การปรับตัวของมหาวิทยาลัยไทยต่อการพลิกโฉมด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อมในงานฑูตวิทยาศาสตร์ ผ่าน European Green Deal - Carbon neutrality
เพื่อการพลิกโฉมเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม การลดก๊าซเรือนกระจก และการพัฒนาฑูตวิทยาศาสตร์ ของมหาวิทยาลัยพะเยา มุ่งเป้าหมายการเป็นมหาวิทยาลัยสีเขียวที่ยั่งยืนบนฐานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และการพัฒนาอัตลักษณ์นิสิตมหาวิทยาลัยพะเยาให้อยู่ในระดับสากล
ดร.ชัชวาล วงค์ชัย รองอธิการบดีฝ่ายสิ่งแวดล้อมและภูมิทัศน์
เป้าหมายการพลิกโฉม:การลดก๊าซเรือนเรือนกระจกและสร้างความสัมพันธ์ระหว่างประเทศเพื่อการพัฒนาด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อมในงานฑูตวิทยาศาสตร์
ยุทธศาสตร์ชาติ ข้อ
ความร่วมมือ:
- สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงบรัสเซลส์ กรมยุโรป
-
กองสหภาพยุโรป กรมยุโรป กระทรวงการต่างประเทศ
-
องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน)
-
สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
เพื่อการพลิกโฉมเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม การลดก๊าซเรือนกระจก และการพัฒนาฑูตวิทยาศาสตร์ ของมหาวิทยาลัยพะเยา มุ่งเป้าหมายการเป็นมหาวิทยาลัยสีเขียวที่ยั่งยืนบนฐานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และการพัฒนาอัตลักษณ์นิสิตมหาวิทยาลัยพะเยาให้อยู่ในระดับสากล
ฝ่ายวิเทศสัมพันธ์ กองบริการการศึกษา ฝ่ายประชาสัมพันธ์ กองกลางและกองอาคารสถานที่ โดย ดร.ชัชวาล วงค์ชัย รองอธิการบดี ร่วมรับฟังการสัมมนากับสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงบรัสเซลส์ กรมยุโรป โดยมี นางจุฬามณี ชาติสุวรรณ อธิบดีกรมยุโรป กระทรวงการต่างประเทศและทีมงานร่วมสัมนา เน้นจับตากระแส European Green Deal - Carbon neutrality โดยเป้าหมายของนโยบาย European Green Deal (EGD) ของสหภาพยุโรป
ซึ่งตั้งเป้าลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ภายในปี ค.ศ. ๒๐๕๐ ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อภาคการส่งออกของไทย และภาคเอกชนไทยควรติดตามมาตรการภายใต้ EGD อย่างใกล้ชิดเพื่อประเมินผลกระทบและยกระดับมาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อมของสินค้าและการผลิตของตนอย่างทันท่วงที ซึ่งจะช่วยเพิ่มโอกาสการแข่งขันให้กับภาคธุรกิจไทย การสัมมนาฯ เน้นหารือมาตรการภายใต้ EGD ในด้านการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
โดยมีผู้ร่วมสัมมนา อาทิ (๑) ผู้แทนกรมยุโรปซึ่งให้ข้อมูลเกี่ยวกับภาพรวมมาตรการฯ และผลกระทบต่อไทย (๒) ผู้แทนสำนักงานพาณิชย์ในต่างประเทศ กรุงบรัสเซลส์ บรรยายมาตรการปรับคาร์บอนข้ามพรมแดน (Carbon Border Adjustment Mechanism – CBAM) และ (๓) ผู้แทนจากองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก ยกตัวอย่างการนำ CBAM มาใช้จริง ตลอดจนกการเตรียมความพร้อมของไทยในการลดการปล่อยก๊าซฯ และการตรวจวัดการปล่อยก๊าซฯ ซึ่งจะมีผลบังคับใช้ใน ปี 2565
โดยมุ่งเน้น Circular Economic Carbon neutrality Toxic-free environment และกลไกการปรับราคาคาร์บอนก่อนข้ามพรมแดน ซึ่งจะกระทบต่อเรื่องการจัดการระบบการเสียภาษีสินค้าต่างๆ ที่จะต้องคำนึงถึงค่าใช้จ่ายมลพิษจากก๊าซเรือนกระจก การยอมรับในการทวนสอบข้อมูลการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของสินค้าไทย และการเตรียมความพร้อมเรื่องภาษีคาร์บอน การขายสิทธ์ในการปล่อยก๊าซเรือนกระจก คาร์บอนเครดิต และการสนับสนุนจากภาคพื้นยุโรปในการเสริมสมรรถนะและเตรียมความพร้อม
Climate change and environmental degradation are an existential threat to Europe and the world. To overcome these challenges, the European Green Deal will transform the EU into a modern, resource-efficient and competitive economy, ensuring:
no net emissions of greenhouse gases by 2050
economic growth decoupled from resource use
no person and no place left behind
The European Green Deal is also our lifeline out of the COVID-19 pandemic. One third of the 1.8 trillion euro investments from the NextGenerationEU Recovery Plan, and the EU’s seven-year budget will finance the European Green Deal.