สาธิตฯ มพ. ผสานความร่วมมือนักธรณีวิทยา ประเทศญี่ปุ่น ติดตั้งสถานีตรวจวัดคลื่นแผ่นดินไหว (Seismometer) แห่งแรกในพื้นที่ภาคเหนือ

17/1/2567 9:26:17น. 338
โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยพะเยา

      วันที่ 3 - 4 มกราคม 2567 : โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยพะเยา และ โครงการวมว. คู่ศูนย์มหาวิทยาลัยพะเยา -โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยพะเยา นำโดยว่าที่ร้อยตรีมนัส ภูทวี รองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ และผู้อำนวยการโครงการ วมว. - มพ. พร้อมด้วย ดร.ชัชวาล วงค์ชัย อาจารย์คณะวิทยาศาสตร์ อาจารย์กฤษดา เหลืองทองคำ ประธานผู้รับผิดชอบหลักสูตรโครงการ วมว. อาจารย์ประจำกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ และนักวิทยาศาสตร์ ร่วมให้การต้อนรับ Prof. Yoshio Okamoto จาก Osaka Kyoiku University, Japan (ผู้เชี่ยวชาญทางด้านธรณีวิทยา) ในโอกาสให้เกียรติเป็นวิทยากร "กิจกรรมสัมมนาทางวิชาการ และกิจกรรม Workshop ติดตั้งสถานีตรวจวัดคลื่นแผ่นดินไหว" ซึ่งมีนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ห้องเรียนศิลปวิทยาศาสตร์ และห้องเรียนโครงการ วมว. จำนวน 60 คน ที่มีความสนใจทางด้านฟิสิกส์และด้านธรณีวิทยา เข้าร่วมรังฟังการบรรยาย และกิจกรรม Workshop ณ อาคารปฏิบัติการสร้างต้นแบบนวัตกรรม (Fabrication LAB) โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยพะเยา
      กิจกรรมบรรยาย และ Workshop ด้านธรณีวิทยา : Prof. Yoshio Okamoto ได้ทำการกำหนดพื้นที่ บริเวณอาคารปฏิบัติการสร้างต้นแบบนวัตกรรม (Fabrication LAB) โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยพะเยา เพื่อทำการติดตั้งสถานีตรวจวัดคลื่นแผ่นดินไหว หรือ "Seismometer" ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการตรวจวัดคลื่นแผ่นดินไหว โดย Prof. Yoshio Okamoto อธิบายถึงหลักการ ของ "Seismometer" ดังนี้ "การตรวจวัดตรวจวัดคลื่นแผ่นดินไหว อาศัยการทำงานของอุปรกรณ์ จำนวน 3 เครื่อง ได้แก่ เครื่องที่ 1 ตรวจวัดคลื่นในแนวทิศเหนือ - ใต้ เครื่องที่ 2 ตรวจวัดคลื่นในแนวทิศตะวันออก - ตะวันตก และ เครื่องที่ 3 ตรวจวัดคลื่นในแนวดิ่ง (ขึ้น - ลง) และเป็นการใช้หลักการของไฟฟ้าแม่เหล็ก เมื่อเครื่องได้รับการเคลื่อนสั่นไหว จะทำให้แขนขดลวดเกิดการเคลื่อนที่แบบ Pendulum แล้วตัดผ่านกับสนามแม่เหล็ก และจะส่งผลให้สนามแม่เหล็กเกิดการเปลี่ยนแปลง และทำให้เกิดกระแสไฟฟ้าขึ้น จากนั้น จะสามารถนำกระแสไฟฟ้าไปแสดงในรูปแบบกราฟ เพื่อแสดงแอมพลิจูดของคลื่นแผ่นดินไหว"

      โดย การติดตั้งสถานีตรวจวัดคลื่นแผ่นดินไหว แห่งแรกในพื้นที่ภาคเหนือ ณ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยพะเยา ถือเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อการบริการทางการศึกษาแก่ นักธรณีวิทยา คณาจารย์ นักเรียน ประชาชนทั่วไป รวมถึงผู้ที่สนใจศึกษาด้านธรณีวิทยา เนื่องด้วย จังหวัดพะเยาเป็นพื้นที่ที่มีรอยเลื่อนของแผ่นดินไหว เรียกว่า รอยเลื่อนพะเยา อีกทั้งยังมีรอยเลื่อนที่ใกล้เคียงกับจังหวัดพะเยา เช่น รอยเลื่อนแม่ลาว รอยเลื่อนแม่จัน รอยเลื่อนแม่อิง รอยเลื่อนแม่ทา เป็นต้น ดังนั้น จึงมีความจำเป็นที่จะต้องติดตั้งอุปกรณ์ตรวจวัดคลื่นแผ่นดินไหว เพื่อให้ทราบข้อมูลต่าง ๆ ของการเกิดแผ่นดินไหว และรายงานข้อมูลให้ประชาชนทราบได้อย่างแม่นยำ เพื่อเตรียมความพร้อมรับมือกับแผ่นดินไหวที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตได้ . .



  

facebooktwitterline

แท็กที่เกี่ยวข้อง

ภาพ :   ภานุพันธ์ จันทะนะ   
ข้อมูล/ข่าว :    ภานุพันธ์ จันทะนะ   
เพิ่มข่าวโดย :   kanpitcha.sr@up.ac.th   
17/1/2567 9:26:17น. 338
Print Friendly and PDF

ติดตามข่าวสาร มพ.


ติดตามข่าวสารผ่าน tiktok มพ.

@uptiktok2024

แอปพลิเคชั่น Smart UP

ดาวน์โหลดได้แล้ววันนี้

ข่าวที่มีผู้อ่านสูงสุด ย้อนหลัง 7 วัน