มหาวิทยาลัยพะเยา ร่วมพัฒนาผ้าเขียนเทียน ลวดลายอัตลักษณ์ผ้าปักชาติพันธ์
อำเภอปง จังหวัดพะเยา
กลุ่มวิสาหกิจชุมชนผ้าปักชนเผ่าและผ้าเขียนเทียนบ้านสิบสองพัฒนา ตำบลผาช้างน้อย อำเภอปง จังหวัดพะเยา เป็นกลุ่มของพี่น้องราษฎรบนพื้นที่สูงที่ผลิตสินค้าเกี่ยวกับอัตลักษณ์ของท้องถิ่น การสร้างลวดลายผ้าปัก และผ้าเขียนเทียน ซึ่งเป็นอีก 1 กลุ่มที่ได้รับผลกระทบจากระบบการค้าขาย มีช่องทางการจัดจำหน่ายสินค้าที่ยึดติดกับการจำหน่ายเฉพาะกลุ่ม และเพื่อเป็นการสร้างรายได้อย่างยั่งยืน คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยพะเยา เล็งเห็นถึงความโดยการนำเทคโนโลยีระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์เข้ามาเป็นเครื่องมือสนับสนุนธุรกิจการขายสินค้าของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนผ้าปักชนเผ่าและผ้าเขียนเทียนบ้านสิบสองพัฒนา
วันที่ 29 มีนาคม 2567 คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยพะเยา นำโดย คณบดีคณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พรเทพ โรจนวสุ พร้อมด้วย รองคณบดีฝ่ายยุทธศาสตร์และพัฒนาองค์กร ดร.เกวรินทร์ จันทร์ดำ นำคณะสื่อมวลชน ผู้อำนวยการกองกลาง มหาวิทยาลัยพะเยา นางณัฐธิดา ชาวน่าน และบุลากรหน่วยสื่อสารองค์กร ลงพื้นที่กลุ่มวิสาหกิจชุมชนผ้าปักชนเผ่าและผ้าเขียนเทียนบ้านสิบสองพัฒนา ตำบลผาช้างน้อย อำเภอปง จังหวัดพะเยา เพื่อเข้าเยี่ยมชมกระบวนการผลิตผ้าเขียนเทียน ซึ่งเป็นผลิตภัณของกลุ่มของพี่น้องราษฎรบนพื้นที่สูง ที่ผลิตสินค้าเกี่ยวกับอัตลักษณ์ของท้องถิ่น ผ่านการสร้างลวดลายผ้าปักและผ้าเขียนเทียน โดยคณะสื่อมวลชนได้เข้าเยี่ยมชมพื้นที่การปลูกต้นฮ่อมหรือคราม ซึ่งเป็นพืชสำคัญในการสลัดสีย้อมผ้า และเข้าศึกษาขั้นตอนการผลิตผ้าเขียนเทียนของชาติพันธ์เมี่ยนและม้งในแบบดั้งเดิมอีกด้วย
ทั้งนี้ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร โดยดร.เกวรินทร์ จันทร์ดำ หัวหน้าโครงการและทีมวิจัยได้เข้ามาพัฒนาเว็บไซต์อีคอมเมิร์ซ หรือ ระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ในการออกแบบลายกราฟิกสำหรับพัฒนาผลิตภัณฑ์ของใช้และของที่ระลึก โดยการสร้างแพลตฟอร์มที่ผู้ใช้สามารถออกแบบผลิตภัณฑ์ของใช้และของที่ระลึกด้วยตนเองได้ ผ่านลวดลายอัตลักษณ์ของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มผ้าเขียนเทียนบ้านสิบสองพัฒนา ของชาวเขาเผ่าเมี่ยนและม้ง ซึ่งทีมวิจัยได้สกัดลวดลายต่าง ๆ อยู่ในรูปแบบของลายกราฟิกเพื่อสะดวกต่อการนำไปออกแบบผลิตภัณฑ์ พร้อมทั้งพัฒนาเว็บไซต์ www.pyhill.com ซึ่งเป็นแอปพลิเคชันในการออกแบบลวดลายอัตลักษณ์ผ้าชนเผ่าด้วยตนเอง และยังทำการจดสิทธิบัตรลวดลายผ้าเขียนเทียน จำนวน 4 ลวดลาย ที่ประยุกต์ขึ้นจากลวดลายดั้งเดิมเป็นลวดลายใหม่ พร้อมทั้งมีการตั้งชื่อลวดลาย เพื่อสร้าง Story of Product ของสินค้า คือ ลายก้ามปูนำโชค, ลายเต่าหมื่นหมื่นปี, ลายกังหันดูดทรัพย์ และลายแมงมุมชักเงินชักทอง