กองบริหารงานวิจัย ลงพื้นที่ติดตามความก้าวหน้า 6 เดือน โครงการ 1 คณะ 1 ชุมชนนวัตกรรม คณะรัฐศาสตร์และสังคมศาสตร์

27/7/2566 14:30:51น. 31271
มหาวิทยาลัยพะเยา
        วันที่ 7 กรกฎาคม 2566 กองบริหารงานวิจัย มหาวิทยาลัยพะเยา นำโดยผู้ช่วยอธิการบดี รองศาสตราจารย์ ดร.อัจฉราภรณ์ ดวงใจ ได้ลงพื้นที่ติดตามความก้าวหน้าระยะ 6 เดือนโครงการ 1 คณะ 1 ชุมชนนวัตกรรม ประจำปีงบประมาณ 2566 โครงการ การยกระดับผลิตภัณฑ์ผ่านกระบวนการพัฒนานวัตกรชุมชนด้านการตลาด บนฐานคิดการประสานความร่วมมือสู่ความยั่งยืน : กรณีศึกษา ผลิตภัณฑ์ผ้าพิมพ์รักษ์โลก ตำบลพระธาตุขิงแกง อำเภอจุน จังหวัดพะเยา โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์วรรณภา ทองแดง คณะรัฐศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา เป็นหัวหน้าโครงการ ดำเนินงานในพื้นที่ตำบลพระธาตุขิงแกง อำเภอจุน จังหวัดพะเยา
        คณะรัฐศาสตร์และสังคมศาสตร์ ดำเนินโครงการ การยกระดับผลิตภัณฑ์ผ่านกระบวนการพัฒนานวัตกรชุมชนด้านการตลาด บนฐานคิดการประสานความร่วมมือสู่ความยั่งยืน : กรณีศึกษา ผลิตภัณฑ์ผ้าพิมพ์รักษ์โลก ตำบลพระธาตุขิงแกง อำเภอจุน จังหวัดพะเยา โดยมี ผลิตภัณฑ์ "ผ้าพิมพ์รักษ์โลก" หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า "ผ้าพิมพ์ใบไม้จากธรรมชาติ" เป็นผลงานของกลุ่มชาวบ้านในตำบลพระธาตุขิงแกง อำเภอจุน จังหวัดพะเยา โดยจุดเริ่มต้นของผลิตภัณฑ์ผ้าพิมพ์รักษ์โลก เกิดจากการที่ชาวบ้านส่วนใหญ่ในตำบลประกอบอาชีพเกษตรกรเป็นหลัก ซึ่งเมื่อว่างเว้นจากฤดูกาลทำนา จึงไม่มีรายได้ในช่วงดังกล่าว และส่งผลทำให้มีรายได้ที่ไม่เพียงพอกับรายจ่าย ด้วยเหตุนี้ กลุ่มชาวบ้านจึงพยายามช่วยกันคิดและหาหนทางที่จะสร้างรายได้เพิ่ม จึงมองหาอาชีพเสริมอื่นๆ ที่พอจะทำได้ ซึ่งอย่างน้อยที่สุดเมื่อมีรายได้เพิ่มขึ้น ก็จะช่วยเหลือทั้งตนเองและครอบครัวได้ กระทั่งกลุ่มชาวบ้านได้สรุปแนวทางว่า ต้องการผลิตผ้าพิมพ์ใบไม้โดยใช้วัสดุจากธรรมชาติ เพราะมีต้นทุนในการผลิตต่ำ อีกทั้งยังสามารถหาวัตถุดิบ จำพวกใบไม้ ใบหญ้าต่างๆ ได้รอบตัวภายในชุมชนท้องถิ่น โดยในช่วงแรกที่ชาวบ้านได้ทดลองผลิตผ้าพิมพ์ใบไม้นั้น ปรากฎว่าได้ผลตอบรับจากลูกค้าและผู้ที่สนใจอย่างมาก จึงทำให้ชาวบ้านเริ่มเล็งเห็นโอกาสที่จะขยายฐานการผลิต โดยได้พยายามรวมกลุ่มกันให้เหนียวแน่นแล้วร่วมกันผลิตผ้าพิมพ์ใบไม้จากธรรมชาติอย่างจริงจังมากขึ้น ทั้งนี้ผลิตภัณฑ์ผ้าพิมพ์รักษ์โลกส่วนมากนิยมผลิตเป็นผ้าพื้นเพื่อนำไปตัดเย็บเสื้อผ้า ผ้าคลุมไหล่ และผ้าพันคอ เป็นอาทิ ต่อมาชาวบ้านได้ทดลองและพัฒนาผลิตภัณฑ์เพิ่มเติม จึงทำให้ได้ผลิตภัณฑ์ชิ้นใหม่ ๆ เช่น หมวกและกระเป๋า ออกมาตามลำดับ และในช่วงเวลาเดียวกันนั้นเอง นับว่าเป็นโอกาสอันดียิ่งที่กลุ่มผลิตภัณฑ์ผ้าพิมพ์รักษ์โลก






ได้รับความช่วยเหลือจากนวัตกรชุมชนดีเด่น ประจำปี 2564 นั่นคือ คุณเอกรินทร์ ลัทธศักย์ศิริ ประธานวิสาหกิจชุมชนแม่อิงชิโบริ ตำบลแม่อิง อำเภอภูกามยาว จังหวัดพะเยา ซึ่งได้ให้ความช่วยเหลือและเป็นที่ปรึกษาด้านการพัฒนาและยกระดับผ้าพิมพ์ใบไม้ โดยได้เชิญชวนให้กลุ่มผลิตภัณฑ์ผ้าพิมพ์รักษ์โลก ตำบลพระธาตุขิงแกง อำเภอจุน จังหวัดพะเยา เข้าร่วมเป็นภาคีเครือข่ายและดำเนินการวิจัยเชิงปฏิบัติการอย่างมีส่วนร่วมภายใต้ "โครงการนวัตกรรมกระบวนการเพื่อยกระดับตราสัญลักษณ์และบรรจุภัณฑ์ผ้ามัดย้อมแม่อิงชิโบริผ่านกระบวนการพัฒนานวัตกรชุมชนบนฐานการคิดเชิงออกแบบ" ของคณะรัฐศาสตร์และสังคมศาสตร์ประจำปีงบประมาณ 2565 ดังนั้น กลุ่มผลิตภัณฑ์ผ้าพิมพ์รักษ์โลก จึงได้ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับการนวัตกรรมกระบวนการเพื่อยกระดับตราสัญลักษณ์และบรรจุภัณฑ์ ผ่านกรณีตัวอย่างของ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนผ้ามัดย้อมแม่อิงชิโบริ ตลอดระยะเวลาโครงการวิจัยของคณะรัฐศาสตร์และสังคมศาสตร์ ในปังบประมาณ 2565และในอีกแง่หนึ่งคือ การที่กลุ่มวิสาหกิจชุมชนผ้ามัดย้อมแม่อิงชิโบริ มีความแข็งแกร่ง สามารถระดมสรรพกำลังจากภาคส่วนต่างๆ ทั้งหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคมได้ กระทั่งประธานวิสาหกิจชุมชนแม่อิงชิโบริ ได้รับรางวัลนวัตกรชุมชนดีเด่น ประจำปี 2564 อันเป็นผลสืบเนื่องกับ การดำเนินโครงการ 1 คณะ 1 ชุมชนนวัตกรรม ของคณะรัฐศาสตร์และสังคมศาสตร์ ในปีงบประมาณ 2564 นั่นเอง ดังนั้น จะเห็นได้ว่ากระบวนการเรียนรู้ พัฒนา และถ่ายทอดงานด้านชุมชนเพื่อพัฒนาและยกระดับผลิตภัณฑ์ชุมชน ผ่านโครงการ 1 คณะ 1 ชุมชนนวัตกรรม มาตั้งแต่ปี พ.ศ.2564 เป็นต้นทุนสำคัญของการพัฒนาภาคประชาสังคมให้เข้มแข็ง จากแกนนำชุมชนกลุ่มหนึ่งไปยังอีกกลุ่มหนึ่ง ณ ที่นี้ คือ จากแกนนำกลุ่มผ้ามัดย้อมแม่อิงชิโบริ ไปยังกลุ่มผ้าพิมพ์รักษ์โลก
       


จากความมุ่งมั่นตั้งใจทั้งจากฝ่ายชุมชน ไม่ว่าจะเป็น ชุมชนแม่อิง และชุมชนพระธาตุขิงแกง ที่มีความยินดีร่วมเป็นฟันเฟืองสำคัญในภาคประชาชนผ่านโครงการ 1 คณะ 1 ชุมชนนวัตกรรม ร่วมกับคณะรัฐศาสตร์และสังคมศาสตร์ เป็นปีที่ 3 จึงนำมาสู่การดำเนินโครงการ "การยกระดับผลิตภัณฑ์ผ่านกระบวนการพัฒนานวัตกรชุมชนด้านการตลาด บนฐานคิดการประสานความร่วมมือสู่ความยั่งยืน : กรณีศึกษา ผลิตภัณฑ์ผ้าพิมพ์รักษ์โลก ตำบลพระธาตุขิงแกง อำเภอจุน จังหวัดพะเยา" ประจำปีงบประมาณ 2566 ขึ้นในครั้งนี้ ซึ่งมีวัตถุประสงค์ในการดำเนินโครงการ เพื่อ
(1) ยกระดับผลิตภัณฑ์ผ้าพิมพ์รักษ์โลกผ่านกระบวนการพัฒนานวัตกรชุมชนด้านการตลาด บนฐานคิดการประสานความร่วมมือสู่ความยั่งยืน

(2) สร้างรายได้ให้แก่ชุมชนที่อาศัยการพัฒนาช่องทางการตลาดผลิตภัณฑ์ผ้าพิมพ์รักษ์โลก

(3) จะพัฒนารูปแบบการพัฒนาเชิงนวัตกรรมและการเรียนรู้ (Learning and Innovation Platform)
ผ่านกระบวนการพัฒนานวัตกรชุมชนด้านการตลาด โดยมุ่งเน้นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research: PAR) เพื่อแสวงหาความรู้ ความจริงที่ถูกต้อง เชื่อถือได้ และตรวจสอบได้ โดยวิธีการทางวิทยาศาสตร์
ซึ่งมีกลุ่มผลิตภัณฑ์ผ้าพิมพ์รักษ์โลก ตำบลพระธาตุขิงแกง อำเภอจุน จังหวัดพะเยา เข้ามาร่วมเรียนรู้เพื่อรู้จักตัวเอง ชุมชน สิ่งแวดล้อมให้เห็นปัญหาของตัวเองและเห็นทางแก้หรือทางออกจากปัญหาโดยลงมือปฏิบัติจริงได้ผลจริงแก้ปัญหาได้จริง


  

facebooktwitterline

แท็กที่เกี่ยวข้อง

ภาพ :   ธนภัทร นวลศรี   
ข้อมูล/ข่าว :    ธนภัทร นวลศรี   
เพิ่มข่าวโดย :   dennapa.pa@up.ac.th   
27/7/2566 14:30:51น. 31271
Print Friendly and PDF

ติดตามข่าวสาร มพ.


ติดตามข่าวสารผ่าน tiktok มพ.

@uptiktok2024

แอปพลิเคชั่น Smart UP

ดาวน์โหลดได้แล้ววันนี้

ข่าวที่มีผู้อ่านสูงสุด ย้อนหลัง 7 วัน