ในปัจจุบันเว็บไซต์ทางการศึกษา ได้แก่เว็บไซต์ของมหาวิทยาลัยทั่วโลกได้ถูกจัดอันดับในด้านการเผยแพร่ องค์ความรู้อย่างเปิดกว้างและเสรี (open access) ผ่านทางระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์เวิลด์ไวด์เว็บ(world wide web) เริ่มการจัดอันดับครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2547 (ค.ศ.2004) โดยสถาบันวิจัย Higher Council for Scientific Research (CSIC) ประเทศสเปนโดยมีวัตถุประสงค์ในการแสดงความสามารถของมหาวิทยาลัย ที่ถูกจัดอันดับในการเผยแพร่ข้อมูลและองค์ความรู้ของสถาบันอย่างเปิดกว้างและเสรี โดยปัจจุบันใช้ตัวชี้วัดเพื่อการจัดอันดับจํานวน 3 ตัวชีวัด ได้แก่
1. การเข้าถึงเชื่อมโยงจากเครือข่ายและเว็บไซต์อื่นมายังเว็บไซต์มายังเว็บไซต์ของสถาบัน(Impact)
2. การอ้างอิงผลงานทางวิชาการบน Google Scholar (Openness)
3. จํานวนผลงานวิชาการที่ถูกอ้างอิงในฐานข้อมูลงานวิจัย Scimago (Excellence)
โดยตัวชี้วัดแต่ละตัวจะมีกระบวนการจัดเก็บข้อมูลกระบวนการประมวลผลคะแนนและน้ําหนักคะแนนที่ไม่เท่ากัน ซึ่งการทํางานของเว็บโอเมทริกซ์จะอาศัยซอฟต์แวร์ที่พัฒนาขึ้นมาเป็นพิเศษเพื่อใช้ในการประมวลผลประสิทธิภาพของเว็บไซต์ ฐานข้อมูลงานวิจัย ผลงานตีพิมพ์ ผ่านทาง Google Search, GoogleScholar, และ Scimago แล้วนําผลที่ได้มาใช้คํานวณจัดอันดับเว็บไซต์ ของมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ทั่วโลก
ในปัจจุบันมีจํานวนมหาวิทยาลัยทั่วโลกที่ได้รับการจัดอันดับแล้วเป็น จํานวนทั้งสิ้น 11,991 มหาวิทยาลัย และมีมหาวิทยาลัยของประเทศไทยที่ได้รับการจัดอันดับแล้วเป็นจํานวนทั้งสิ้น 192 มหาวิทยาลัย
ผลการจัดอันดับของมหาวิทยาลัยพะเยา รอบที่ 1 เดือน มกราคม 2567 จากทั้งหมดจำนวนปีละ 2 รอบ ในครั้งนี้ มหาวิทยาลัยพะเยา ได้อันดับ ดังนี้
อันดับที่ 17 ของประเทศไทย
อันดับที่ 65 ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
อันดับที่ 617 ของเอเชีย
อันดับที่ 1824 ของโลก
เกณฑ์การประเมินใหม่ของ Webometrics (First edition of 2023)
1. VISIBILITY (or IMPACT) ปริมาณการอ้างอิงข้อมูล จำนวนของเครือข่ายภายนอก (subnets) ที่มีการเชื่อมโยงกลับมายังเว็บไซต์ของมหาวิทยาลัย ซึ่งจะพิจารณาจากค่าสูงสุดจากแหล่งข้อมูล 2 แหล่ง (Ahrefs และ Majestic) น้ำหนัก 50%
2. TRANSPARENCY (or OPENNESS) จำนวนการอ้างอิงจากผู้แต่ง 310 อันดับแรก(ไม่รวมค่าผิดปกติ 20 อันดับแรก) น้ำหนัก 10%
3. EXCELLENCE(or SCHOLAR) จำนวนของบทความที่มีการอ้างถึงสูงสุด 10% แรก ใน 27 สาขาวิชา โดยพิจารณาจากระยะเวลา 5 ปีย้อนหลัง (ค.ศ. 2018-2022) หรือ (พ.ศ. 2561-2565) น้ำหนัก 40%