แม่หวันซอล้านนา Sawsanova ของชุมชน

24/5/2565 11:31:21น. 2050
แม่หวันซอล้านนา Sawsanova ของชุมชน

          ในความคิดของคนมากกว่าครึ่งเมื่อพูดถึงเพลง ซอ จ๊อย จะคิดถึงภาพงานขันโตกงานบุญหรืองานประเพณีในชุมชนหมู่บ้านหรือที่วัดทางภาคเหนือก็ไม่ผิดที่หลายคนคิดเช่นนั้นเพราะภาพในอดีตมาถึงปัจจุบันก็ยังคงเป็นเช่นนั้นเพราะการได้ยินนำพาเราไปยังภาพนั้นเสมอ จะมีใครตั้งคำว่าไหมว่าเพลงประเภทนี้จะสามารถได้ยินในร้านกาแฟสวยๆได้อย่างลงตัวทันสมัย แม่หวันช่างซอแห่งบ้านถ้ำผู้มีความทุ่มเทอุทิศตนให้กับบทเพลงซอล้านนาสร้างลูกศิษย์มากมายทั้งในชุมชนและนอกชุมชน


          โดยพื้นฐานแม่หวันได้รับอิทธิพลจากเพลงซอล้านนาน่านโดยท่านเป็นลูกศิษย์ พ่อครูน้อยหมอก บุญชื่น(พ่อศรีนวล) ลูกศิษย์ พ่อครูไชยลังกา พรหมเสน จังหวัดน่านแม่หวันได้ซึมซับรากเหง้าบทเพลงลีลาทั้งหมดมาจากพ่อครูได้มีงานแสดงการขับซอไปทั่วทุกสารทิศจนได้ก็ตั้งคณะซอสวรรค์ล้านนาขึ้นและถ่ายทอดวิชาความรู้ให้กับคนรุ่นหลังตลอดมา




          เป็นโอกาสที่ดีที่ได้มีโอกาสได้ฟังแม่หวันขับซอให้ฟังรวมถึงได้เอากีตาร์ไปร่วมเล่นกับท่านทำให้รู้ว่าเพลงซอล้านนาไม่ได้แค่จำกัดเฉพาะกับเครื่องดนตรี ซึง สะล้อหรือใช้จังหวะการเล่นแบบล้านนาเท่านั้นเรายังสามารถนำไปเล่นในรูปแบบอื่นๆที่หลากหลายได้แต่ผู้ขับซอและผู้สร้างสรรค์เพลงจะต้องเปิดรับแนวเพลงใหม่มีอิสระในความคิดด้วย


         เพื่อให้เพลงซอล้านนาหรือเพลงพื้นบ้านสามารถเข้าไปอยู่ในเพลงกระแสนิยมที่ใช้เปิดในร้านกาแฟ เปิดในห้างสรรพสินค้า ร้านอาหารหรือนำไปใช้ร่วมกับเพลงแนวร่วมสมัยอื่นได้โดยไม่มีคนพูดว่าเชย


          การผสมผสานงานเพลงซอล้านนากับเพลงบอสซาโน่ว่านั้นได้ถูกทดลองสร้างในงานวิจัยเรื่องการสร้างสรรค์เพลงในการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอาหาร บ้านหนองหล่ม อำเภอดอกคำใต้ จังหวัดพะเยาซึ่งเป็นเพลงที่ถูกสร้างสรรค์จากข้อมูลในชุมชนที่เกี่ยวกับเพลงดนตรีอาหารและแหล่งท่องเที่ยวนำมาใช้เป็นวัตถุดิบหลักในการสร้างสรรค์โดยเพลงจะเกี่ยวกับการซอ การเล่นบรรเลงเครื่องดนตรีพื้นบ้านล้านนาร่วมสมัยเพื่อเล่าเรื่องราวของตัวชุมชน เมนูอาหารพื้นบ้าน ผ่านศิลปินในชุมชนอย่างแม่หวันช่างซอ


         ในการสร้างสรรค์งานได้พบว่าลักษณะของเพลงซอล้านนาสามารถที่จะปรับให้เข้ากับเครื่องดนตรีกีตาร์ได้อย่างลงตัวสามารถจูนเสียงตามเสียงมาตรฐานของกีตาร์ได้ตามปรกติแต่รูปแบบของคอร์ดหรือจังหวะที่เล่นต้องลงกับทำนองเพลงซอล้านนาโดยการใช้คอร์ต่างๆ


        จะมีการใช้คอร์ดค่อนข้างน้อยและมีการซ้ำไปมามากกว่าเพลงสมัยนิยมแต่ก็สามารถปรับได้เมื่อผู้สร้างสรรค์สามารถควบคุมเสียงเมโลดี้ของช่างซอเพื่อโน้มเสียงให้เข้ากลมกลืนกับเสียงคอร์ดกีตาร์ การนำจังหวะการเล่นกีตาร์แบบบอสซาโน่ว่ามาเล่นคู่กับการขับซอสามารถทำให้ลงตัวและเกิดความร่วมสมัยขึ้นมาก สามารถนำไปใช้กับธุรกิจร้านกาแฟ 



ผู้เขียน นายอาทิตย์ บุญกว้าง นักวิชาการศึกษา / ห้องปฏิบัติการนิเทศศาสตร์ คณะ บริหารธุรกิจและนิเทศศาสตร์






facebooktwitterline

แท็กที่เกี่ยวข้อง

ภาพ :      
ข้อมูล/ข่าว :      
เพิ่มข่าวโดย :   nantawat.mu@up.ac.th   
24/5/2565 11:31:21น. 2050
Print Friendly and PDF

ติดตามข่าวสาร มพ.


ติดตามข่าวสารผ่าน tiktok มพ.

@uptiktok2024

แอปพลิเคชั่น Smart UP

ดาวน์โหลดได้แล้ววันนี้

ข่าวที่มีผู้อ่านสูงสุด ย้อนหลัง 7 วัน