บทบาทและการสร้างจุดยืนในมหาวิทยาลัยพะเยา ภายใต้บริบทของความเท่าเทียม

13/9/2565 10:35:13น. 1928
บทบาทและการสร้างจุดยืนในมหาวิทยาลัยพะเยา ภายใต้บริบทของความเท่าเทียม

         “การพัฒนาที่ยั่งยืน” หรือ Sustainable Development Goals (SDGs) เป็นเป้าหมายการพัฒนาที่ทั่วโลก ใน 17 เป้าหมาย รวมถึงประเทศไทยให้ความสำคัญมากขึ้นและถูกใช้เป็นฐานการกำหนดนโยบายของประเทศและองค์กร และมหาวิทยาลัยพะเยาได้เข้าร่วมการจัดอันดับ THE Impact Ranking วันนี้หนึ่งในผู้ขับเคลื่อนการทำงานด้านสายบริการ ขอหยิบยกเรื่องราวที่ถือเป็นความภาคภูมิใจ และขับเคลื่อนการทำงานของมหาวิทาลัยของ SDG 5 ความเท่าเทียมมาเล่าสู่กันฟัง ในฐานะความเท่าเทียมที่มหาวิทยาลัยพะเยาให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก


บทบาทและการสร้างจุดยืนในมหาวิทยาลัยพะเยา ภายใต้บริบทของความเท่าเทียม
บทบาทและการสร้างจุดยืนในมหาวิทยาลัยพะเยา ภายใต้บริบทของความเท่าเทียม


        มหาวิทยาลัยพะเยาเปิดโอกาสที่จะให้นิสิต บุคลากร แสดงจุดยืนที่ชัดเจน ในเรื่องของความเท่าเทียม ไม่ว่าจะเพศไหน การให้เกียรติซึ่งกันและกัน ถือเป็นโจทย์สำคัญที่เราจะขับเคลื่อนการทำงาน โดยที่ผ่านมหาวิทยาลัยพะเยา เปิดโอกาสให้นิสิต รวมถึงบุคลากรได้แสดงจุดยืนในกิจกรรม “UP PRIDE & PROUD 2022 พหุ – สุนทรีย์ – ดนตรี – เท่าเทียม” เพื่อเป็นการสนับสนุนความเท่าเทียม และความหลากหลายทางเพศ ภายในงานมีกิจกรรมขบวนพาเหรด การแสดงจาก SAFA PRIDE SHOW และกิจกรรมเสวนาในหัวข้อ “เท่าเทียม = ยั่งยืน” สิ่งเหล่านี้แสดงให้เห็น ถึงการขับเคลื่อนให้มีการยอมรับในกลุ่ม LGBTQ+


          โดยเป็นการแสดงออกถึงความต้องการสิทธิความเท่าเทียมกันในสังคม โดยได้ถือเอาเดือนมิถุนายนของทุกปีให้เป็น Pride Month ในหลายประเทศ ซึ่งจัดให้มีการเดินพาเหรด หรือ Pride Parade ไปในเมืองสำคัญ เพื่อเป็นการแสดงออกเชิงสัญลักษณ์ในการยอมรับและการให้ความสำคัญ บ่งบอกถึงความภาคภูมิใจของกลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศในมหาวิทยาลัยพะเยา


บทบาทและการสร้างจุดยืนในมหาวิทยาลัยพะเยา ภายใต้บริบทของความเท่าเทียม


         จากข้อมูลสถิติของกองบริหารงานวิจัย SDG5 มาตรการการเข้าถึงของนิสิต โดยเฉพาะ มหาวิทยาลัยพะเยา มหาวิทยาลัยที่จัดตั้งขึ้นเพื่อกระจายโอกาสและสร้างความเสมอภาคทางการศึกษา ให้กับประชาชน โดยมีการรับสมัครนิสิตที่ไม่จำกัดเพศ ภูมิภาค ชนชาติ ทั้ง 18 คณะ ในปีที่ผ่านมามีอัตราการรับนิสิตหญิงร้อยละ 67 ของนิสิตที่รับเข้า และอัตราการสำเร็จการศึกษาของนิสิตหญิงร้อยละ 66 ของผู้สำเร็จการศึกษา ตลอดจนสนับสนุนและเปิดโอกาสให้ผู้ที่อยู่ในพื้นที่ห่างไกล ได้มีโอกาสเรียนในวิชาชีพเฉพาะด้าน และเพื่อตอบสนองนโยบายรัฐบาลในการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงสนับสนุนนักศึกษาที่กําลังศึกษาชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ให้มีโอกาสเรียนในระดับมหาวิทยาลัย


บทบาทและการสร้างจุดยืนในมหาวิทยาลัยพะเยา ภายใต้บริบทของความเท่าเทียม


          ท้ายบทความ ขอขอบพระคุณ และชื่นชมทีมผู้บริหารมหาวิทยาลัยพะเยา โดยการนำของท่านอธิการบดีมหาวิทยาลัยพะเยา รองศาสตราจารย์ ดร.สุภกร พงศบางโพธิ์ นักบริหารผู้หญิง ที่แสดงให้เห็นถึงพลังอันยิ่งใหญ่ในการบริหารงาน และสอดคล้องกับหลักของ SDG5 โดยการสร้างหลักประกันว่าผู้หญิงจะมีส่วนร่วมอย่างเต็มที่และมีประสิทธิผลและมีโอกาสที่เท่าเทียมในการเป็นผู้นำในทุกระดับของการตัดสินใจในทางการเมือง เศรษฐกิจ และภาคสาธารณะ เมื่อเชื่อมโยงเข้ากับมหาวิทยาลัยพะเยาและผู้บริหารมหาวิทยาลัยพะเยา


รองศาสตราจารย์ ดร.สุภกร พงศบางโพธิ์ นักบริหารผู้หญิง
รองศาสตราจารย์ ดร.สุภกร พงศบางโพธิ์ นักบริหารผู้หญิง


         พร้อมเปิดโอกาสให้นิสิต บุคลากร แสดงจุดยืนในความเท่าเทียมทางเพศ ส่งเสริมให้นิสิต ตลอดจนบุคลากร มีสวัสดิการที่ดีในมหาวิทยาลัยพะเยา ตลอดจนการแสดงความคิดเห็นอย่างสร้างสรรค์ของนิสิต พร้อมด้วยการบริหารที่ทันสมัย ตอบโจทย์กับวิสัยทัศน์ในการพัฒนามหาวิทยาลัยพะเยา พร้อมส่งเสริมด้านวิจัยนวัตกรรม สู่ความยั่งยืนอย่างเห็นได้ชัดเจน

บทความโดย : นายจริเมศน์ ไพฑูรย์ เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป (งานนโยบายและแผน) คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา





facebooktwitterline

แท็กที่เกี่ยวข้อง

ภาพ :      
ข้อมูล/ข่าว :      
เพิ่มข่าวโดย :   nantawat.mu@up.ac.th   
13/9/2565 10:35:13น. 1928
Print Friendly and PDF

ติดตามข่าวสาร มพ.


ติดตามข่าวสารผ่าน tiktok มพ.

@uptiktok2023

แอปพลิเคชั่น Smart UP

ดาวน์โหลดได้แล้ววันนี้


ข่าวที่มีผู้อ่านสูงสุด ย้อนหลัง 7 วัน