ม.พะเยา MOU ร่วมมือกับ SkillLane พัฒนาระบบ Blended Learning เรียนผ่านระบบ Online

14/11/2565 17:00:33น. 1020
พัฒนาระบบ Blended Learning
 

          วันจันทร์ที่ 14 พฤศจิกายน 2565 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) กับบริษัท สกิลเลน เอดูเคชั่น จำกัด พัฒนาระบบ Blended Learning เปิดให้ผู้เรียนเรียนล่วงหน้าผ่านระบบ Online ณ ห้องประชุมบวร รัตนประสิทธิ์ มหาวิทยาลัยพะเยา

          มหาวิทยาลัยพะเยา และ บริษัท สกิลเลน เอดูเคชั่น จำกัด ได้จัดทำความร่วมมือทางวิชาการซึ่งประกอบด้วยการจัดการเรียนคอร์สออนไลน์บน Skill lane platform ผ่านระบบอินเทอร์เน็ตเพื่อการขยายโอกาสทางการศึกษาให้แก่ผู้เรียน ได้เข้าถึงองค์ความรู้ เนื้อหาวิชาการและหลักสูตรการเรียนการสอน ในรายวิชาต่าง ๆ โดยทางอาจารย์มหาวิทยาลัยเป็นผู้จัดการเนื้อหา กระบวนการเรียนการสอน และการประเมินผล ส่วนทางบริษัทสกิลเลน เป็นผู้จัดการให้บริการระบบโปรแกรมคอร์สเรียนออนไลน์ การประชาสัมพันธ์ การรับสมัครการประมวลผลข้อมูลตามระเบียบที่มหาวิทยาลัยกำหนด ซึ่งนำรายวิชาสามารถพิจารณาเทียบโอนเป็นระบบของมหาวิทยาลัยได้

          บริษัท สกิลเลน เอดูเคชั่นได้ดำเนินการทาง platform ทางการศึกษามาเป็นเวลานาน มีมหาวิทยาลัยประมาณ 7 มหาวิทยาลัยร่วมมือในการจัดการเรียนการสอนแบบ Non degree, Short course, Credit bank, Pre degree, รวมถึงการสอนจบครบหลักสูตร ซึ่งปัจจุบันมีจำนวนผู้เรียนมากกว่า 300,000 คน มีจำนวนคอร์สออนไลน์มากกว่า 1,000 รายวิชา จากผู้สอนมากว่า 300 คนทั่วประเทศ นับว่าเป็นการจัดการศึกษาแบบใหม่ ที่ ให้โอกาสแก่นักศึกษและประชนได้ รับโอกาสในการศึกษาอย่างกว้างขวางเป็นประโยชน์ในการพัฒนาอาชีพและพัฒนาประเทศได้ก้าวไกลและรวดเร็วยิ่งขึ้น

          ซึ่งที่ผ่านมา กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ได้ผนึกความร่วมมือกับ SkillLane เปิดตัวโครงการนำร่องจัดทำคลังหน่วยกิตแห่งชาติ (National Credit Bank System :NCBS) ส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต (Lifelong Learning) เพื่อรองรับการพัฒนาคนทุกช่วงวัย ให้ผู้เรียนซึ่งไม่จำเป็นต้องมีสถานภาพเป็นนักศึกษาสามารถนำผลการเรียนและผลลัพธ์การเรียนรู้จากวิชาและหลักสูตรต่างๆ หรือนำประสบการณ์ทำงาน มาเทียบโอนและสะสมหน่วยกิตไว้ที่คลังหน่วยกิตแห่งชาติ แล้วสามารถนำมาขอรับปริญญาบัตรจากสถาบันอุดมศึกษาของไทยได้ หรือเพื่อเป็นรายงานผลลัพธ์การเรียนรู้สะสมของผู้เรียน โดยหน้าที่ของ คลังหน่วยกิตแห่งชาติ จะมี 4 อย่าง ดังนี้
     1. เก็บข้อมูลการสะสมหน่วยกิตของผู้เรียน
     2. เชื่อมโยงคลังหน่วยกิตจากสถาบันการศึกษากับธนาคารหน่วยกิตแห่งชาติ
     3. ผู้เรียนสามารถเรียกใช้ เรียกดูหน่วยกิตที่สะสมไว้ได้
     4. มีความปลอดภัย เพื่อทำให้ผู้เรียนได้เรียนตรงกับความต้องการของตัวเอง เลือกเรียนตามความชอบของตนเอง ส่งเสริมให้คนไทยได้เรียนรู้มากขึ้น และเรียนรู้ตลอดชีวิต

 


  

facebooktwitterline

แท็กที่เกี่ยวข้อง

ภาพ :   พิศุทธ์ จิโรจน์กุล งานสื่อสารองค์กร   
ข้อมูล/ข่าว :    ธิดาเดือน อุตยานะ งานสื่อสารองค์กร   
เพิ่มข่าวโดย :   tidaduen.ut@up.ac.th   
14/11/2565 17:00:33น. 1020
Print Friendly and PDF

ติดตามข่าวสาร มพ.


ติดตามข่าวสารผ่าน tiktok มพ.

@uptiktok2024

แอปพลิเคชั่น Smart UP

ดาวน์โหลดได้แล้ววันนี้

ข่าวที่มีผู้อ่านสูงสุด ย้อนหลัง 7 วัน