โครงการสำรวจทักษะพื้นฐานชีวิตและความพร้อมเยาวชนและประชากรวัยแรงงาน ระดับจังหวัด (PASAT) ประกอบด้วย ทักษะการรู้หนังสือ (Literacy skill) ทักษะดิจิทัล (Digital skill) และอารมณ์และสังคม (Socio-emotional skill) ซึ่งได้มีการสำรวจภาพรวมในระดับประเทศ จากกลุ่มตัวอย่าง 9,800 คน บนพื้นที่ 15 จังหวัด โดยจากผลการสำรวจ พบว่า โดยสัดส่วนประชากรเยาวชนและผู้ใหญ่ (อายุ 15-64 ปี) จำนวนมากมีทักษะพื้นฐานชีวิตที่ ไม่เพียงพอ ทำให้เกิดต้นทุนทางเศรษฐกิจมหาศาลซึ่งมีมูลค่าถึง 3.3 ล้านล้านบาท (ร้อยละ 20 ของ GDP) ในปี พ.ศ. 2565
เป็นที่มาของโครงการสำรวจทักษะและความพร้อมเยาวชนและประชากรวัยแรงงาน ระดับจังหวัด (PASAT) โดยความร่วมมือของ ธนาคารโลก กสศ. และคณะทำงาน 3 จังหวัด ประกอบด้วย พะเยา ปัตตานี และระยอง ซึ่งเป็นตัวแทนของความหลากหลายในด้านภูมิภาค เศรษฐกิจ และสังคม
ธนาคารโลก (World Bank) ร่วมมือกับ กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.)มหาวิทยาลัยมหิดล (คณะทำงานกลาง) มหาวิทยาลัยพะเยา สำนักงานสถิติแห่งชาติ ร่วมจัดอบรมเชิงปฏิบัติการสำรวจทักษะพื้นฐานชีวิตในระดับจังหวัด (Master Trainer) วันระหว่างวันที่ 20-23 สิงหาคม 2567 ณ ห้องประชุม Venus1 อาคาร IMPACT Exhibition Center เพื่อเตรียมความพร้อมแก่ทีมสำรวจเกี่ยวกับข้อปฏิบัติการควบคุมคุณภาพ และการใช้แพลตฟอร์ม (Platform)สําหรับการจัดการข้อมูล รายงานความก้าวหน้าและการส่งมอบข้อมูลอย่างถูกต้องตามมาตราฐานธนาคารโลก โดยทีมสำรวจจะดําเนินการประเมินแบบสอบถามทักษะพื้นฐานชีวิต ในพื้นที่จังหวัดพะเยาระหว่างเดือนกันยายน 2567 ถึง เดือนมีนาคม 2568
หน่วยงานในมหาวิทยาลัยพะเยาที่เข้าร่วมในการสำรวจครั้งนี้ ได้แก่ สถาบันนวัตกรรมและถ่ายทอดเทคโนโลยี คณะศิลปศาสตร์ คณะบริหารธุรกิจและนิเทศศาสตร์ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร คณะวิทยาศาสตร์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ และวิทยาลัยการศึกษา นอกจากนี้ยังมี สำนักงานสถิติจังหวัดพะเยา บ้านพักเด็กและครอบครัวประจำจังหวัดพะเยา เทศบาลเมืองพะเยา และองค์การบริหารส่วนจังหวัดพะเยา ผลที่ได้จะทำให้เกิดการพัฒนาคนในจังหวัดพะเยา และพัฒนาเมือง อย่างยั่งยืน ด้วยความร่วมมือจากทุกภาคส่วน
#SDG11 #SDG17