กองบริหารงานวิจัย ลงพื้นที่ติดตามความก้าวหน้า 6 เดือน โครงการ 1 คณะ 1 ชุมชนนวัตกรรม คณะพลังงานและสิ่งแวดล้อม

11/7/2566 14:17:14น. 31292
กองบริหารงานวิจัย
        วันที่ 4 กรกฎาคม 2566 กองบริหารงานวิจัย มหาวิทยาลัยพะเยา นำโดยผู้ช่วยอธิการบดี รองศาสตราจารย์ ดร.อัจฉราภรณ์ ดวงใจ ได้ลงพื้นที่ติดตามความก้าวหน้าระยะ 6 เดือนโครงการ 1 คณะ 1 ชุมชนนวัตกรรม ประจำปีงบประมาณ 2566 โครงการการพัฒนาผลิตภัณฑ์อ่องมันปูเพื่อสานต่อโครงการ U2T for BCG โดยมี ดร.ปรเมษฐ์ สิทธิสันติ์ คณะพลังงานและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยพะเยา เป็นหัวหน้าโครงการ ดำเนินงานในพื้นที่ตำบลบ้านใหม่ อำเภอเมืองพะเยา จังหวัดพะเยา


        คณะพลังงานและสิ่งแวดล้อม ดำเนินโครงการ การพัฒนาผลิตภัณฑ์อ่องมันปูเพื่อสานต่อโครงการ U2T for BCG เพื่อพัฒนาต่อยอดผลิตภัณฑ์ซึ่งเป็นผลิตผลจากโครงการ U2T for BCG ให้เกิดเป็นรูปธรรม จำเป็นต้องมีการแก้ปัญหาหรือจุดอ่อนของธุรกิจที่อาจทำให้บริษัทเสียเปรียบคู่แข่งเป็นอุปสรรคต่อความสามารถในการทำกำไรและการเติบโตของตลาด รวมถึงเพิ่มขีดความสามารถและพัฒนาศักยภาพในหลายด้าน ทั้งด้านการผลิตไปจนถึงการจัดจำหน่าย ให้มีศักยภาพการแข่งขันและเติบโตอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะเป็นส่วนช่วยทำให้เศษฐกิจของและคุณภาพชีวิตของประชาชนในพื้นที่ดีขึ้นได้อย่างเป็นรูปธรรมและยั่งยืน
        ผลิตภัณฑ์อ่องมันปู จากกลุ่มวิสาหกิจชุมชนปูนาแปรรูป เป็นหนึ่งผลิตภัณฑ์ที่เป็นผลิตผลจากโครงการ U2T for BCG ที่มีส่วนช่วยให้เกิดการสร้างงานสร้างรายได้ให้แก่ชุมชนได้เป็นอย่างดี และมีศักยภาพในการพัฒนาให้เติบโตได้ โดยมีขั้นตอนหลักในการดำเนินงานวิจัย ได้แก่ 1) ศึกษา รวบรวม และวิเคราะห์ ปัญหาและอุปสรรคของวิสาหกิจฯ โดยการลงพื้นที่สำรวจและรวบข้อมูล 2) พัฒนากระบวนการผลิตอ่องมันปู มีด้วยการพัฒนาเครื่องกวนเคี่ยวอ่องมันปูที่มีประสิทธิภาพและเหมาะสมกับในการกวนอ่องมันปู โดยให้นิสิตเข้ามาร่วมเรียนรู้และพัฒนา 3) สร้างโอกาสทางการตลาด ด้วยการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ให้เป็นที่น่าสนใจแก่ผู้บริโภคและสร้างโอกาสแข่งขันทางการตลาด โดยให้นิสิตซึ่งมีความทันสมัยร่วมพัฒนา 4) วิเคราะห์การทำงานและเก็บข้อมูลการผลิต รวมถึงระบบการประเมิน ROI และ SROI 5) การสร้าง Learning and Innovation Platform และถ่ายทอดองค์ความรู้ และนวัตกรชุมชนด้านการตลาด ที่คอยขับเคลื่อนให้วิสาหกิจชุมชนฯ เดินด้านได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเพื่อเป็นการไม่ให้ความรู้อยู่แค่กลุ่มบุคคลใดบุคคลหนึ่ง การสร้าง Learning and Innovation Platform เป็นหนึ่งในแนวทางที่สามารถถ่ายทอดองค์ความรู้ดังกล่าวได้เป็นวงกว้าง โดยมีทีมวิจัย นวัตกรชุมชน และนิสิตร่วมดำเนินการ




   

facebooktwitterline

แท็กที่เกี่ยวข้อง

ภาพ :   ธนภัทร นวลศรี   
ข้อมูล/ข่าว :    ธนภัทร นวลศรี   
เพิ่มข่าวโดย :   thanaphat.no@up.ac.th   
11/7/2566 14:17:14น. 31292
Print Friendly and PDF

ติดตามข่าวสาร มพ.


ติดตามข่าวสารผ่าน tiktok มพ.

@uptiktok2024

แอปพลิเคชั่น Smart UP

ดาวน์โหลดได้แล้ววันนี้

ข่าวที่มีผู้อ่านสูงสุด ย้อนหลัง 7 วัน