เมื่อวันที่ 21 ธันวาคม 2563 คณะกรรมการแต่งตั้งคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพสู่ความสำเร็จโครงการ 1 คณะ 1 ชุมชนนวัตกรรม (MAI) มหาวิทยาลัยพะเยา พร้อมด้วยกองบริหารงานวิจัย เข้าร่วมติดตาม ประเมินผล ชม เชียร์ ช่วย โครงการพัฒนาแหล่งการผลิตลิ้นจี่คุณภาพในจังหวัดพะเยาด้วยมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี เพื่อการพึ่งพาตนเองอย่างยั่งยืนของเกษตรกร ที่ดำเนินงานร่วมกับกลุ่มเกษตรกลุ่มอนุรักษ์ผลิตลิ้นจี่คุณภาพห้วยป่ากล้วย พื้นที่การผลิตลิ้นจี่คุณภาพแหล่งต้นน้ำของตำบลศรีถ้อย อำเภอแม่ใจ จังหวัดพะเยา โดยคณะเกษตรศาสตร์และทรัพยากรธรรมชาติ
คณะเกษตรศาสตร์และทรัพยากรธรรมชาติ มีเป้าหมายการพัฒนาระบบการผลิตลิ้นจี่ที่ปลอดภัย และได้ผลผลิตลิ้นจี่คุณภาพ เกรด AA (premium) ที่ปลอดภัย ตั้งแต่ ต้นน้ำ-โดยการถ่ายทอดองค์ความรู้ในการจัดการฟาร์มในการผลิตลิ้นจี่ทั้งระบบ เพื่อการผลิตลิ้นจี่ปลอดภัย และได้คุณภาพเกรด AA (premium) กลางน้ำ – การประยุกต์ใช้องค์ความรู้ในการจัดการฟาร์มมาใช้ในการผลิตลิ้นจี่ และปลายน้ำ-การพัฒนา และต่อยอด รวมถึงการปรับเปลี่ยนระบบการผลิตลิ้นจี่ที่ปลอดภัยลดต้นทุนการผลิต และเพิ่มรายได้ เพื่อการเพิ่งพาตนเองอย่างยั่งยืน รวมถึงมีการถ่ายทอดเทคโนโลยีที่จำเป็นในการผลิตลิ้นจี่คุณภาพให้แก่กลุ่มเกษตรกรได้แก่ การปฏิบัติที่ได้ในการจัดการฟาร์มเพื่อการผลิตลิ้นจี่คุณภาพ ด้วยมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี ตั้งแต่การจัดการดิน การจัดการธาตุอาหารพืช การจัดการศัตรูพืชแบบผสมผสาน และการใช้ชีววิธี ตามหลักการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี การจัดการผลผลิตทั้งก่อนและหลังเก็บเกี่ยว รวมถึงการตรวจสารเคมีตกค้างในผลผลิต และตรวจคุณภาพลิ้นจี่ ตลอดจนการพัฒนาการจัดการศัตรูพืชโดยวิธีกล และชีววิธี โดยการพัฒนาที่ดักแมลงศัตรูพืช และการใช้สารสกัดจากสุมนไพรในการเคลือบพลาสติกห่อผลลิ้นจี่