smart UP

ดาวน์โหลดได้แล้ววันนี้

ข่าวที่มีผู้อ่านสูงสุด ย้อนหลัง 7 วัน