สมาคมวัฒนหัตถศิลป์ล้านนา ร่วมกับ มหาวิทยาลัยราชมงคลล้านนา (มทร.ล้านนา) ดำเนินโครงการวิจัยพัฒนาเอกลักษณ์และการเสริมคุณค่าของหมู่บ้าน OTOP งานหัตถกรรมในเขตภาคเหนือตอนบน เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการตลาดด้วยนวัตกรรมและวัฒนธรรมสร้างสรรค์ตลอดห่วงโซ่การเชื่อมโยงโดยการผลิตและการพัฒนาผลิตภัณฑ์และจัดการทรัพยากรที่มีอยู่ในท้องถิ่นให้เป็นสินค้าที่มีคุณภาพ โดย “โครงการอบรมการพัฒนาทักษะการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ และการพัฒนามูลค่าเพิ่มผลิตภัณฑ์ OTOP และนวัตกรรมการออกแบบ” (Koyori Project 2020) (อเมริกา ญี่ปุ่น จีน) ประกอบด้วยกลุ่มที่ปรึกษาไทย ผู้ประกอบการ OTOP และนักออกแบบจาก 8 จังหวัดภาคเหนือตอนบน (เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง แม่ฮ่องสอน เชียงราย พะเยา แพร่ น่าน) ระยะเวลาดำเนินโครงการเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ OTOP 24 ผลิตภัณฑ์ เป็นเวลา 4 เดือน
โครงการ Koyori Project ได้รับสมัครนิสิตนักศึกษาจาก มหาวิทยาลัยในเขตภาคเหนือตอนบนคือ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และ มหาวิทยาลัยราชมงคลล้านนา (มทร.ล้านนา) จำนวน 24 คน เพื่อเป็นผู้ออกแบบพัฒนาผลิตภัณฑ์ OTOP 24 กลุ่มจากทั่วภาคเหนือตอนบน ในครั้งนี้หลักสูตรศิลปะและการออกแบบ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยาได้ส่งนิสิตเข้าร่วมโครงการดังกล่าว จำนวน 5 คน และ ศิษย์เก่า 1 คน คือ
นิสิตชั้นปีที่ 4 หลักสูตรศิลปะและการออกแบบ
1. นายภานุพงศ์ ไชยเลิศ
2. นางสาววทันยา เรือนคำ
3. นางสาวปิยะรัตน์ ยานาหมอ
4. นางสาวสุทธิดา ยมเกิด
5. นายณัฐกิตติ์ ใจเขื่อน
ศิษย์เก่า หลักสูตรศิลปะและการออกแบบ สำเร็จการศึกษา ปี 2562
6. นางสาวศิริรัตน์ แสงแก้ว
และได้มีการประกาศผลการคัดเลือก 10 ผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการออกแบบพัฒนา จาก 24 ผลิตภัณฑ์ เพื่อนำไปจัดแสดงในงานเทศกาลงานออกแบบเชียงใหม่ (Chiang Mai Design Week)ในช่วงวันที่ 7 - 14 ธันวาคม พ.ศ.2562 และเทศการงานออกแบบกรุงเทพ (Bangkok Design Week 2021) 30 มกราคม - 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2563 ในครั้งนี้นิสิตหลักสูตรศิลปะและการออกแบบ ได้รับการคัดเลือกเข้ารอบจำนวน 4 คนคือ
1. นางสาววทันยา เรือนคำ ผลงาน Find a fish จากแบรนด์ Suparada กลุ่มหัตถกรรมล้านนาสันปูเลย จังหวัดพะเยา
2. นางสาวปิยะรัตน์ ยานาหมอ ผลงาน: TAI-LUE Lifestyle & Nature จากแบรนด์: Linchawa (ลินชวา) จังหวัดพะเยา
3. นางสาวสุทธิดา ยมเกิด ผลงาน Cat caramics จากแบรน์ : ปั้นงานเซรามิก จังหวัดลำปาง
4. นายณัฐกิตติ์ ใจเขื่อน ผลงานโคเชต์ผสมวัสดุธรรมชาติ จากแบรน์ : จีนเจ้าโครเชต์ จังหวัดเชียงราย
และผลงานจากโครงการทั้ง 24 ผลิตภัณฑ์ จะจัดแสดง ณ สำนักงานเศรษฐกิจสร้างสรรค์เชียงใหม่ (TCDC) เชียงใหม่ ตั้งแต่วันที่ 15 สิงหาคม ถึงวันที่ 8 ตุลาคม พ.ศ.2563 (หยุดวันจันทร์)