โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ (1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย) มหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศในระยะที่ 1 (U2T) คณะบริหารธุรกิจและนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา สำเร็จเสร็จสิ้นภาระกิจสุดท้ายด้วยการ Up-Skill และ Re-skill ผู้ถูกจ้างงาน ว่าด้วยเรื่อง “Storytelling เล่าเรื่องผลิตภัณฑ์ ให้ปังโดนใจ” ภายใต้แนวคิดที่ว่า...
“ทุกชุมชนมีเรื่องเล่าและเรื่องเล่าจะมีพลังก็ต่อเมื่อคนในชุมชนลุกขึ้นมาเล่าเรื่องของตนเอง”
ผลผลิตที่ได้จากการอบรมครั้งในนั้น มิได้มีเพียงสื่อหลากรูปแบบที่ไปโลดแล่นอยู่บน Platform ต่าง ๆ เพื่อสื่อสารการตลาดผลิตภัณฑ์ต้นแบบของทั้ง 3 ตำบล ที่ทางคณะฯ ดูแลรับผิดชอบเท่านั้น แต่มุมองและวิธีคิดของผู้ถูกจ้างที่มีต่อผู้คนและชุมชนเกิดการเปลี่ยนแปลงตามไปด้วย เนื่องจากกลวิธีในการสืบเสาะแสวงหา “เรื่องเล่า”ผลิตภัณฑ์ต้นแบบนั้นต้องอาศัยการสื่อสารกับคน, กลุ่มคนผู้เป็นเจ้าของผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการส่งเสริมให้เป็นผลิตภัณฑ์ต้นแบบอย่างเข้าอกเข้าใจ ก่อน “เล่าเรื่อง” ผลิตภัณฑ์ต้นแบบโดยการสร้างสรรค์ออกมาในรูปแบบสื่อต่าง ๆ เพื่อสื่อสารและสร้างความทรงจำให้กับกลุ่มผู้บริโภคสินค้าเป้าหมาย กระตุ้นให้เกิดการซื้อ-ขายและความผูกพันต่อผลิตภัณฑ์ต้นแบบมากยิ่งขึ้น
การลงพื้นที่เยี่ยมกลุ่มผลิตธูปไล่ยุงตะไคร้หอม บ้านห้วยสาน หมู่ 4 ตำบลภูซาง แบรนด์ หนานทน
Storytelling ที่ถูกนำมาใช้เป็นส่วนหนึ่งของกลยุทธ์ทางการตลาดไม่ใช่เรื่องใหม่ เพราะถ้าเราพิจาณาหนัง ละคร ซีรีย์ หรือสารคดีที่เราดู ๆ กันทุกวันนี้ ต่างก็ใช้เทคนิคการเล่าเรื่องแทบทั้งสิ้น และเมื่อถูกนำมาใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางการตลาด หน้าที่ของการเล่าเรื่องจึงมีมากกว่าการบอกให้ผู้บริโภครู้ว่ามีสินค้าประเภทนี้จำหน่ายในท้องตลาด ราคา สถานที่จัดจำหน่าย และมีการส่งเสริมทางการตลาดหรือไม่ แต่การเล่าเรื่องสินค้าและบริการต้องสามารถสร้างประสบการณ์และสร้างความทรงจำให้เพื่อผู้บริโภคเกิดความรู้สึกอย่างใดอย่างหนึ่ง และเมื่อผู้บริโภคต้องการซื้อสินค้าและบริการก็จะนึกถึงสินค้าและบริการของเราเป็นอันดับแรก
การพัฒนาโลโก้จากสินค้าต้นแบบชิ้นแรกของกลุ่มจักรสานหญ้าแฝก บ้านดอนไชย หมู่ 11 ตำบลเชียงแรง
แบรนด์ ดอนจัย โดนใจ๋
ดังนั้น การเล่าเรื่องผลิตภัณฑ์ต้นแบบจึงต้องมองลึกลงไปถึงการวาง position ของสินค้าในตลาด และการกำหนดกลุ่มผู้บริโภคที่ชัดเจนซึ่งนำไปสู่การกำหนดราคา สถานที่จัดจำหนาย การส่งเสริมการตลาด การสร้างสรรค์สื่อในทุกขั้นตอน รวมไปถีงการเลือกช่องทางการสื่อสารเรื่องเล่าไปสู่ผู้บริโภคเป้าหมาย ซึ่งหมดนี้ล้วนต้องอาศัยความร่วมมือจากผู้มีประสบการณ์ด้านต่าง ๆ ทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัยร่วมแบ่งปันความรู้และประสบการณ์ เพื่อแน่ใจว่าเรื่องเล่าผลิตภัณฑ์ต้นแบบซึ่งเป็นความภาคภูมิใจของคนในชุมชนนี้ จะถูกถ่ายทอดออกไปอย่างมีพลัง และนำมาซึ่งผลประโยชน์ที่ชุมชนจะได้รับอย่างสูงสุด
การอบรมเชิงปฏิบัติการ หัวข้อการใช้ภาษาไทยในเรื่องเล่าให้โดนใจ โดยคุณอุเทน มหามิตร
ศิลปินศิลปาธร สาขาวรรณศิลป์ พ.ศ. 2563
เรื่องเล่าและการเล่าเรื่องผลิตภัณฑ์ต้นแบบโดยผู้ถูกจ้างและการหนุนเสริมให้คนในชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมเล่าเรื่องราวของพวกเขาด้วยตนเองในโครงการ "ขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG (U2T for BCG)" คณะบริหารธุรกิจและนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา กำลังเดินหน้าต่อไป พร้อมความ ท้าทายใหม่ ๆ ที่กำลังจะมา เพราะถ้าชุมชนสามารถเล่าเรื่องตนเองได้แล้ว ไฉนเลยจะไม่ยกระดับนำเทคนิค “การเล่าเรื่องข้ามสื่อ” (Transmedia Storytelling) มาช่วยส่งเสริมสนับสนุนให้ผลิตภัณฑ์ต้นแบบมีมูลค่าเพิ่มสูงขึ้น สร้างรายได้ให้ชุมชน ตามโมเดลเศรษฐกิจสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน BCG Economy ซึ่งเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศไทยให้เติบโตอย่างมั่นคงต่อไป
ข้อมูลโดย : อ. สุพรรณี เบอร์แนล
สาขาวิชาการสื่อสารสื่อใหม่