อธิการบดีมหาวิทยาลัยพะเยาเฝ้ารับเสด็จสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในงานมหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ

12/8/2566 23:00:52น. 1602
อธิการบดีมหวิทยาลัยพะเยา เฝ้ารับเสด็จสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในงานมหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ Thailand Research Expo 2023
ธิการบดีมหาวิทยาลัยพะเยา เฝ้ารับเสด็จสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในงานมหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ Thailand Research Expo 2023


อธิการบดีมหาวิทยาลัยพะเยา รองศาสตราจารย์ ดร.สุภกร พงศบางโพธิ์ เข้าเฝ้ารับเสด็จฯ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในโอกาสเสด็จพระราชดำเนินเปิดมหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ Thailand Research Expo 2023 วันที่ 11 สิงหาคม 2566 ณ โรงแรมเซ็นทารา แกรนด์ และบางกอกคอนเวนชันเซ็นเตอร์ เซ็นทรัลเวิลด์ กรุงเทพฯ ทั้งนี้ ศาสตราจารย์ ดร.เสมอ ถาน้อย นำคณะนักวิจัยร่วมเข้าเฝ้ารับเสด็จฯ ด้วย โดยมหาวิทยาลัยพะเยาได้เข้าร่วมนำเสนอโครงการวิจัยพระพุทธปฏิมาศิลาทรายสกุลช่างพะเยากับการสร้างสรรค์สื่อเสมือนจริง จากคณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และโครงการวิจัยเพื่อพัฒนาฝ้ายท้องถิ่นภาคเหนือด้วยเศรษฐกิจสร้างสรรค์บนฐานวัฒนธรรมชุมชน โดยได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานภายนอก ได้แก่ องค์การบริหารส่วนจังหวัดพะเยา องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่ภาคเหนือ อาทิ เทศบาลตำบลเชียงม่วน เทศบาลตำบลหย่วน องค์การบริหารส่วนตำบลแม่นาเรือ เทศบาลเมืองเขลางค์นคร อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง เทศบาลตำบลบ่อแก้ว อ.นาหมื่น จังหวัดน่าน และ สมาคมวัฒนหัตถศิลป์ล้านนา โดยการวิจัยนี้เป็นการฟื้นฟูวัฒนธรรมฝ้ายหลวง (ฝ้ายยืนต้น) และค้นหาองค์ความรู้ด้านการผลิตหัตถกรรมจากฝ้ายท้องถิ่นบนฐานวัฒนธรรมชุมชนที่เป็นอัตลักษณ์ล้านนาแล้วนำมาสร้างให้เกิดเป็นพื้นที่เรียนรู้แบบ สร้างสรรค์ พร้อมกับส่งเสริมการปลูกฝ้ายหลวงในรูปแบบภูมิปัญญาดั้งเดิมเพื่อส่งเสริมให้เกิดเป็นพืชเศรษฐกิจในระดับชุมชนตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และสร้างเครือข่ายแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ตลอดจนสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชนล้านนาที่ยังคงใช้ฝ้ายในวิถีวัตนธรรมอย่างมากมายตลอดชั่วชีวิต อีกทั้งยังเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับหัตถกรรมฝ้ายในมิติเศรษฐกิจระดับครัวเรือนที่มุ่งพึ่งพาตนเอง ลดการใช้วัสดุนำเข้าหรือวัสดุสังเคราะห์พร้อมทั้งสร้างโอกาสในการเพิ่มมูลค่าในการผลิตสินค้าหัตถกรรมฝ้ายหลวงตลอดห่วงโซ่การผลิตด้วยการพัฒนานวัตกรรมและวัฒนธรรมสร้างสรรค์ถือเป็นการยกระดับผลิตภัณฑ์หรือบริการทางวัฒนธรรมของชุมชนไปสู่สากลต่อไป
 


 

facebooktwitterline

แท็กที่เกี่ยวข้อง

ภาพ :   คณะนักวิจัยโครงการวิจัยเพื่อพัฒนาฝ้ายท้องถิ่นภาคเหนือ ด้วยเศรษฐกิจสร้างสรรค์บนฐานวัฒนธรรมชุมชน   
ข้อมูล/ข่าว :    รัตนพงษ์ ธำรงทอง   
เพิ่มข่าวโดย :   rattanapong.tu@up.ac.th   
12/8/2566 23:00:52น. 1602
Print Friendly and PDF

ติดตามข่าวสาร มพ.


ติดตามข่าวสารผ่าน tiktok มพ.

@uptiktok2024

แอปพลิเคชั่น Smart UP

ดาวน์โหลดได้แล้ววันนี้

ข่าวที่มีผู้อ่านสูงสุด ย้อนหลัง 7 วัน