วันที่ 10 กันยายน 2566 โครงการ วมว. โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยพะเยานำโดยว่าที่ร้อยตรีมนัส ภูทวี ผู้อำนวยการโครงการ วมว. - มพ. พร้อมด้วยอาจารย์ประจำชั้นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย อาจารย์พิเศษ นักวิทยาศาสตร์ และหัวหน้างานวิชาการ ให้การต้อนรับ Professor Yoshio Okamoto (จากประเทศญี่ปุ่น) ที่ให้เกียรติเป็นวิทยากร กิจกรรมการบรรยายพิเศษ หัวข้อ “THE EXPERIENCE IN ARCHOLOGY AND GEOLOGY” และ หัวข้อ "WHAT IS SCIENCE AND WHAT TO LEARN? THROUGH OUR GEOSCIENCE PROJECTS" สำหรับกิจกรรมการจัดการเรียนรู้แบบ Research-Based Learning (RBL) ภายใต้โครงการพัฒนาศักยภาพนักเรียนด้านวิชาการ โดยมี นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายหลักสูตรห้องเรียนศิลปวิทยาศาสตร์ และหลักสูตรห้องเรียนโครงการ วมว. เข้าร่วมกิจกรรมและรับฟังการบรรยายพิเศษ ณ ห้องภูกามยาว 1 (PKY 1) อาคารเรียนรวมหลังเก่า มหาวิทยาลัยพะเยา
หัวข้อการบรรยายพิเศษ Professor Yoshio Okamoto อธิบายให้เห็นถึงการศึกษาทางด้านธรณีศาสตร์ ว่ามีการเปลี่ยนแปลงของสิ่งที่อยู่บริเวณใต้ผิวโลกอย่างไร รวมถึง การตัดสินใจเลือกหัวข้อหรือประเด็นในการทำโครงงานทางด้านวิทยาศาสตร์อย่างไรให้มีความหลากหลายและน่าสนใจ พร้อมกันนี้ ได้แสดงตัวอย่างโครงงานทางด้านวิทยาศาสตร์ของนักเรียนประเทศญี่ปุ่น เป็นตัวอย่างประกอบร่วมด้วย
.ทั้งนี้ Professor Yoshio Okamoto ได้เน้นย้ำถึงหลักคิดสำคัญในกระบวนการการเรียนรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ จำนวน 9 ข้อ ดังนี้
Primitive and Super-Analog Tools are alternative ways of ICT or digital gadgets
Not thinking in your brain only
But thinking with your hands-on activities
To make tools data by themselves
The methods how to acquisition the real data
Trails and errors are main driver
Enjoying their process is important
To teacher : Not too much to teach or suggest
Learn how to facilitate is a teacher-side goal too.
พร้อมทั้งตอบข้อซักถาม และแลกเปลี่ยนข้อมูลร่วมกัน