บพท. ลงพื้นที่ตรวจติดตามผลการดำเนินโครงการวิจัย "ชุมชนนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน" ประจำปี 2565 มหาวิทยาลัยพะเยา

23/2/2566 16:13:23น. 1020
มหาวิทยาลัยพะเยา
        หน่วยบริหารและจัดการทุนทางด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) นำโดยคุณเบญจมาศ ตีระมาศวณิช (ผู้ทรงคุณวุฒิ) คุณสุปราณี จงดีไพศาล (ผู้ทรงคุณวุฒิ) ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วารุณี อริยวิริยะนันท์ (หัวหน้าชุดประสานฯ) และทีมงาน ลงพื้นที่ตรวจติดตามผลการดำเนินโครงการวิจัยภายใต้แผนงานริเริ่มสำคัญ (Flagship) "ชุมชนนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน" ประจำปี 2565 รอบ 9 เดือน ในระหว่างวันที่ 21-22 กุมภาพันธ์ 2566 ณ อำเภอเชียงคำและอำเภอปง จังหวัดพะเยามหาวิทยาลัยพะเยา โดยมี ศาสตราจารย์ ดร.เสมอ ถาน้อย รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยพะเยา นางสาวอัญชลี เทียมคีรี ผู้อำนวยการกองบริหารงานวิจัย คณะนักวิจัย และบุคลากรกองบริหารงานวิจัยเข้าร่วมติดตามผลการดำเนินงานในครั้งนี้

        การติดตามผลการดำเนินงานโครงการ “การพัฒนาเครือข่ายชุมชนนวัตกรรรมสำหรับการผลิตกระบือคุณภาพเพื่อการค้าภายในและต่างประเทศ” โดย ผศ.ดร.พยุงศักดิ์ อินต๊ะวิชา หัวหน้าชุดโครงการ นำเสนอผลการดำเนินงานและนำเยี่ยมชมฟาร์มกระบือคุณภาพ ณ เพชรเชียงคำฟาร์ม ตำบลเชียงบาน และเยี่ยมชมจุดแสดงผลงานของนวัตกรชุมชน ณ ฮอมฮักรีสอร์ท อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา โดยโครงการดังกล่าวได้ก่อให้เกิดการสร้างเครือข่ายชุมชนนวัตกรรมปลูกพืชอาหารสัตว์ ชุมชนนวัตกรรมปรับปรุงพันธุ์กระบือ และที่สำคัญเกิดนวัตกรด้านอาหารสัตว์ที่สามารถประกอบสูตรอาหารใช้เอง โดยผลิตสูตรอาหารต้นทุนต่ำที่มีอยู่ในท้องถิ่น จากวัตถุดิบท้องถิ่น เพื่อลดต้นทุนการผลิต ตลอดจนเกิดนวัตกรด้านการผสมเทียม รับและปรับใช้เทคโนโลยีเพื่อการจัดการตนเองและชุมชน


        และติดตามผลการดำเนินงานโครงการ “การพัฒนาชุมชนนวัตกรรมการเลี้ยงกบสู่สัตว์เศรษฐกิจเชิงพาณิชย์สร้างเศรษฐกิจและทุนชุมชนฐานรากจังหวัดพะเยา บนฐานปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง” โดย ดร.วารัชต์ มัธยมบุรุษ หัวหน้าชุดโครงการ นำเสนอผลการดำเนินกงานและนำเยี่ยมชมโรงเลี้ยงหนอนทหารเสือลายและบ่อเลี้ยงกบ ซึ่งมีนวัตกรต้นแบบให้ความรู้เกี่ยวกับการเลี้ยงหนอนทหารเสือลายและ การเพาะเลี้ยงกบ และเยี่ยมชมเกี่ยวกับระบบและเทคโนโลยีการเลี้ยงกบอัจฉริยะ (Smart farm) โดยมี นวัตกรต้นแบบให้ความรู้และสาธิตการใช้ระบบและเทคโนโลยีการเลี้ยงกบอัจฉริยะ (Smart farm) และ แนะนำผลิตภัณฑ์แปรรูปของโครงการ โครงการดังกล่าวมีกลไกการทำงานอย่างมีส่วนร่วมระดับพื้นที่ ส่วนภาครัฐ ภาควิชาการ และภาคเอกชน ส่งผลให้เกิดการสร้างนวัตกรรมชุมชนในการสร้างเศรษฐกิจฐานรากตลอดจนสร้างชุมชนที่มีขีดความสามารถในการจัดการตนเองอย่างยั่งยืนที่เกี่ยวข้องในแต่ละขั้นตอนของการดำเนินงานวิจัย


    

facebooktwitterline

แท็กที่เกี่ยวข้อง

ภาพ :   นันทปรีชา ศรีเกิดครืน   
ข้อมูล/ข่าว :    เด่นนภา ปัสตัน   
เพิ่มข่าวโดย :   dennapa.pa@up.ac.th   
23/2/2566 16:13:23น. 1020
Print Friendly and PDF

ติดตามข่าวสาร มพ.


ติดตามข่าวสารผ่าน tiktok มพ.

@uptiktok2024

แอปพลิเคชั่น Smart UP

ดาวน์โหลดได้แล้ววันนี้

ข่าวที่มีผู้อ่านสูงสุด ย้อนหลัง 7 วัน