7 คณะ ม.พะเยา ร่วมมือผลิตหลักสูตรปริญญาโทแนวใหม่ ในรูปแบบ Transdisciplinary

22/10/2563 14:40:36น. 1028
วิทยาลัยการศึกษา
        วิทยาลัยการศึกษา มหาวิทยาลัยพะเยา มีภารกิจในการบริหารจัดการหลักสูตรด้านการศึกษาทุกระดับทั้งระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอก โดยในปัจจุบันได้หารือการสร้างหลักสูตรการศึกษามหาบัณฑิตแนวใหม่ เพื่อตอบโจทย์การพัฒนาศาสตร์ใหม่ทางการศึกษา โดยความร่วมมือระหว่าง 7 คณะ ได้แก่ คณะสหเวชศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ คณะพลังงานและสิ่งแวดล้อม คณะบริหารธุรกิจและนิเทศศาสตร์ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และวิทยาลัยการศึกษา
        รองศาสตราจารย์ ดร.สมบัติ นพรัก คณบดีวิทยาลัยการศึกษา เปิดเผยว่า แนวคิดการจัดทำหลักสูตรใหม่นั้น เกิดจากความมุ่งมั่นที่อยากให้ผู้เรียนได้ศึกษาแบบบูรณาการ ในรูปแบบ Transdisciplinary หมายถึง การหลอมรวมระดับศาสตร์ (Discipline/sciences) ระหว่างวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ วิทยาศาสตร์สุขภาพ สังคมศาสตร์ ในบริบทของความเป็นมนุษย์อย่างลึกซึ้ง ก้าวข้ามความมีขอบเขตและพื้นที่ของศาสตร์นั้นๆ หรืออาจเรียกได้ว่า เป็นการรวม ผสมผสานของความรู้ ทำให้เกิดองค์ความรู้อีกชุดหนึ่งที่มีนวัตกรรมเกิดขึ้นอย่างมากและแตกต่างไปจากเดิม โดยมีแนวคิดผลิตหลักสูตรใหม่จากการร่วมมือกันของแต่ละคณะในการสร้างมิติใหม่ทางการศึกษาให้มหาวิทยาลัยพะเยา โดยจะดำเนินการจัดการเรียนการสอนระดับปริญญาโท 2 ปริญญา คือ
       1. หลักสูตรการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาสะเต็มศึกษา (STEM Education) ควบคู่กับหลักสูตร วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม
เป็นหลักสูตรพหุวิทยาการ (Multidisciplinary) จัดการเรียนรู้ในลักษณะความกลมกลืนทางวิทยาการ (Transdisciplinary) ระหว่างองค์ความรู้ ด้านการศึกษา (Education) ของวิทยาลัยการศึกษา กับด้านวิศวกรรมศาสตร์ (Engineering) ของคณะวิศวกรรมศาสตร์ และด้านสิ่งแวดล้อม (Environment) ของคณะพลังงานและสิ่งแวดล้อม จัดการเรียนการสอน ดังนี้
           - แผน ก แบบ ก 2 ทำวิทยานิพนธ์ภาคปกติ เรียนจันทร์-ศุกร์
           - แผน ข ทำ I.S. ภาคพิเศษ เรียนเสาร์-อาทิตย์
       2. หลักสูตรการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการเป็นนวัตกรรมทางการศึกษา (Educational Innovators) ควบคู่กับ หลักสูตรวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์
เป็นหลักสูตรพหุวิทยาการ(Multidisciplinary) จัดการเรียนรู้ในลักษณะความกลมกลืนทางวิทยาการ (Transdisciplinary) ระหว่างองค์ความรู้ ด้านการศึกษา (Education) ของวิทยาลัยการศึกษา กับด้านเศรษฐศาสตร์การศึกษา (Educational Economy) ของคณะบริหารธุรกิจและนิเทศศาสตร์ และด้านวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ (Computer Engineering) ของคณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารจัดการเรียนการสอน ดังนี้
           - แผน ก แบบ ก 2 ทำวิทยานิพนธ์ภาคปกติ เรียนจันทร์-ศุกร์
           - แผน ข ทำ I.S. ภาคพิเศษ เรียนเสาร์-อาทิตย์
       3. หลักสูตรการเรียนรู้บูรณาการสมอง (Brain Integrated Learning)
เป็นหลักสูตรพหุวิทยาการ (Multidisciplinary) จัดการเรียนรู้ในลักษณะความกลมกลืนทางวิทยาการ (Transdisciplinary) ระหว่างองค์ความรู้ ด้านการศึกษา (Education) ของวิทยาลัยการศึกษา กับด้านประสาทวิทยาศาสตร์ (Neuroscience) ของคณะสหเวชศาสตร์ และคณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ ซึ่งอยู่ในระหว่างการพัฒนาหลักสูตรคู่กับวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิตบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การแพทย์ศึกษา

โดยกลุ่มเป้าหมายผู้เรียนทั้ง 3 หลักสูตร คือ
1. กลุ่มเป้าหมายภาคปกติ แผน ก แบบ ก 2 ได้แก่ ครูประจำการในโครงการการผลิตครูเพื่อพัฒนาท้องถิ่น ปีละ 2,500 คน ที่จะได้รับทุนให้ศึกษาต่อเต็มเวลา ระยะเวลา 2 ปีในหลักสูตรระดับปริญญาโท ทุกปีการศึกษา
2. กลุ่มเป้าหมายภาคพิเศษ แผน ข ได้แก่ ครูประจำการ ในสังกัด สพฐ.,สอศ.,อปท.,กศน.และ สช.ที่จะเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาโทในโครงการภาคพิเศษ (เสาร์-อาทิตย์)

 


  

facebooktwitterline

แท็กที่เกี่ยวข้อง

ภาพ :   วิทยาลัยการศึกษา   
ข้อมูล/ข่าว :    รองศาสตราจารย์ ดร.สมบัติ นพรัก / นางสาวธิดาเดือน อุตยานะ งานประชาสัมพันธ์   
เพิ่มข่าวโดย :   tidaduen.ut@up.ac.th   
22/10/2563 14:40:36น. 1028
Print Friendly and PDF

ติดตามข่าวสาร มพ.


ติดตามข่าวสารผ่าน tiktok มพ.

@uptiktok2024

แอปพลิเคชั่น Smart UP

ดาวน์โหลดได้แล้ววันนี้

ข่าวที่มีผู้อ่านสูงสุด ย้อนหลัง 7 วัน