ใครอยากฝึกงานที่ต้องใช้ภาษาอังกฤษ ลองมาอ่านตรงนี้: คู่มือฝึกงาน (ภาคเอกชน) ฉบับย่อ (2) Law Firm
หลังจากทำความรู้จักกับ “in-house” ในตอนที่เราจะมาให้ข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับการฝึกงานใน Law firm หรือสำนักงานกฎหมายสากลกันบ้าง เพราะมีนิสิตจำนวนไม่น้อยสนใจทำงานในสำนักงานกฎหมายที่มีโอกาสได้ใช้ทักษะภาษาอังกฤษ รวมถึงความรู้ด้านกฎหมายเฉพาะทางด้านใดด้านหนึ่งเป็นพิเศษ
ลอว์เฟิร์ม (law firm) คืออะไร
ลอว์เฟิร์ม (law firm) เป็นสำนักงานกฎหมายที่ให้คำปรึกษาและบริการด้านกฎหมาย แก่ลูกความซึ่ง โดยมากเป็นชาวต่างชาติ
ระบบการจัดการภายในของ law firm จะความแตกต่างจากสำนักงานกฎหมายทั่วไป คือ มีการแบ่งหน้าที่ในสำนักงานกฎหมายอย่างชัดเจน ประกอบด้วยส่วนของนักกฎหมาย ได้แก่ ผู้อำนวยการสำนักงานทนายความ ทนายความประจำสำนักงาน ผู้ช่วยทนายความ และส่วนของฝ่ายสนับสนุนในสำนักงานทนายความ เช่น เลขานุการ พนักงานบัญชี เสมียนทนาย เป็นต้น
ประเภทของ Law firm อาจจำแนก Law firm ออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ คือ
Law firm ที่บริการทางกฎหมายทั่วไปทุกกรณี: นิสิตที่ประสงค์จะเรียนรู้ระบบงานของสำนักงานกฎหมายในลักษณะนี้ในภาพรวม โดยไม่มุ่งเน้นการทำงานกฎหมายด้านใดด้านหนึ่งเป็นการเฉพาะสามารถเลือกสมัครไปฝึกงานในแหล่งฝึกที่ให้บริการทางกฎหมายทั่วไปได้
Law firm ที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะstrong>: ในกรณีที่นิสิต โดยเฉพาะนิสิตคู่ขนานที่ประสงค์จะฝึกงานในสาขาเฉพาะทาง หรือต้องการฝึกงานในแหล่งฝึกที่สามารถตอบโจทย์การฝึกงานทั้งสองสาขาวิชาของตนเอง เช่น กฎหมายกับบัญชี การสมัครไปฝึกงานใน law firm ที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะทางก็เป็นตัวเลือกที่ดี
ตัวอย่าง Law firm ที่ให้บริการทางกฎหมายทั่วไปทุกกรณี ไม่จำกัดความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน ในประเทศไทย ได้แก่
- Baker McKenzie
-
Tilleke & Gibbins
- Thanathip & Partners
-
Chandler MHM
-
Weerawong Chinnavat & Partners
-
LS Horizon
Rajah & Tann Asia
ตัวอย่าง Law firm ที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะในประเทศไทย เช่น มีความเชี่ยวชาญด้านกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา (IP Law) และภาษี (Tax)
ตัวอย่าง Law firm ที่มีความเชี่ยวชาญ IP LAW
- Domnern Somgiat & Boonma Law Office Ltd
- Tilleke & Gibbins (มีชื่อด้าน IP LAW เป็นการเฉพาะ แต่ให้บริการกฎหมายด้านอื่นด้วย)
- Ananda Intellectual Property
- zico law
ตัวอย่าง law firm ที่มีความเชี่ยวชาญด้านภาษีและบัญชี ที่มีชื่อซึ่งเรียกว่า BIG4
- PricewaterhouseCoopers (PwC)
- Ernst & Young (EY)
- Deloitte Touche Tohmatsu (Deloitte)
- KPMG
การเตรียมตัวไปฝึกงานใน law firm
1. เตรียมความพร้อมก่อนขอสมัครฝึกงาน: เนื่องจากเป็นภาคเอกชน นิสิตที่ประสงค์จะฝึกงานต้องหาข้อมูลในเบื้องต้นเกี่ยวกับช่วงเวลาที่ law firm เปิดรับสมัครนักศึกษาฝึกงาน หรือเขียนอีเมลสอบถามไปยังแหล่งฝึกที่สนใจ และจัดเตรียมเอกสารประกอบการยื่นขอฝึกงานให้พร้อม เช่น CV/resume และ cover letter เป็นต้น เนื่องจากนิสิตต้องเป็นผู้ติดต่อกับแหล่งฝึกเอกชนเองในเบื้องต้น
2. เตรียมความพร้อมด้านภาษาอังกฤษ: ถ้ามีผลคะแนนในการวัดระดับภาษาอังกฤษก็สามารถใช้ยื่นประกอบการสมัครได้ บาง law firm เช่น KPMG อาจมีการทดสอบความสามารถด้านภาษาอังกฤษก่อนการตัดสินใจรับเข้าฝึกงาน
3. ทักษะในการทำงานและคุณสมบัติในการทำงานที่ควรมี: ทักษะในการทำงานร่วมกับผู้อื่น ทักษะในการค้นคว้าและการนำเสนอรายงาน ทักษะการสื่อสารอย่างถูกต้องและเหมาะสมผ่านสื่อในรูปแบบต่าง ๆ บางสำนักงานกฎหมายที่รับนิสิตนักศึกษาฝึกงานเป็นประจำอยู่แล้ว อาจมีการมอบหมายให้นิสิตนักศึกษาทำโครงการก่อนสำเร็จการฝึกงานด้วย ดังนั้น ความกระตือรือร้นในการเรียนรู้สิ่งใหม่ และความกล้าที่จะทดลองทำในสิ่งที่ไม่เคยทำมาก่อนจึงเป็นคุณสมบัติอีกประการหนึ่งที่สำคัญ
บทความโดย อาจารย์อริย์ธัช บุญถึง
ฝ่ายคุณภาพนิสิต และฝ่ายนวัตกรรมการเรียนรู้และสื่อสารองค์กร คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา