มหาวิทยาลัยพะเยา คณะวิทยาศาสตร์ จัดอบรมการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐาน (CPR) และการใช้เครื่องกระตุกหัวใจอัตโนมัติ (AED)

8/9/2567 20:42:02น. 100
มหาวิทยาลัยพะเยา คณะวิทยาศาสตร์ จัดอบรมการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐาน (CPR)  และการใช้เครื่องกระตุกหัวใจอัตโนมัติ (AED)
มหาวิทยาลัยพะเยา คณะวิทยาศาสตร์ จัดอบรมการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐาน (CPR)
และการใช้เครื่องกระตุกหัวใจอัตโนมัติ (AED)
             กิจกรรมอบรมการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐาน (CPR) และการใช้เครื่องกระตุกหัวใจอัตโนมัติ (AED) เพื่อเพิ่มความรู้และทักษะในการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐาน (CPR) เสริมสร้างความมั่นใจในการทำ CPR และการใช้ AED จัดขึ้นเพื่อเป็นการส่งเสริมความปลอดภัยและมีการปฏิบัติตามแนวทางที่เป็นมาตรฐาน ในการเตรียมความพร้อมสำหรับการตอบสนองในสถานการณ์ฉุกเฉิน ลดอัตราการเสียชีวิตจากภาวะหัวใจหยุดเต้นและลดความเสี่ยงจากความเสียหายที่เกิดจากการขาดออกซิเจนที่ยาวนาน เช่น ความเสียหายต่อสมองและอวัยวะภายใน



             เมื่อวันที่ 6 กันยายน 2567 เวลา 13.00 น. คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา นำโดย คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ รองศาสตราจารย์ ดร.สิทธิศักดิ์ ปิ่นมงคลกุล นำทีมบุคลากรคณะวิทยาศาสตร์ ร่วมอบรมการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐาน (CPR) และการใช้เครื่องกระตุกหัวใจอัตโนมัติ (AED) เพื่อเพิ่มความรู้และทักษะในการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐาน และเสริมสร้างความมั่นใจในการทำ CPR และการใช้ AED โดยได้รีบเกียรติจากนายแพทย์ อุดมศักดิ์ ตั้งชัยสุริยา อาจารย์ประจำภาควิชาเวชศาสตร์ฉุกเฉิน คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นวิทยากรในการให้ความรู้ในกิจกรรมดังกล่าว ณ ห้องปฏิบัติการสาขาวิชาวิทยาศาสตร์การออกกำลังกายและการกีฬา อาคารสงวนเสริมศรี มหาวิทยาลัยพะเยา


             ทั้งนี้ การช่วยชีวิตขั้นพื้นฐาน (CPR) เป็นวิธีการที่สามารถช่วยฟื้นฟูการทำงานของหัวใจและการหายใจของผู้ป่วยได้เทคนิคการทำ CPR ที่ถูกต้อง เช่น การกดหน้าอก การช่วยหายใจ และการใช้เครื่องกระตุ้นหัวใจอัตโนมัติ (AED) ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญในการเพิ่มโอกาสในการรอดชีวิตของผู้ป่วยให้สามารถทำการช่วยชีวิตได้อย่างมีประสิทธิภาพและสอดคล้องกับมาตรฐานที่กำหนดโดยองค์กรด้านการแพทย์ เช่น American Heart Association (AHA) หรือ European Resuscitation Council (ERC) การปฏิบัติตามมาตรฐานดังกล่าวช่วยให้แน่ใจว่าการช่วยชีวิตจะดำเนินการอย่างถูกต้องและปลอดภัย การทำ CPR อย่างถูกต้องและตามมาตรฐานช่วยเพิ่มโอกาสในการรอดชีวิต ลดความเสี่ยงจากความเสียหายที่เกิดจากการขาดออกซิเจน และส่งเสริมความปลอดภัยในชุมชน การฝึกอบรมไม่เพียงแต่เสริมสร้างทักษะในการช่วยชีวิต แต่ยังช่วยพัฒนาความมั่นใจในการตอบสนอง ต่อเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิด การฝึกอบรมจึงเป็นสิ่งสำคัญเพื่อเตรียมพร้อมและการตอบสนองที่มีประสิทธิภาพในชีวิตประจำวัน

 


 

facebooktwitterline

แท็กที่เกี่ยวข้อง

ภาพ :   นิติพัฒน์ ธำรงทอง   
ข้อมูล/ข่าว :    นิติพัฒน์ ธำรงทอง   
เพิ่มข่าวโดย :   rattanapong.tu@up.ac.th   
8/9/2567 20:42:02น. 100
Print Friendly and PDF

ติดตามข่าวสาร มพ.


ติดตามข่าวสารผ่าน tiktok มพ.

@uptiktok2024

แอปพลิเคชั่น Smart UP

ดาวน์โหลดได้แล้ววันนี้

ข่าวที่มีผู้อ่านสูงสุด ย้อนหลัง 7 วัน