ม.พะเยา หารือ การจัดทำความร่วมมือทางวิชาการกับสำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ

27/11/2563 16:23:37น. 892
ความร่วมมือทางวิชาการ


        วันศุกร์ที่ 27 พฤศจิกายน 2563 รองอธิการบดีฝ่ายการคลังและสื่อสารองค์กร รองศาสตราจารย์ ดร.ดิเรก ธีระภูธร พร้อมด้วย รองศาสตราจารย์ ดร.พรรณรายรัตน์ ศรีไชยรัตน์ คณบดีคณะนิติศาสตร์ อาจารย์และนิสิตคณะนิติศาสตร์ ต้อนรับ คุณอารีวรรณ จาตุทอง กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ และสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เพื่อหารือการจัดทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ระหว่างมหาวิทยาลัยพะเยากับสำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เพื่อเป็นกรอบในการพัฒนาความร่วมมือด้านสิทธิมนุษยชนระหว่างกัน และเพื่อประโยชน์ในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิของบุคคลและชุมชนในพื้นที่ ณ ห้องประชุมชูชาติ กีฬาแปง อาคารสำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยพะเยา

           คุณอารีวรรณ จาตุทอง กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ กล่าวว่า เพื่อให้เกิดการขยายเครือข่ายความร่วมมือไปยังชุมชนในพื้นที่ตามวัตถุประสงค์ของบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติมีนโยบายที่จะจัดตั้งศูนย์ศึกษาและประสานงานด้านสิทธิมนุษยชนในภูมิภาค ซึ่งจะต้องได้รับความร่วมมือในการสนับสนุนการดำเนินการจากสถาบันอุดมศึกษาในพื้นที่ โดยพิจารณาเห็นว่ามหาวิทยลัยพะยาเป็นสถาบันอุดมศึกษาที่มีบทบาทสำคัญในการเป็นศูนย์กลางที่จะสร้างและสนับสนุนข้อมูล ความรู้ ความเข้าใจด้านสิทธิมนุษยชนของประชาชนได้อย่างสอดคล้องกับวิถีชีวิตและวัฒนธรรมในพื้นที่ รวมถึงสนับสนุน ให้ชุมชนมีความเข้มแข็งที่จะสามารถปกป้องสิทธิของชุมชนได้

           ปัจจุบันมีสถาบันอุดมศึกษาที่ได้จัดทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือด้านสิทธิมนุษยชน กับสำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ในทุกภูมิภาครวม 50 แห่ง ประกอบด้วยภาคเหนือ 14 แห่ง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 17 แห่ง ภาคกลาง 10 แห่ง และภาคใต้ 9 แห่ง ทั้งนี้ โดยมีสาระสำคัญการลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือและสนับสนุนซึ่งกันและกันตามกรอบภารกิจและอำนาจหน้าที่ ดังนี้
1. ร่วมการพัฒนาหลักสูตร หรือรายวิชาด้านสิทธิมนุษยชน และบูรณาการความรู้ทางด้านสิทธิมนุษยชนเข้ากับการเรียนการสอนของสถาบันอุดมศึกษา
2. การสร้างความร่วมมือทางวิชาการด้านสิทธิมนุษยชน โดยเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับพื้นที่ รวมทั้งการแลกเปลี่ยน และการใช้ประโยชน์จากผลงานวิชาการระหว่างกัน
3. การจัดกิจกรรมในการสร้างความตระหนักรู้ในด้านสิทธิมนุษยชน ตลอดจนการสนับสนุนให้มีกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันในด้านสิทธิมนุษยชนที่สอดคล้องกับบริบท วิถีชีวิต และวัฒนธรรมในท้องที่
4. การพัฒนาศักยภาพด้านสิทธิมนุษยชนให้แก่บุคลากรขององค์กร ประชาชนในพื้นที่
5. การส่งเสริมความรู้ หรือฝึกประสบการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนให้แก่นิสิต นักศึกษา โดยสำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
6. การพัฒนาหรือขยายเครือข่ายด้านสิทธิมนุษยชนในพื้นที่
7. การประสานเพื่อผลักดันนโยบายเกี่ยวกับประเด็นด้านสิทธิมนุษยชนในพื้นที่ เสนอต่อรัฐบาล
8. การส่งเสริมและสนับสนุนเพื่อให้การดำเนินงานด้านการส่งเสริมและคุ้มครอง สิทธิมนุษยชนของสถาบันอุดมศึกษาทั้ง 9 แห่ง ตามข้อตกลงดังกล่าวข้างต้น
           คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา ปัจจุบันได้เปิดคลินิกให้คำปรึกษาทางกฎหมายเพื่อให้บริการแก่นิสิต บุคลากรของมหาวิทยาลัยพะเยา และประชาชนทั่วไป โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้นิสิตในหลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิตได้เรียนรู้การใช้กฎหมายจากประสบการณ์จริง เพื่ออำนวยความยุติธรรมให้แก่สังคม ให้บริการให้คำปรึกษาทางกฎหมายดังกล่าวจะอยู่ภายใต้การควบคุมดูแลอย่างใกล้ชิดของอาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ ซึ่งการให้บริการดังกล่าว บริการให้คำปรึกษาทางกฎหมายโดยไม่มีค่าใช้จ่าย ผู้สนใจสามารถติดต่อขอรับบริการ ได้ที่คณะนิติศาสตร์ อาคารเรียนรวมภูกามยาว ชั้น3 หรือสามารถขอติดต่อนัดหมายเพื่อรับบริการ โทร 0546-6666 ต่อ 1619



 


   

facebooktwitterline

แท็กที่เกี่ยวข้อง

ภาพ :   นายปราการ บุญมาวงค์ งานประชาสัมพันธ์   
ข้อมูล/ข่าว :    ธิดาเดือน อุตยานะ งานประชาสัมพันธ์   
เพิ่มข่าวโดย :   tidaduen.ut@up.ac.th   
27/11/2563 16:23:37น. 892
Print Friendly and PDF

ติดตามข่าวสาร มพ.


ติดตามข่าวสารผ่าน tiktok มพ.

@uptiktok2024

แอปพลิเคชั่น Smart UP

ดาวน์โหลดได้แล้ววันนี้

ข่าวที่มีผู้อ่านสูงสุด ย้อนหลัง 7 วัน