วันที่ 25 สิงหาคม 2567 วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยพะเยา เข้าร่วมประชุมวิชาการระดับนานาชาติการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมอาหาร ประจำปี 2567 ครั้งที่ 1 ณ อาคารบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสวนดุสิต กรุงเทพมหานคร โดยบุคลากรสายวิชาการ ดร.ณัฐรินทร์ ปริวงศ์กุลธร อาจารย์ประจำสาขาวิชาการจัดการการท่องเที่ยว โรงแรม และธุรกิจบริการ พร้อมด้วย ดร.นิศาชล โทแก้ว ศิษย์เก่าวิทยาลัยการจัดการ และ นางสาวกัญญาพัชร์ พัฒนาโภคินสกุล นิสิตปัจจุบันวิทยาลัยการจัดการ นำเสนอผลงานวิจัย หัวข้อ “CURRY CULTURE: THE THAI WAY” ในสาขา Gastronomy Tourism โดยได้รับเกียรติจาก ศาสตราจารย์ ดร.คอลิน ไมเคิล ฮอลล์ ศาสตราจารย์พิเศษ การจัดการ การตลาด และ การท่องเที่ยว ภาควิชาการจัดการ การตลาดและการเป็นผู้ประกอบการ มหาวิทยาลัยแคนเทอเบอรี่ ประเทศนิวซีแลนด์ เป็น Session Chair และ ดร.ชมพูนุช จิตติถาวร อาจารย์หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยพะเยา เป็น Moderator ประจำห้องประชุม ชั้น 4 ณ อาคารบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสวนดุสิต กรุงเทพมหานคร
วัตถุประสงค์ การประชุมวิชาการเพื่อสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างประเทศในการเผยแพร่องค์ความรู้ ด้านวัฒนธรรมอาหารสู่วงการวิชาการในระดับโลก ร่วมเชื่อมโยงและแลกเปลี่ยนความรู้กับผู้เชี่ยวชาญ ด้านวัฒนธรรมอาหาร และนักวิชาการด้านการท่องเที่ยว เพื่อนำไปสู่องค์ความรู้ด้านการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมอาหารแบบองค์รวมโดยเน้นอัตลักษณ์อาหารไทยสู่นานาชาติ รวมถึงการประชุมในครั้งนี้เป็นส่วนหนึ่งของ International Social Sciences and Business Research Conference ครั้งที่ 23 (ISGST2024) ร่วมกับสมาคมนิติศาสตร์และรัฐศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์และเครือข่ายสถาบันการศึกษาทั้งในประเทศและต่างประเทศ เพื่อให้บุคลากรทางการศึกษาได้แลกเปลี่ยน วิเคราะห์ และปรับเปลี่ยนความคิด มุมมองทางวิชาการร่วมพัฒนาบทความทางวิชาการให้เกิดประสิทธิภาพและเป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติ
ขอขอบคุณรูปภาพจาก
มหาวิทยาลัยสวนดุสิต กรุงเทพมหานคร
Website วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยพะเยา
Facebook วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยพะเยา
Youtube วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยพะเยา
TikTok วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยพะเยา
.
"เป็นสถาบันชั้นนำที่มีความเป็นเลิศด้านการบริหารจัดการยุคใหม่ เพื่อนวัตกรรมและความเป็นอยู่ที่ดีของชุมชน สู่สากล อย่างยั่งยืน"
.
U = Unity
P = Professional
C = Collaboration
M = Merit
“ร่วมแรง ร่วมใจ ร่วมเรียนรู้ เพื่อการพัฒนา”
.