เกษตรศาสตร์ฯ ม.พะเยา มุ่งพัฒนาการเกษตร เพื่อความเข้มแข็งของชุมชน สู่สากล อย่างยั่งยืน

12/7/2566 16:16:50น. 1170
คณบดีคณะเกษตรศาสตร์และทรัพยากรธรรมชาติ

           วันพุธที่ 12 กรกฎาคม 2566 คณบดีคณะเกษตรศาสตร์และทรัพยากรธรรมชาติ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วิพรพรรณ์ เนื่องเม็ก พร้อมด้วยบุคลากร ต้อนรับอธิการบดีมหาวิทยาลัยพะเยา รองศาสตราจารย์ ดร.สุภกร พงศบางโพธิ์ พร้อมด้วยผู้บริหารภายใต้กิจกรรม“สภากาแฟสัญจร” โดยวันนี้คณะเกษตรศาสตร์และทรัพยากรธรรมชาติ เป็นเจ้าภาพจัดสภากาแฟสัญจร เพื่อติดตามการดำเนินงานปีที่ผ่านมา การดำเนินงานที่โดดเด่น รวมถึงนโยบายทิศทางการดำเนินงานในอนาคต พร้อมรับฟังข้อเสนอแนะ ณ ห้องประชุม คณะเกษตรศาสตร์และทรัพยากรธรรมชาติ


          คณบดีคณะเกษตรศาสตร์และทรัพยากรธรรมชาติ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วิพรพรรณ์ เนื่องเม็ก นำเสนอการดำเนินงานของคณะ โดยจัดการเรียนการสอนระดับปริญญาตรี ปริญญาตรีควบปริญญาโท ปริญญาเอก และ หลักสูตรประกาศนียบัตร (Non-degree) ที่มีความโดดเด่น 5 หลักสูตร Non-degree คือ
      - นักเทคโนโลยีและนวัตกรรมการจัดการเกษตรสู่ Smart farming
      - นักแปรรูปเนื้อสัตว์อัจฉริยะ (Smart Meat Processors)
      - ธุรกิจปลาสวยงามออนไลน์แบบครบวงจรด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่
      - เทคโนโลยีการผลิตเห็ดเศรษฐกิจอัจฉริยะ (Smart economy mushroom production technology)
      - นวัตกรรมการจัดการจุลินทรีย์เพื่อการเกษตรสมัยใหม่
ซึ่งได้รับความสนใจจากเกษตรกร หรือประชาชนที่ต้องการมีความรู้เฉพาะด้านการเกษตร สามารถนำไปต่อยอดกิจการหรือสร้างอาชีพใหม่ด้านการเกษตร เป็นนวัตกรรุ่นใหม่สร้างรายได้ให้กับครอบครัว และเพื่อเป็นการตอกย้ำว่า เกษตรศาสตร์มหาวิทยาลัยพะเยา มุ่งพัฒนาความรู้ เคียงคู่ชุมชน สู่ความยั่งยืน คณะเกษตรศาสตร์และทรัพยากรธรรมชาติ ได้ช่วยพัฒนาเกษตรนวัตกรรมให้มีมูลค่าสูง ด้วยการ“ยกระดับลิ้นจี่แม่ใจ IG พะเยาตลอดห่วงโซ่คุณค่า” การแปรรูปลิ้นจี่ ด้วยแนวคิด ลิ้นจี่นอกจากจะใช้รับประทานสดได้แล้ว ยังสามารถนำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆได้ อาทิ ชาลิ้นจี่ ครีมลิ้นจี่ เป็นต้น โดยสามารถดำเนินการ คือ แสวงหาตลาดสำหรับลิ้นจี่พรีเมียมคุณภาพสูง สร้างเครือข่ายผู้ประกอบการแปรรูปพัฒนาช่องทางการตลาดออนไลน์ออฟไลน์ และตลาดรูปแบบใหม่หรือ การพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงเกษตร



           การพัฒนาองค์ความรู้ด้านวิชาการสู่ด้านวิชาชีพ คณะเกษตรศาสตร์และทรัพยากรธรรมชาติ ได้ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆ อาทิ สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ กระทรวงวิทยาศาสตร์ สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ สภาเกษตรกรแห่งชาติ บริษัท คูโบต้าพะเยา จำกัด ฟาร์มปลากัดลุงโก้ และสุโขทัยฟิชฟาร์ม

          ปัจจุบันทางคณะเกษตรศาสตร์ฯ ได้ดำเนินการแผนพัฒนาศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง มหาวิทยาลัยพะเยา เพื่อเป็นศูนย์การเรียนรู้ที่รองรับการเรียนการสอนนิสิตให้มีทักษะในการปฏิบัติงานด้านอาหารและการเกษตรอย่างเต็มรูปแบบ สร้างแรงบันดาลใจให้นิสิตมีความเป็นผู้ประกอบการ รวมถึงการสร้างรายได้ที่สามารถนำมาพัฒนาศูนย์ฯ ให้เติบโตและดำเนินกิจกรรมได้อย่างต่อเนื่อง โดยมีแนวทางเพิ่มขีดความสามารถในการบริการวิชาการของศูนย์ในด้านการเป็น learning space แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร แหล่งศึกษาดูงาน แหล่งจัดหารายได้ และพื้นที่ต้นแบบเกษตรกรรมยั่งยืน พัฒนาและบริหารจัดการพื้นที่ ที่สามารถรองรับการสร้างงานวิจัยที่ช่วยพัฒนาองค์ความรู้ด้านอาหารและการเกษตรเพื่อชุมชนอย่างยั่งยืน

 


      

facebooktwitterline

แท็กที่เกี่ยวข้อง

ภาพ :   ปราการ บุญมาวงค์ งานสื่อสารองค์กร   
ข้อมูล/ข่าว :    ธิดาเดือน อุตยานะ งานสื่อสารองค์กร   
เพิ่มข่าวโดย :   tidaduen.ut@up.ac.th   
12/7/2566 16:16:50น. 1170
Print Friendly and PDF

ติดตามข่าวสาร มพ.


ติดตามข่าวสารผ่าน tiktok มพ.

@uptiktok2024

แอปพลิเคชั่น Smart UP

ดาวน์โหลดได้แล้ววันนี้

ข่าวที่มีผู้อ่านสูงสุด ย้อนหลัง 7 วัน