บุคลากรและนิสิตคณะรัฐศาสตร์และสังคมศาสตร์ร่วมการประชุมวิชาการระดับชาติเครือข่ายการศึกษาวิจัยและความสัมพันธ์ทางวิชาการด้านรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์
25/7/2566 15:15:15น. 1051 รองศาสตราจารย์ ดร.มนตรา พงษ์นิล คณบดีคณะรัฐศาสตร์และสังคมศาสตร์ นำทีมคณาจารย์ เจ้าหน้าที่ และนิสิตคณะรัฐศาสตร์และสังคมศาสตร์ เข้าร่วมการประชุมวิชาการระดับชาติเครือข่ายการศึกษา วิจัย และความสัมพันธ์ทางวิชาการ ด้านรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ ครั้งที่ 7 พ.ศ.2566 ณ จังหวัดขอนแก่น ระหว่างวันที่ 21-23 กรกฎาคม 2566 โดยมีวิทยาลัยการเมืองการปกครอง มหาวิทยาลัยมหาสารคาม เป็นเจ้าภาพในการจัดการประชุมดังกล่าวฯ
การเดินทางไปร่วมการประชุมฯ ของคณะรัฐศาสตร์และสังคมศาสตร์ ในครั้งนี้ ดำเนินการภายใต้โครงการส่งเสริมการนำเสนอผลงานนิสิตและบุคลากร คณะรัฐศาสตร์และสังคมศาสตร์ ประจำปีงบประมาณ 2566 ฝ่ายนวัตกรรมบูรณาการเพื่อชุมชน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการสร้างสรรค์ผลงานทางวิชาการของนิสิตและบุคลากร สู่การตีพิมพ์เผยแพร่ในเวทีระดับชาติและระดับนานาชาติ ซึ่งมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วรรณภา ทองแดง รองคณบดีฝ่ายนวัตกรรมบูรณาการเพื่อชุมชน เป็นหัวหน้าโครงการ และมีคุณภัทธิญา จินดาคำ เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป เป็นผู้ประสานงานโครงการ
การประชุมดังกล่าวฯ ได้ดำเนินการขึ้นโดยภาคีเครือข่ายความร่วมมือของมหาวิทยาวิทยาลัยชั้นนำในประเทศไทย จำนวน 9 มหาวิทยาลัย ได้แก่ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยบูรพา มหาวิทยาลัยทักษิณ มหาวิทยาลัยพะเยา มหาวิทยาลัยแม่โจ้ มหาวิทยาลัยศิลปากร และมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ซึ่งความร่วมมือนี้นำมาสู่การดำเนินกิจการต่าง ๆ ทางด้านวิชาการของนิสิต นักศึกษา ในระดับปริญญาตรี และระดับบัณฑิตศึกษา ภายใต้หัวข้อของการจัดงานในครั้งนี้คือ “ชัยชนะแห่งการเปลี่ยนผ่าน?: พลิกวิกฤติสู่การเปลี่ยนแปลงประเทศไทย (Transitioning Triumphs?: Turn Threats into Transformative Thailand)” โดยมุ่งเน้น การแลกเปลี่ยน ความรู้และประสบการณ์ด้านวิชาการและการวิจัย มีความมุ่งหวังผลิตและเผยแพร่ผลงานวิจัยและผลงานทาง วิชาการในระดับชาติและนานาชาติ ตลอดจนการสร้างความสัมพันธ์ระหว่าง นิสิต นักศึกษา ทั้ง 9 สถาบัน และสถาบันอื่น ๆ จากทั่วประเทศ โดยมุ่งหวังให้การประชุมในครั้งนี้จะช่วยส่งเสริมให้คณาจารย์ นักวิจัย นิสิต นักศึกษา และบุคคลทั่วไป ได้เวทีสำหรับการนำเสนอผลงานวิชาการและงานวิจัยต่อสาธารณะ ส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพและความเข้มแข็งทางวิชาการแก่นิสิต นักศึกษาทางด้านรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์จากทั่วประเทศ และส่งเสริมการแลกเปลี่ยนและสร้างเครือข่ายทางวิชาการด้วย
รายนามตัวแทนคณาจารย์และนิสิตคณะรัฐศาสตร์และสังคมศาสตร์ ที่เข้าร่วมการประชุม, การนำเสนอผลงานทางวิชาการ และการตอบปัญหาทางวิชาการด้านรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ มีดังนี้
คณะกรรมการการดำเนินงาน
รองศาสตราจารย์ ดร.มนตรา พงษ์นิล คณบดีคณะรัฐศาสตร์และสังคมศาสตร์ คณะกรรมการอำนวยการในการจัดประชุมฯ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.น้ำทิพย์ เสมอเชื้อ รองคณบดีฝ่ายนวัตกรรมวิชาการ ทำหน้าที่เป็นผู้ควบคุมทีมตอบปัญหาทางวิชาการของนิสิตทีมที่ 1, Chair Person และ Discussant ประจำห้องย่อยของการนำเสนอ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วรรณภา ทองแดง รองคณบดีฝ่ายนวัตกรรมบูรณาการเพื่อชุมชน ทำหน้าที่เป็น Chair Person และ Discussant ประจำห้องย่อยของการนำเสนอ
รองศาสตราจารย์ ดร.วีระ เลิศสมพร ประธานหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานโยบายสาธารณะ ทำหน้าที่เป็นผู้ควบคุมทีมตอบปัญหาทางวิชาการของนิสิตทีมที่ 2, Chair Person และ Discussant ประจำห้องย่อยของการนำเสนอ
ทีมนิสิตตอบปัญหาทางวิชาการ
ทีมตอบปัญหาทางวิชาการ ทีมที่ 1 ประกอบด้วย คุณอรรถพล จันทำ, คุณสุภาภรณ์ โต๊ะน้อย และคุณชยณัฐ กองวี
ทีมตอบปัญหาทางวิชาการ ทีมที่ 2 ประกอบด้วย คุณรัฐศาสตร์ ชาแท่น, คุณสิทธิศักดิ์ หงษ์สุข และคุณพันธณัฐ ขจรจิตร
รายนามผู้นำเสนอบทความทางวิชาการ
ดร.อนุรัตน์ ฝันถึงภูมิ อาจารย์ประจำหลักสูตรรัฐศาสตรบัณฑิต นำเสนอบทความห้อง “Social Movements and Peace” เรื่อง “การวิเคราะห์ขบวนการใต้ดินที่มีบทบาทในการเมืองไทยตั้งแต่ปี 2553 ด้วยมุมมองวัตถุนิยมประวัติศาสตร์” (An Analysis of the Underground Movement That is Active in Thai Politics Since 2010 with a Perspective of Historical Materialism)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วรรณภา ทองแดง, อาจารย์พิพัฒน์ ธนากิจ อาจารย์ประจำหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาพัฒนาสังคม และ ดร.อทิตยา ดวงอำไพ อาจารย์ประจำหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการนวัตกรรมสาธารณะ นำเสนอบทความห้อง “Power of Changes and Education Development” เรื่อง “พลังเด็กและเยาวชนสร้างเสริมสุขภาวะในชุมชนชนเผ่าพื้นเมืองจังหวัดเชียงใหม่ในยุคโควิด-19” (The Competency of Ethnic Children and Youth to Build Well-Being Communities for Chiang Mai Province's Indigenous Peoples in the Age of COVID-19)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.น้ำทิพย์ เสมอเชื้อ อาจารย์ประจำหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการนวัตกรรมสาธารณะ และ ดร.วารัชต์ มัธยมบุรุษ อาจารย์ประจำสาขาวิชาการท่องเที่ยว คณะบริหารธุรกิจและนิเทศศาสตร์ นำเสนอบทความห้อง “Politics and Social Welfare” เรื่อง “ข้อเสนอเชิงนโยบายต่อพฤติกรรมการท่องเที่ยวจังหวัดพะเยา หลังการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด 19” (Policy Recommendation to Tourism Behavior in Phayao Province after the COVID-19 Outbreak)
คุณทนงศักดิ์ นิราศ นิสิตหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณพิต สาขาวิชานโยบายสาธารณะ นำเสนอบทความห้อง “Innovations in Public Sectors” เรื่อง “นวัตกรรมดิจิทัลของภาครัฐในการบริการด้านสวัสดิการสังคมแก่แรงงานนอกระบบในประเทศไทย” (Government’s Digital Innovation in Social Welfare Service for Informal Labors in Thailand)
คุณพันธณัฐ ขจรจิตร และคุณากร จันทวีวิวาวัณ นิสิตหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการนวัตกรรมสาธารณะ นำเสนอบทความห้อง “Social Policy and Development” เรื่อง “การพัฒนาตลาดชุมชนตามแนวทางเศรษฐกิจสร้างสรรค์: กรณีศึกษากาด หล่ายต้า จังหวัดพะเยา” (Development of Community Market through the Creative Economy: Case study of Lai Ta Market, Phayao Province)
คุณวรรณพร หมื่นจร และคุณฉัตรประภา ศรีทา นิสิตหลักสูตรการศึกษาบัณฑิต สาขาวิชาสังคมศึกษา คู่ขนาน หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาพัฒนาสังคม นำเสนอบทความห้อง “Cultural Capital Management” เรื่อง “การจัดการและการมีส่วนร่วมในประเพณีแห่ผ้าห่มพระธาตุจอมทอง อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา” (Management and Participation in the Ceremony of Pagoda Fabric Procession of Phrathatchomthong, Muang District, Phayao Province)
คุณต้นข้าว วงศ์วรรณกร และคุณนภสร ทองสุข นิสิตหลักสูตรการศึกษาบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษา คู่ขนาน หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาพัฒนาสังคม นำเสนอบทความห้อง “Cultural Capital Management” เรื่อง “การประกอบสร้างพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์ผ่านตำนานวัดพระธาตุจอมทอง อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา” (Construction of Sacred Place through the Legend of Wat Phrathatchomthong, Muang District, Phayao Province)
คุณจณิสุตา สินทอง, คุณอรัญต์ พิมจักษุ และคุณดาภา กุลลาว หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาพัฒนาสังคม นำเสนอบทความห้อง “Cultural Capital Management” เรื่อง “การพัฒนาทักษะสืบค้นข้อมูล Social Media เพื่อการออกแบบเอกลักษณ์เสื้อม้งของกลุ่มผ้าปักม้งบ้านหล่าย ตำบลสบบง อำเภอภูซาง จังหวัดพะเยา” (Skill Development of Retrieval in Social Media for Designing Hmong’s Ethnic Embroidered Fabrics in Ban Lai, Sobbong Sub-District, Phusang District, Phayao)
คุณรัฐศาสตร์ ชาแท่น และคุณสิทธิศักดิ์ หงษ์สุข นิสิตหลักสูตรรัฐศาสตรบัณฑิต นำเสนอบทความห้อง “Digital Governance and Policy” เรื่อง “ความท้าทายของรัฐบาลไทยต่อการยกเลิกโทษประหารชีวิตตามมาตรฐานและหลักการด้านสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ” (Challenges to the Thai Government’s abolition to the Death Penalty According to the Standards and Principles of International Human Rights)
คุณสุภาภรณ์ โต๊ะน้อย, คุณปุณยวีร์ ธรรมไทย นิสิตหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการนวัตกรรมสาธารณะ และและคุณอรรถพล จันทำ นิสิตหลักสูตรรัฐศาสตรบัณฑิต นำเสนอบทความห้อง “Digital Governance and Policy” เรื่อง “แนวทางการผลักดันรัฐบาลไทยสู่รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์” (Guidelines in Driving Thailand towards e-Government)
คุณเจนจิรา จินะการ นิสิตหลักสูตรรัฐศาสตรบัณฑิต นำเสนอบทความห้อง “Politics and Social Welfare” เรื่อง “ความเท็จในรัฐธรรมนูญ 2557 และ 2560” (Mendacity in the 2014 and 2017 Constitution)
ท้ายนี้ บุคลากรและนิสิตคณะรัฐศาสตร์และสังคมศาสตร์ สามารถคว้ารางวัลด้านการนำเสนอบทความดีเด่น (Outstanding Paper Award) ในงานประชุม PSPARN 2023 นี้ได้หลายบทความจากหลายห้องย่อยนำเสนอ จึงขอรบกวนให้ทุกท่านติดตามข้อมูลการเผยแพร่รางวัลนี้ได้ในลำดับต่อไป