มหาวิทยาลัยพะเยา สืบสานประเพณี ดีกับสิ่งแวดล้อม “ต๋ามประทีปปูจา ลอยกระทงขมาสายนที สืบสานป๋าเวณียี่เป็ง”

18/11/2564 15:22:38น. 1087
มหาวิทยาลัยพะเยา สืบสานประเพณี ดีกับสิ่งแวดล้อม  “ต๋ามประทีปปูจา ลอยกระทงขมาสายนที สืบสานป๋าเวณียี่เป็ง”

มหาวิทยาลัยพะเยา สืบสานประเพณี ดีกับสิ่งแวดล้อม

ต๋ามประทีปปูจา ลอยกระทงขมาสายนที สืบสานป๋าเวณียี่เป็ง

มหาวิทยาลัยพะเยา ร่วมสืบสานประเพณีลอยกระทง ภายใต้แนวคิด สืบสานประเพณี ดีกับสิ่งแวดล้อม “ต๋ามประทีปปูจา ลอยกระทงขมาสายนที สืบสานป๋าเวณียี่เป็ง” วันที่ ๑๗ พฤศจิกายน ๒๕๖๔ ณ ลานอเนกประสงค์ หลังอาคารสำนักงานอธิการบดีมหาวิทยาลัยพะเยา โดยการจัดงานในครั้งนี้ เพื่อตอบโจทย์ยุทธศาสตร์การพัฒนามหาวิทยาลัย จึงได้ดำเนินโครงการกิจกรรมเชิงสร้างสรรค์พื้นที่การเรียนรู้ทางวัฒนธรรมในจังหวัดพะเยา เพื่อมุ่งเน้นการอนุรักษ์ ฟื้นฟู ทำนุบำรุงศิลปะ วัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น ตลอดจนยกระดับองค์ความรู้ทางศิลปและวัฒนธรรม สู่งานสร้างสรรค์เชิงพาณิชย์ (Cultural Enterprise) และความเป็นสากล ตามแนวการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Sustainable Development Goals) ทำให้เมืองและการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ มีความครอบคลุม ปลอดภัย ยืดหยุ่นต่อการเปลี่ยนแปลง และยั่งยืน และปกป้อง ฟื้นฟู สนับสนุนการใช้ระบบนิเวศบนบกอย่างยั่งยืน ผ่านโครงการกิจกรรมเชิงสร้างสรรค์พื้นที่การเรียนรู้ทางวัฒนธรรมในจังหวัดพะเยา ครั้งที่

อธิการบดีมหาวิทยาลัยพะเยา รองศาสตราจารย์ ดร.สุภกร พงศบางโพธิ์ พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร และบุคลากร มหาวิทยาลัยพะเยา ร่วมกิจกรรม ต๋ามประทีปปูจา ลอยกระทงขมาสายนที สืบสานป๋าเวณียี่เป็งโดยในช่วงเช้า ได้ร่วมกิจกรรมประดิษฐ์กระทงจากวัสดุธรรมชาติ โดยปฏิบัติตามแนวทางลอยกระทงลดภาระสิ่งแวดล้อมด้วยด้วยหลัก BCG ตามนโยบายของสำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โดยประดิษฐ์กระทงเดียวลอยร่วมกัน มุ่งเน้นการเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม สืบสานวัฒนธรรม และสนับสนุนนโยบายการเปิดประเทศของรัฐบาล ร่วมไปถึงการจัดงานภายใต้แนวทางปฏิบัติเรื่องการควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ ใช้กระทงขนาดเล็ก เลือกใช้วัสดุธรรมชาติ ๑๐๐ % ย่อยสลายง่าย ไม่ใช้วัสดุพลาสติกและโฟม หลีกเลี่ยงการใช้วัสดุที่ย่อยสลายได้ยาก ให้ความสำคัญกับการใช้ซ้ำแปรสภาพเพื่อนำกลับมาใช้ใหม่ และร่วมหล่อผางประทีปตีนกา  ซึ่งผางประทีปเป็นเครื่องจุดตามไฟเป็นพุทธบูชาหรือบูชาสืบชะตาอายุ “ขี้สาย” นั้น ทำจากด้ายฟั่นให้เป็นเชือกสองเกลียวยาว เมื่อปล่อยมือเชือกเกลียวแต่ละเกลียวก็จะพันกัน สามชายแยกออกจากกันเป็นสามแฉก เหมือนตีนกา และอีกชายหนึ่งตั้งอยู่ตรงกลางของทั้งสามชาย ก็จะได้ตีนกา ในช่วงเทศกาลลอยกระทง หรือ ยี่เป็ง ของล้านนา จะมีการประดับประทีปโคม และจุดผางประทีป เป็นการบูชาพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ และในช่วงค่ำ คณะผู้บริหารมหาวิทยาลัยพะเยา และบุคลากร ร่วมลอยกระทงที่ประดิษฐ์จากวัสดุธรรมชาติ ดีกับสิ่งแวดล้อม บริเวณท่าน้ำ อ่างหลวง มหาวิทยาลัยพะเยา  โดยมีขบวนฟ้อนเทียน และกลองสะบัดชัย จากนักเรียนโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยพะเยา ร่วมสร้างบรรยากาศ และได้รับความร่วมมือจากกองกิจการนิสิต และกองอาคารสถานที่ มหาวิทยาลัยพะเยา ในการจัดกิจกรรมในครั้งนี้ด้วย



   

facebooktwitterline

แท็กที่เกี่ยวข้อง

ภาพ :   พิศุทธิ์ จิโรจน์กุล   
ข้อมูล/ข่าว :    รัตนพงษ์ ธำรงทอง /กองกิจการนสิต / กองอาคารสถานที่   
เพิ่มข่าวโดย :   rattanapong.tu@up.ac.th   
18/11/2564 15:22:38น. 1087
Print Friendly and PDF

ติดตามข่าวสาร มพ.


ติดตามข่าวสารผ่าน tiktok มพ.

@uptiktok2024

แอปพลิเคชั่น Smart UP

ดาวน์โหลดได้แล้ววันนี้

ข่าวที่มีผู้อ่านสูงสุด ย้อนหลัง 7 วัน