อาจารย์ บุคลากรและนิสิตหลักสูตรการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา ชั้นปีที่ 1 วิทยาเขตเชียงราย เข้าศึกษาดูงานแหล่งการเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง โดยมีผู้เข้าร่วม จำนวนทั้งสิ้น 37 คน ณ ศูนย์การท่องเที่ยวชุมชนปางห้าโฮมสเตย์ตำบลเกาะช้าง อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย วันที่ 1 เมษายน 2566
ในการนี้ คณะศึกษาดูงานได้ร่วมทำกิจกรรมชุมชน 4 ฐานกิจกรรม ได้แก่
ฐานกระดาษสา โดยมี ดร.ธีรพล สุรพรหม เป็นวิทยากรบรรยาย โดยมีเนื้อหาประกอบด้วย การสร้างงานศิลปะวาดภาพบนพื้นน้ำด้วยวัสดุธรรมชาติจากจินตนาการของตัวเอง เป็นผลงานที่มีชิ้นเดียวในโลก กิจกรรมที่การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) จัดให้เป็นหนึ่งในสิบห้ามพลาดเมื่อมาท่องเที่ยวเชียงราย และเป็นกิจกรรมตามเสด็จสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ
ฐานตกแต่งถุงกระดาษสา โดยมี คุณปาริชาติ ชัยศรี เป็นวิทยากรบรรยาย โดยมีเนื้อหาประกอบ ด้วยการนำเอาผลิตผลจากฐานรีไซเคิลมาตกแต่งถุงกระดาษสาให้เกิดความสวยงามและเพิ่มมูลค่า และนำมาใช้แทนถุงพลาสติก อีกด้วย
ฐานกิจกรรมรีไซเคิล โดยมี คุณวรรณภา ชุ่มมงคล เป็นวิทยากรบรรยาย โดยมีเนื้อหาประกอบด้วยกิจกรรมที่สร้างจิตสำนึกในเรื่องการรักษาธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมตามหลัก การอนุรักษ์ธรรมชาติ 5 R’s และ บีซีจีโมเดล
ฐานใยไหมทองคำ โดยมี
คุณพลอยปภัส จรัลวรรณพงษ์ เป็นวิทยากรบรรยาย โดยมีเนื้อหาประกอบด้วย ฟังเรื่องราว เยี่ยมชม และทดลองผลิตภัณฑ์ใยไหมทองคำ ที่เป็นนวัตกรรม แห่งความงามที่มีแห่งเดียวในประเทศไทย
การศึกษาดูงานในครั้งนี้ เป็นส่วนหนึ่งในรายวิชา 176722 การบริหารการศึกษาตามแนวทางศาสตร์พระราชา (Educational Administration According to the King's Science Guidelines) ศาสตร์พระราชาในการพัฒนาการบริหารจัดการสถานศึกษา โดยใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง หลักองค์ความรู้ 6 มิติ ได้แก่ 1) ดิน 2) น้ำ 3) เกษตร 4) พลังงานทดแทน 5) ป่า และ 6) สิ่งแวดล้อม หลักการทรงงาน ยุทธศาสตร์พระราชทาน “เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา” ศาสตร์พระราชากับการพัฒนาที่ยั่งยืนในบริบททางการศึกษา ศาสตร์พระราชากับการพัฒนาผู้สอนให้เป็นครูมืออาชีพ ศาสตร์พระราชากับการพัฒนาผู้เรียน และการถอดบทเรียนการนำศาสตร์พระราชาไปใช้ในการพัฒนาสถานศึกษา การบริหารการศึกษาตามแนวทางศาสตร์พระราชา โดยมี ดร.ณัฐวุฒิ สัพโส เป็นอาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชา
ทั้งนี้ นิสิตได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้และสอบถามในประเด็นต่าง ๆ จากวิทยากร เพื่อนำความรู้ที่ได้รับจากศาสตร์พระราชาไปใช้ในการพัฒนาสถานศึกษา การบริหารการศึกษาตามแนวทางศาสตร์พระราชาต่อไป อีกด้วย