วันที่ 7 กันยายน 2565 กองบริหารงานวิจัย มหาวิทยาลัยพะเยา โดย ศาสตราจารย์ ดร.เสมอ ถาน้อย รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม จัดกิจกรรม Pitching การประกวดรางวัลสนับสนุนพื้นที่การเรียนรู้ Learning Space 2022 ซึ่งกิจกรรมนี้จะเป็นแรงกระตุ้นให้แต่ละพื้นที่การเรียนรู้ มุ่งขับเคลื่อนและเสริมแนวคิดการใช้พื้นที่การเรียนรู้ เพื่อพัฒนาความรู้ พัฒนาทักษะ ให้เกิดเป็นผลการดำเนินงานที่เป็นรูปธรรมอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน
โดยกิจกรรมดังกล่าวได้รับเกียรติจาก รองศาสตราจารย์ ดร.สุภกร พงศบางโพธิ์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยพะเยา เป็นประธานกล่าวเปิดงาน การประกวดรางวัลสนับสนุนพื้นที่การเรียนรู้ Learning Space 2022 ณ เรือนเอื้องคำ มหาวิทยาลัยพะเยา
การสร้างพื้นที่การเรียนรู้ Learning Space 2022 เป็นหนึ่งในเป้าหมายของมหาวิทยาลัย ที่จะช่วยสร้างให้เกิดการเรียนรู้แก่คนทุกระดับ ทั้งบุคลากรของมหาวิทยาลัย นิสิต นักเรียน รวมถึงประชาชน ในการใช้พื้นที่การเรียนรู้ เพื่อพัฒนาความรู้ พัฒนาทักษะ และสามารถนำความรู้หรือทักษะไปประยุกต์ใช้เพื่อยกระดับการศึกษา การสร้างรายได้ การส่งเสริมสุขภาวะที่ดี และบรรเทาปัญหาความเดือดร้อนของชุมชนและสังคมที่เกิดขึ้น ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น สังคมมีความเข้มแข็ง มั่นคง หลุดพ้นจากความแตกต่างและเหลื่อมล้ำ เกิดสังคมแห่งความสุข
ในครั้งนี้ มีพื้นที่การเรียนรู้ส่งเข้าร่วมประกวดทั้งสิ้น 12 พื้นที่การเรียนรู้ ซึ่งรางวัลที่มอบให้ทุกทีมที่เข้าร่วมกิจกรรมเป็นโล่พร้อมเงินรางวัลทั้งหมด 4 ระดับ คือ ระดับ Bronze ระดับ Silver ระดับ Gold และระดับ Platinum กิจกรรมที่ได้รับรางวัลแบ่งตามระดับมีดังต่อไปนี้
รางวัลระดับ Platinum
1. พื้นที่การเรียนรูู้ภาษาอังกฤษของศูนย์การเรียนอินทรีอาสา (บ้านห้วยปุ้ม) : คณะศิลปศาสตร์
รางวัลระดับ Gold
1. ศูนย์วิจัยและบริการวิชาการวิศวกรรม : คณะวิศวกรรมศาสตร์
2. ศูนย์เศรษฐกิจพอเพียง มหาวิทยาลัยพะเยา : คณะเกษตรศาสตร์และทรัพยากรธรรมชาติ
3. ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง บ้านแม่กาท่าข้าม บ้านสวนซะป๊ะพะเยา : คณะเกษตรศาสตร์และทรัพยากรธรรมชาติ
รางวัลระดับ Silver
1. ศูนย์การเรียนรู้วัฒนธรรมและภูมิปัญญาตำบลดอกคำใต้ : คณะบริหารธุรกิจและนิเทศศาสตร์
2. Mae Ing Shibori Learning Space of Natural dye (แม่อิงชิโบริศูนย์การเรียนรู้แห่งสีย้อมธรรมชาติ) : คณะวิทยาศาสตร์
3. ครูต้นแบบการใช้นวัตกรรมการสอนภาษาอังกฤษเพื่อลดความเลื่อมล้ำทางการศึกษาของนักเรียนชาติพันธุ์ Prototype Teachers of English Instructional Innovation for Minimizing Educational Inequality of Ethnic Students : คณะศิลปศาสตร์
4. ชุมชนท่องเที่ยวอีสานล้านนา : คณะบริหารธุรกิจและนิเทศศาสตร์
5. พื้นที่เรียนรู้ด้านการออกแบบ สร้างสรรค์อัตลักษณ์ผลิตภัณฑ์ และบรรจุภัณฑ์โดยศูนย์ออกแบบนวัตกรรม (UP Innovation Design Center) : สถาบันนวัตกรรมและถ่ายทอดเทคโนโลยี
6. คลินิกกฎหมาย : คณะนิติศาสตร์
รางวัลระดับ Bronze
1. ศูนย์การเรียนรู้เกษตรอินทรีย์ กลุ่มวิสาหกิจวิถีเกษตร : คณะนิติศาสตร์
2. ศูนย์การเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านสมุนไพรไทยล้านนา : วิทยาลัยการศึกษา
โดยผลการพิจารณารางวัล ได้รับเกียรติจากกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ดังนี้
1.ศาสตราจารย์ ดร.เสมอ ถาน้อย รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม
2.รองศาสตราจารย์ ดร.พีรเดช ทองอำไพ ผู้อำนวยการสถาบันคลังสมองของชาติ สถาบันคลังสมองของชาติ
3.ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชลธิดา เทพหินลัพ รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการและประกันคุณภาพ
4.ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.น้ำเงิน จันทรมณี ผู้อำนวยการสถาบันนวัตกรรมการเรียนรู้
5.นางสาวเบญจมาศ ตีระมาศวณิช นักวิชาการอิสระ
6.รองศาสตราจารย์ ดร.ผณิณทรา ธีรานนท์ ผู้ช่วยอธิการบดี
7.นางสาวอัญชลี เทียมคีรี ผู้อำนวยการกองบริหารงานวิจัย