คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยาร่วมกับกระทรวงยุติธรรม และ ส.พ.ส. เตรียมพร้อมจัดทำหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อยกระดับทักษะความรู้ให้กับผู้ไกล่เกลี่ยข้อพิพาท

29/6/2566 12:16:39น. 37445
หลักสูตรเทคนิคการไกล่เกลี่ยข้อพิพาททางแพ่งและอาญา
วันพุธที่ 28 มิถุนายน 2566 คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ อุดม งามเมืองสกุล คณบดีคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา ได้เข้าร่วมประชุมผ่านทางออนไลน์ระบบ Cisco Webex Meetings ร่วมกับ ดร.ธปภัค บูรณะสิงห์ ผู้อำนวยการกองส่งเสริมการระงับข้อพิพาท รักษาการในตำแหน่ง ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านส่งเสริมสิทธิและเสรีภาพ กระทรวงยุติธรรม และ นางประกายรัตน์ ต้นธีรวงศ์ ประธานมูลนิธิสถาบันศึกษาและพัฒนาการจัดการความขัดแย้งด้วยสันติวิธี (ส.พ.ส.) เพื่อเตรียมพร้อมจัดทำหลักสูตรฝึกอบรม “หลักสูตรเทคนิคการไกล่เกลี่ยข้อพิพาททางแพ่ง” และ “หลักสูตรเทคนิคการไกล่เกลี่ยข้อพิพาททางอาญา” เพื่อเป็นการ Upskill ยกระดับทักษะความรู้ให้กับผู้ไกล่เกลี่ย โดยกรอบเนื้อหาของหลักสูตรดังกล่าว จะเป็นการเติมเต็มความรู้ เทคนิค วิธีการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท ตามพระราชบัญญัติการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท พ.ศ.2562 ซึ่งได้มีการทบทวนและรับฟังความคิดเห็นและความต้องการจากผู้ไกล่เกลี่ยที่ปฏิบัติงานจริง ภายใต้ศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชน

สำหรับหลักสูตรเทคนิคการไกล่เกลี่ยข้อพิพาททางแพ่ง มีเนื้อหา 4 หมวดวิชา ประกอบด้วย
1.หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการไกล่เกลี่ยข้อพิพาททางแพ่งที่เกี่ยวกับที่ดิน มรดก หนี้สินครัวเรือน
2.การจัดทำบันทึกข้อตกลงระงับข้อพิพาท
3.การเบิกจ่ายค่าตอบแทน
4.ฝึกปฏิบัติการไกล่เกลี่ยจากสถานการณ์จำลอง การจัดทำบันทึกข้อตกลง และการเสนอขอบังคับตามข้อตกลง

หลักสูตรเทคนิคการไกล่เกลี่ยข้อพิพาททางอาญา มีเนื้อหา 5 หมวดวิชา ประกอบด้วย
1.หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทความผิดอาญาอันยอมความได้ ความผิดลหุโทษ ความผิดอัตราโทษอย่างสูงไม่เกินสามปี
2.การจัดกระบวนการไกล่เกลี่ย และการจัดทำบันทึกข้อตกลงระงับข้อพิพาท
3.การเบิกจ่ายค่าตอบแทน
4.การฝึกปฏิบัติการไกล่เกลี่ยจากสถานการณ์จำลอง การจัดทำบันทึกข้อตกลง และการเสนอขอบังคับตามข้อตกลง

ทั้งนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ จะได้จัดอบรมหลักสูตรเทคนิคการไกล่เกลี่ยข้อพิพาททางแพ่ง และหลักสูตรเทคนิคการไกล่เกลี่ยข้อพิพาททางอาญา เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้ไกล่เกลี่ยหลักสูตรละ 1 รุ่น รุ่นละ 50 - 80 คน และมีเป้าหมายในการขยายผลในปีงบประมาณ 2567 อีกจำนวน 18 รุ่น เพื่อให้เกิดการพัฒนากระบวนการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทอย่างต่อเนื่องต่อไป


   

facebooktwitterline

แท็กที่เกี่ยวข้อง

ภาพ :   ผศ.อุดม งามเมืองสกุล   
ข้อมูล/ข่าว :    ผศ.อุดม งามเมืองสกุล   
เพิ่มข่าวโดย :   pantasin.je@up.ac.th   
29/6/2566 12:16:39น. 37445
Print Friendly and PDF

ติดตามข่าวสาร มพ.


ติดตามข่าวสารผ่าน tiktok มพ.

@uptiktok2024

แอปพลิเคชั่น Smart UP

ดาวน์โหลดได้แล้ววันนี้

ข่าวที่มีผู้อ่านสูงสุด ย้อนหลัง 7 วัน