วันที่ 21 สิงหาคม 2567 กองบริหารงานวิจัย มหาวิทยาลัยพะเยา โดย ศาสตราจารย์ ดร.เสมอ ถาน้อย รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม จัดกิจกรรม Pitching การประกวดรางวัลสนับสนุนพื้นที่การเรียนรู้ Learning Space 2024 ซึ่งกิจกรรมเป็นที่สอดรับยุทธศาสตร์ด้านการบริการวิชาการด้วยองค์ความรู้และนวัตกรรมเพื่อความเข้มแข็งของชุมชน ซึ่งเป็นหนึ่งในตัวชี้วัดเป้าหมาย หรือ Super KPI ของมหาวิทยาลัย เพื่อส่งเสริมให้เกิดการสร้างพื้นที่การเรียนรู้สำหรับคนทุกช่วงวัย โดยกิจกรรมการประกวดรางวัลสนับสนุนพื้นที่การเรียนรู้ เป็นหนึ่งในเป้าหมายของมหาวิทยาลัย ที่จะช่วยสร้างให้เกิดการเรียนรู้แก่คนทุกระดับ ทั้งบุคลากรของมหาวิทยาลัย นิสิต นักเรียน รวมถึงประชาชน ในการใช้พื้นที่การเรียนรู้ ในการพัฒนาความรู้ พัฒนาทักษะ ให้สามารถนำความรู้หรือทักษะที่ได้นั้นไปประยุกต์ใช้เพื่อยกระดับการศึกษา การสร้างรายได้ การส่งเสริมสุขภาวะที่ดี และบรรเทาปัญหาความเดือดร้อนของชุมชนและสังคมที่เกิดขึ้น เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น สังคมมีความเข้มแข็ง มั่นคง หลุดพ้นจากความแตกต่างและเหลื่อมล้ำ เกิดสังคมแห่งความสุข
ในครั้งนี้ มีพื้นที่การเรียนรู้ (Learning Space) ให้ความสนใจและเข้าร่วมการประกวดรางวัลดังกล่าวจำนวน 12 พื้นที่การเรียนรู้ จาก 10 หน่วยงาน เป็นพื้นที่การเรียนรู้ในมหาวิทยาลัย 3 พื้นที่ และพื้นที่ภายนอกมหาวิทยาลัย 9 พื้นที่ รางวัลสนับสนุนพื้นที่การเรียนรู้ดังกล่าว จะพิจารณาจากผลการดำเนินงานที่โดดเด่น ความสามารถในการบริหารจัดการ ทำให้เกิดผลกระทบในการเปลี่ยนแปลงหรือการพัฒนาในด้านต่าง ๆ โดยจะใช้เกณฑ์การตัดสินที่แบ่งออกเป็น 2 ส่วนหลัก ๆ คือรูปแบบการบริหารจัดการ Learning space และ จุดเด่น และผลกระทบ (Impact) ของ Learning space
โดยผลการประกวดรางวัลจำนวน 12 พื้นที่ มีรางวัล 4 ประเภท ดังนี้
รางวัลระดับ Platinum ไม่มีพื้นที่ได้รับบรางวัล
รางวัลระดับ Gold จำนวน 5 รางวัล
1.ศูนย์วิจัยและบริการวิชาการวิศวกรรม คณะวิศวกรรมศาสตร์ : พื้นที่ดำเนินการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา โดย คณะวิศวกรรมศาสตร์
2.แหล่งเรียนรู้ “โรงเรียนผู้สูงอายุวิถีพุทธนำชีวิตมีสุข” ณ วัดแม่กาโทกหวาก : พื้นที่ดำเนินการ วัดแม่กาโทกหวาก ตำบลแม่กา อำเภอเมืองพะเยา จังหวัดพะเยา โดย คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์
3. UP Academy : Learning for All, Anywhere, and Anytime : พื้นที่ดำเนินการ สถาบันนวัตกรรมการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยพะเยา โดย สถาบันนวัตกรรมการเรียนรู้
4.คลินิกกฎหมาย : พื้นที่ดำเนินการ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา โดย คณะนิติศาสตร์
5.ระบบพี่เลี้ยงครูภาษาอังกฤษ ปีที่ 2 : พื้นที่ดำเนินการ ตำบลสระ อำเภอเชียงม่วน จังหวัดพะเยา โดย คณะศิลปศาสตร์
รางวัลระดับ Silver จำนวน 4 รางวัล
1.คลินิกดูแลสุขภาพกลางวัน (Day care) เทศบาลนครเชียงราย : พื้นที่ดำเนินการ ตำบลรอบเวียง อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย โดย คณะพยาบาลศาสตร์
2.เครือข่ายวิสาหกิจชุมชนการผลิตกระบือคุณภาพจังหวัดพะเยา : พื้นที่ดำเนินการ ทุ่งสำราญฟาร์ม ตำบลห้วยยางขาม อำเภอจุน จังหวัดพะเยา โดย คณะเกษตรศาสตร์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
3.วิสาหกิจชุมชนบ้านรักขนม Eat Food Good Learning : พื้นที่ดำเนินการ ตำบลแม่ต๋ำ อำเภอเมืองพะเยา จังหวัดพะเยา โดย คณะวิทยาศาสตร์
4.ARTCADE : พื้นที่ดำเนินการ ตำบลเวียง อำเภอเมืองพะเยา จังหวัดพะเยา โดย คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และศิลปกรรมศาสตร์
รางวัลระดับ Bronze จำนวน 3 รางวัล
1.โครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวันโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนห้วยปุ้ม : พื้นที่ดำเนินการ โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนห้วยปุ้ม อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา โดย คณะเกษตรศาสตร์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
2.โรงเรียนผู้สูงอายุวัดแม่กาโทกหวาก : พื้นที่ดำเนินการ วัดแม่กาโทกหวาก ตำบลแม่กา อำเภอเมืองพะเยา จังหวัดพะเยา โดย วิทยาลัยการศึกษา
3.ศูนย์ฮอมฮักสร้างสุขกับ รอ พอ สอ ตอ พอเพียง : พื้นที่ดำเนินการ โรงพยาบาลสร้างเสริมสุขภาพตำบลบ้านต๊ำ ตำบลบ้านต๊ำ อำเภอเมืองพะเยา จังหวัดพะเยา โดย คณะพยาบาลศาสตร์
โดยผลการพิจารณารางวัล ได้รับเกียรติจากคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ดังนี้
1.ศาสตราจารย์ ดร.เสมอ ถาน้อย รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยพะเยา
2.รองศาสตราจารย์ ดร.พีรเดช ทองอำไพ ผู้ทรงคุณวุฒิภายนอก
3.นางสาวเบญจมาศ ตีระมาศวณิช ผู้ทรงคุณวุฒิภายนอก
4.นายอัษฎากรณ์ ฉัตรานันท์ ผู้ทรงคุณวุฒิภายนอก
5.ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.น้ำเงิน จันทรมณี ผู้อำนวยการสถาบันนวัตกรรมการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยพะเยา
6.รองศาสตราจารย์ ดร.อัจฉราภรณ์ ดวงใจ ผู้ช่วยอธิการบดี มหาวิทยาลัยพะเยา
7.นางสาวอัญชลี เทียมคีรี ผู้อำนวยการกองบริหารงานวิจัย มหาวิทยาลัยพะเยา