ระหว่างวันที่ 20 - 22 มีนาคม 2567 สถาบันนวัตกรรมการเรียนรู้ ร่วมกับกองการเจ้าหน้าที่ จัดโครงการฝึกอบรมพัฒนาศักยภาพผู้บริหารระดับกลาง รุ่นที่ 1 (UP COMMUNITY 2023) Module 3: Community Innovation Development ณ ห้องพุดตาน โรงแรมพะเยาเกทเวย์ จังหวัดพะเยา โดยมีผู้เข้าอบรมจำนวนทั้งสิ้น 108 ท่าน ประกอบด้วย ผู้ช่วยอธิการบดี รองคณบดี ผู้ช่วยคณบดี รองหัวหน้าส่วนงาน และผู้ช่วยหัวหน้าส่วนงาน
ทั้งนี้ ได้รับเกียรติจากท่านวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ ร่วมบรรยายพิเศษและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ จำนวนทั้งสิ้น 5 หัวข้อ ประกอบด้วย
1. บรรยายพิเศษและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เรื่อง การพัฒนานวัตกรรมชุมชน ภายใต้แนวคิด “คน-ของ-ตลาด” โมเดล (อบรมเชิงปฏิบัติการ)
โดย รองศาสตราจารย์ ดร.บัณฑิต อินณวงศ์ และทีมวิทยากร (สถาบันเกื้อกูลเศรษฐกิจชุมชน และผู้อำนวยการกรอบวิจัย Local Enterprises หน่วย บพท.)
2. บรรยายพิเศษและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เรื่อง นวัตกรรมชุมชน เพื่อสร้างเศรษฐกิจฐานรากในพื้นที่อย่างสมดุลและยั่งยืน (อบรมเชิงปฏิบัติการ)
โดย รองศาสตราจารย์ ดร.บัณฑิต อินณวงศ์ และทีมวิทยากร (สถาบันเกื้อกูลเศรษฐกิจชุมชน และผู้อำนวยการกรอบวิจัย Local Enterprises หน่วย บพท.)
3. บรรยายพิเศษและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เรื่อง การพัฒนานวัตกรรมชุมชน (อบรมเชิงปฏิบัติการ)
โดย รองศาสตราจารย์ ดร.พีรเดช ทองอำไพ (ผู้อำนวยการสถาบันคลังสมองของชาติ) และรองศาสตราจารย์ ดร.วารุณี อริยวิริยะนันท์ (ผู้ช่วยอธิการบดี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี)
4. บรรยายพิเศษและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เรื่อง ผลตอบแทนจากการลงทุน (ROI: Return on Investment) กับผลตอบแทนทางสังคม (SROI: Social Return on Investment) ต่างกันอย่างไร
โดย ศาสตราจารย์ ดร.เสมอ ถาน้อย (รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยพะเยา) และคณะ
5. บรรยายพิเศษและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เรื่อง การฝึกการประเมินผลตอบแทนทางสังคม (SROI: Social Return on Investment): กรณีตัวอย่าง โครงการ 1 คณะ 1 ชุมชนนวัตกรรม มหาวิทยาลัยพะเยา (ภาคปฏิบัติการ)
โดย ศาสตราจารย์ ดร.เสมอ ถาน้อย (รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยพะเยา) และคณะ
โครงการดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาสมรรถนะด้านการบริหารจัดการแก่ผู้บริหารระดับกลางของมหาวิทยาลัย เพื่อพัฒนาพื้นที่ในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการสร้างองค์ความรู้ร่วมกัน เพื่อเสริมสร้างสัมพันธภาพระหว่างผู้บริหารระดับสูงของมหาวิทยาลัยให้เกิดความร่วมมือในการ พัฒนามหาวิทยาลัยให้ไปในทิศทางเดียวกัน เพื่อเสริมสร้างบุคลิกภาพและแรงบันดาลใจในการพัฒนากระบวนการบริหารงาน ตลอดจนเพื่อสื่อสารเป้าหมายและค่านิยมร่วมของมหาวิทยาลัยให้แก่ผู้บริหารมหาวิทยาลัย