วันที่ 2 ตุลาคม 2567 คลินิกกฎหมาย คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา เข้าร่วมประชุมแนวทางการปฏิบัติงาน เพื่อจ่ายเงินช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยในช่วงฤดูฝน ปี2567 (ตั้งแต่ 20 พฤษภาคม 2567) ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 17 กันยายน 2567 ณ ห้องประชุมกองอำนวยการป้องกันและเบาเทาสาธารณะภัย เทศบาลตำบลแม่กา อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา เพื่อสร้างความเข้าใจในเรื่องของหลักเกณฑ์การช่วยเหลือ จำนวนเงินการช่วยเหลือ ซึ่งแนวทางในการให้การช่วยเหลือในพื้นที่จังหวัด 57 จังหวัด ในกรอบครัวเรือน จำนวน 338,391 ครัวเรือน ภายในกรอบวงเงิน 3,045,519,000 บาท (สามพันสี่สิบห้าล้านห้าแสนหนึ่งหมื่นเก้าพันบาทถ้วน) ได้แก่ จังหวัดกระบี่ กาญจนบุรี กาฬสินธุ์ กำแพงเพชร ขอนแก่น จันทบุรี ฉะเชิงเทรา ชัยภูมิ ชลบุรี เชียงราย เชียงใหม่ ตรัง ตราด ตาก นนทบุรี นครนายก นครปฐม นครพนม นครสวรรค์ นครราชสีมา นครศรีธรรมราช น่าน บึงกาฬ ปราจีนบุรี พระนครศรีอยุธยา พังงา พะเยา พิจิตร พิษณุโลก เพชรบูรณ์ แพร่ ภูเก็ต มหาสารคาม มุกดาหาร แม่ฮ่องสอน ยะลา ระยอง ราชบุรี ร้อยเอ็ด ลำปาง ลำพูน เลย ศรีสะเกษ สกลนคร สตูล สระแก้ว สระบุรี สุโขทัย สุพรรณบุรี สุราษฎร์ธานี หนองคาย หนองบัวลำภู อ่างทอง อุทัยธานี อุดรธานี อุตรดิตถ์ และจังหวัดอุบลราชธานี
หลักเกณฑ์การจ่ายเงินช่วยเหลือผู้ประสบอ อุทกภัยในช่วงฤดูฝน ปี 2567 ดังนี้
1 เป็นกรณีอุทกภัยที่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อที่อยู่อาศัยในช่วงฤดูฝน ปี 2567 ตั้งแต่วันที่ 20 พฤษภาคม 2567
ทั้งกรณีน้ำท่วมโดยฉับพลัน น้ำไหลหลาก น้ำล้นตลิ่ง รวมถึงการระบายน้ำ จนส่งผลกระทบทำให้
ไม่สามารถดำรงชีวิตได้
2 เป็นที่อยู่ที่ประสบอุทกภัย ตามข้อ 1 และได้รับผลกระทบกรณีใดกรณีหนึ่ง ดังต่อไปนี้
(1) ที่อยู่อาศัยประจำถูกน้ำท่วมขัง ตั้งแต่ 1 วัน (24 ชั่วโมง) แต่ไม่เกิน 7 วัน และทรัพย์สินได้รับ
ความเสียหาย
(2) ที่อยู่อาศัยประจำถูกน้ำท่วมขัง เกินกว่า 7 วันขึ้นไป
ลักษณะที่อยู่อาศัยประจำจะต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์กรณีใดกรณีหนึ่งดังต่อไปนี้
1 ที่อยู่อาศัยที่มีทะเบียนบ้าน
2 บ้านเช่า ผู้เช่าเป็นผู้ได้รับเงินช่วยเหลือ ในกรณีบ้านพักอาศัย/บ้านเช่ามีหลายชั้น ให้ได้รับเงินช่วยเหลือ เฉพาะชั้นที่น้ำท่วมถึงเท่านั้น
3 ที่อยู่อาศัยอื่น ๆ ซึ่งประสบภัย เช่น บ้านพักอาศัยอยู่เป็นประจำแต่ไม่มีทะเบียนบ้าน เป็นต้น ทั้งนี้ ไม่รวมถึงบ้านพักที่หน่วยงานราชการจัดให้
เงื่อนไขการจ่ายเงินช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยในช่วงฤดูฝน ปี 2567 ดังนี้
1 ต้องเป็นบ้านที่อยู่อาศัยประจำในพื้นที่ที่ได้ประกาศเขตพื้นที่ประสบสาธารณภัยและหรือประกาศเขต
การให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน และ
(1) มีหนังสือรับรองผู้ประสบภัยที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นออกให้(ตาม พ.ร.บ.ปภ. 2550 ม. 30) และ
(2) ต้องผ่านการประชาคมหมู่บ้านของแต่ละพื้นที่ประสบสาธารณภัย และ
(3) ผ่านการตรวจสอบและยืนยันข้อมูลจากคณะกรรมการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติอำเภอ (ก.ช.ภ.อ.)
และคณะกรรมการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติจังหวัด (ก.ช.ภ.จ.) สำหรับกรุงเทพมหานคร
ต้องผ่านการตรวจสอบและยืนยันข้อมูลจากสำนักงานเขตและกรุงเทพมหานคร
2 กรณีที่ประสบภัยหลายครั้ง ให้ได้รับความช่วยเหลือเพียงครั้งเดียว
อัตราการจ่ายเงินช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยในช่วงฤดูฝน ปี 2567 ดังนี้
1. กรณีที่อยู่อาศัยประจำ ตามหลักเกณฑ์ (ที่อยู่อาศัยประจำถูกน้ำท่วมขัง ตั้งแต่ 1 วัน (24 ชั่วโมง) แต่ไม่เกิน 7 วัน และทรัพย์สินได้รับ หรือ ที่อยู่อาศัยประจำถูกน้ำท่วมขัง เกินกว่า 7 วันขึ้นไป) ที่อยู่อาศัยประจำอยู่ในพื้นที่ น้ำท่วมขังตั้งแต่ 1 วัน (24 ชั่วโมง) แต่ไม่เกิน 30 วัน ให้ความช่วยเหลือ ครัวเรือนละ 5,000 บาท
2. กรณีที่อยู่อาศัยประจำ ตามหลักเกณฑ์ (ที่อยู่อาศัยประจำถูกน้ำท่วมขัง เกินกว่า 7 วันขึ้นไป)
2.1 ที่พักอาศัยอยู่ในพื้นที่น้ำท่วมขัง ติดต่อกันเกินกว่า 30 วัน แต่ไม่เกิน 60 วัน ให้ความช่วยเหลือ ครัวเรือนละ 7,000 บาท
2.2 ที่พักอาศัยอยู่ในพื้นที่น้ำท่วมขัง ติดต่อกันเกินกว่า 60 วันขึ้นไป ให้ความช่วยเหลือ ครัวเรือนละ 9,000 บาท
หลักฐานในการขอรับการช่วยเหลือ บัตรประจำตัวประชาชนและหลักฐานอย่างใดอย่างหนึ่ง ต่อไปนี้
1 สำเนาทะเบียนบ้าน กรณีเป็นบ้านพักอาศัยที่มีทะเบียนบ้าน
2 สัญญาเช่าบ้าน หรือหนังสือรับรองการเช่าจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กรณีเป็นบ้านเช่า
3 กรณีเป็นที่อยู่อาศัยอื่น ๆ (บ้านพักอาศัยอยู่เป็นประจำแต่ไม่มีทะเบียนบ้าน ทั้งนี้ ไม่รวมถึงบ้านพักที่หน่วยงานราชการจัดให) ให้กำนัน/ผู้ใหญ่บ้าน ผู้บริหารท้องถิ่น ร่วมกับผู้นำชุมชนดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงและลงนามรับรองร่วมกันอย่างน้อย 2 ใน 3