กฎหมายใน Pride Month ตอนที่ 3: ติดตามวาระพิจารณากฎหมายสมรสเท่าเทียม 18 มิถุนายน 2567 ว่าประเทศไทยจะมีโอกาสเป็นประเทศแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่มีกฎหมายแต่งงานของบุคคลเพศเดียวกันหรือไม่

20/6/2567 9:16:53น. 332
ติดตามวาระพิจารณากฎหมายสมรสเท่าเทียม 18 มิถุนายน 2567 ว่าประเทศไทยจะมีโอกาสเป็นประเทศแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่มีกฎหมายแต่งงานของบุคคลเพศเดียวกันหรือไม่

กฎหมายใน Pride Month ตอนที่ 3

: ติดตามวาระพิจารณากฎหมายสมรสเท่าเทียม 18 มิถุนายน 2567 ว่าประเทศไทยจะมีโอกาสเป็นประเทศแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่มีกฎหมายแต่งงานของบุคคลเพศเดียวกันหรือไม่

การมี #กฎหมายสมรสเท่าเทียมที่ให้บุคคลโดยไม่จำกัดเพศสามารถสมรสและสร้างครอบครัวด้วยกันได้นับว่าเป็นส่วนหนึ่งของการปฏิบัติตามหลักการยอกยาการ์ตาเพื่อรับรองสิทธิในการสร้างครอบครัวและเป็นการรับรู้ตัวตนของบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศตามพันธกรณีตามที่ตัวแทนของประเทศไทยได้ลงนาม ถ้าหากผ่านการลงมติออกมาบังคับใช้ได้จริง ย่อมเป็นการสร้างความเท่าเทียมทางกฎหมายให้เกิดขึ้นกับบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศเพิ่มขึ้นอีกประการหนึ่ง และอาจนำไปสู่การพิจารณากฎหมายที่สร้างความเท่าเทียมทางเพศในมิติอื่น ๆ เช่น กฎหมายเกี่ยวกับการรับรองอัตลักษณ์ทางเพศ และนำไปสู่การแก้ไขกฎหมายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องในอนาคตด้วย เช่น กฎหมายเกี่ยวกับการรับบุตรบุญธรรม และกฎหมายเกี่ยวกับการตั้งครรภ์แทน เป็นต้น

ในการพิจารณาโดยที่ประชุมวุมิสภาในวันที่ 18 มิถุนายน 2567 นี้ เป็นการพิจารณาในวาระที่ 2 คือเป็นวาระพิจารณารายมาตรา หลังจากที่ผ่านวาระหนึ่ง สว. ชุดพิเศษ มีมติเห็นชอบรับร่างกฎหมายสมรสเท่าเทียมไปก่อนหน้านี้ในวันที่ 2 เมษายน 2567 ที่ผ่านมา ด้วยคะแนนเสียงเห็นด้วย 147 เสียง ไม่เห็นด้วย 4 เสียง งดออกเสียง 7 เสียง และเมื่อผ่านการพิจารณารายมาตราในวาระสอง แล้ว ก็จะไปสู่การพิจารณาเห็นชอบในวาระสามต่อไป

ในการพิจารณาของที่ประชุมวุฒิสภาในวันที่ 18 มิถุนายน 2567 นี้ เป็นการพิจารณาในวาระสาม เพื่อมีมติเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบกับร่างกฎหมายสมรสเท่าเทียม

ในการพิจารณาวาระสาม ถ้าหาก สว. มีมติเห็นชอบร่างกฎหมาย ร่างกฎหมายดังกล่าวก็จะเข้าสู่ขั้นตอนประกาศใช้เป็นกฎหมายต่อไป แต่ถ้า สว. ส่วนใหญ่มีมติไม่เห็นชอบ ร่างกฎหมายที่ผ่านวาระแรกมาแล้วนั้นจะยกไม่ตกไป แต่จะถูก ‘ยับยั้ง’ เอาไว้ โดยที่ สว. อาจมีมติแก้ไขเพิ่มเติมร่างกฎหมายสมรสเท่าเทียมและให้ส่งร่างกฎหมายที่แก้ไขเพิ่มเติมแล้วไปยังสภาผู้แทนราษฎร โดย สส. อาจนำร่างกฎหมายนั้นกลับมาพิจารณาใหม่อีกครั้งได้ในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด

เมื่อพิจารณาแล้ว ถ้าหาก สส. นำกลับขึ้นมาพิจารณาใหม่และลงมติยืนยันร่างเดิมด้วยคะแนนเสียงมากกว่ากึ่งหนึ่งของสภาผู้แทนราษฎร ก็จะถือว่าเห็นชอบกับร่างกฎหมายนั้นและนำไปสู่ขั้นตอนการประกาศใช้เป็นกฎหมายต่อไป แต่ถ้าหาก สส. ไม่เห็นชอบกับร่างกฎหมายดังกล่าว ก็จะมีการตั้ง “คณะกรรมาธิการร่วม” ของสองสภาขึ้นมาพิจารณาอีกชั้นหนึ่ง โดยกรรมาธิการมีจำนวน สส. และ สว. เท่ากัน เมื่อกรรมาธิการร่วมพิจารณาร่างกฎหมายเสร็จแล้วให้เสนอต่อทั้งสภาผู้แทนราษฎร และวุฒิสภา ถ้าสภาทั้งสองเห็นชอบด้วย ก็นำสู่ขั้นตอนประกาศใช้เป็นกฎหมาย แต่ถ้าสภาใดสภาหนึ่งไม่เห็นชอบ สส. อาจยกขึ้นมาพิจารณาใหม่ได้หลัง 180 วัน โดยอาจยืนยันร่างเดิมหรือร่างที่คณะกรรมาธิการร่วมกันพิจารณาก็ได้

สถานการณ์ พ.ร.บ.สมรสเท่าเทียม จะเป็นอย่างไรต่อไป การเดินทางอันยาวนานของการเสนอให้มีกฎหมายสมรสเท่าเทียมจะมาถึงจุดหมายหรือยัง และ Pride Month ปีนี้จะเป็นการเฉลิมฉลองก้าวสำคัญทางกฎหมายของบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศมากแค่ไหน มาติดตามกับเรา ผ่านเพจคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา และช่องทางถ่ายทอดสดการพิจารณาของวุฒิสภาที่คลินิกกฎหมายและคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา

คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยายังคงยึดมั่นในสิทธิความเท่าเทียมทางเพศยึดมั่นในคุณค่าของศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ความเสมอภาคเท่าเทียม และการเคารพให้เกียรติบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศในทุกมิติ ได้แก่ วิถีทางเพศ อัตลักษณ์ทางเพศ การแสดงออกทางเพศและสรีระ (Sexual orientation, gender identity, gender expression, sex characteristics : SOGIESC) และสนับสนุนการแก้ไขและพัฒนากฎหมายที่เป็นการคุ้มครองสิทธิและสร้างความเท่าเทียมทางเพศฉบับอื่น ๆ ให้เกิดขึ้นในอนาคตโดยคำนึงถึงความหลากหลายในทุกมิติ เพื่อให้บุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศรู้สึกปลอดภัย ได้รับการยอมรับให้เกียรติ และสามารถพัฒนาศักยภาพของตนในฐานะมนุษย์ได้อย่างเต็มที่โดยไม่ถูกเลือกปฏิบัติดังที่ได้ประกาศเจตนารมณ์เอาไว้

อ้างอิง

1. Urban Creature. จับตา สว. โหวต ‘พ.ร.บ.สมรสเท่าเทียม’ ในวาระ 2 และ 3 หลังสภาให้ไฟเขียวในวาระ 1 พรุ่งนี้ 18 มิ.ย. 67 เวลา 09.30 น. เป็นต้นไป. https://urbancreature.co/same-sex-marriage-phase-2/

2. กรมประชาสัมพันธ์, (2567). ไทยนับถอยหลัง 18 มิ.ย. ร่วมฉลอง “ร่างกฎหมายสมรสเท่าเทียม” ความเป็นจริงที่สมบูรณ์. https://www.prd.go.th/th/content/category/detail/id/39/iid/297979

3. บีบีซีไทย, (2567). เดือนไพรด์กลับมาอีกครั้ง กฎหมายสมรสเท่าเทียมของไทยใกล้เป็นจริงหรือยัง. https://www.bbc.com/thai/articles/cv22768yz23o#:~:text=%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%8A%E0%B8%B8%E0%B8%A1%E0%B8%A7%E0%B8%B8%E0%B8%92%E0%B8%B4%E0%B8%AA%E0%B8%A0%E0%B8%B2%20(%E0%B8%AA%E0%B8%A7.),%E0%B8%A3%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%8E%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%88%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%AA%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9C%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B9%81%E0%B8%97%E0%B8%99%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A9%E0%B8%8E%E0%B8%A3 4. ไทยพีบีเอส, (2567). "Pride Month 2567" อัปเดต "สมรสเท่าเทียม" กฎหมายถึงขั้นไหน. https://www.thaipbs.or.th/news/content/340504

5. iLaw, (2567).สว. ชุดพิเศษ เห็นชอบรับร่างกฎหมาย #สมรสเท่าเทียม วาระหนึ่ง เหลือพิจารณาต่อวาระสอง-สาม. https://www.ilaw.or.th/articles/27218

บทความโดย ฝ่ายนวัตกรรมการเรียนรู้และสื่อสารองค์กร คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา
>> อ. ปิยอร เปลี่ยนผดุง ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายนวัตกรรมการเรียนรู้และสื่อสารองค์กร คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา




facebooktwitterline

แท็กที่เกี่ยวข้อง

ภาพ :      
ข้อมูล/ข่าว :      
เพิ่มข่าวโดย :   krittabhorn.ju@up.ac.th   
20/6/2567 9:16:53น. 332
Print Friendly and PDF

ติดตามข่าวสาร มพ.


ติดตามข่าวสารผ่าน tiktok มพ.

@uptiktok2024

แอปพลิเคชั่น Smart UP

ดาวน์โหลดได้แล้ววันนี้

ข่าวที่มีผู้อ่านสูงสุด ย้อนหลัง 7 วัน