การจัดอันดับ “Webometrics Ranking of World Universities” หรือ "Ranking Web of World Universities" จัดทำโดย Cybermetrics Lab หรือ Internet Lab ซึ่งเป็นกลุ่มวิจัยของสภาวิจัยแห่งชาติ ประเทศสเปน จะมีการประกาศผลการจัดอันดับเว็บไซต์ 2 ครั้งต่อปี คือช่วงเดือนมกราคมและช่วงเดือนกรกฎาคม ของทุกปี ผ่านทางเว็บไซต์ http://www.webometrics.info ทั้งนี้
การจัดลำดับโดย เว็บโอเมตริกซ์ "Webometrics" ในปัจจุบันเว็บไซต์ทางการศึกษา ได้แก่เว็บไซต์ของมหาวิทยาลัยทั่วโลกได้ถูกจัดอันดับในด้านการเผยแพร่องค์ความรู้อย่างเปิดกว้างและเสรี (open access) ผ่านทางระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์เวิลด์ไวด์เว็บ (world wide web) จัดทำโดย Cybermetrics Lab กลุ่มวิจัย ในสังกัด The Centre for Scientific Information and Documentation (CINDOC)สภาแห่งชาติ ณ กรุงแดดริด ประเทศสเปน (Spanish National Research Council-CSIC)
เครื่องมือที่ใช้ในการวัดผลการจัดอันดับ Ranking เรียกว่าเว็บโอเมตริกซ์ ที่มีเกณฑ์การวัดผลการจัดอันดับมหาวิทยาลัย คือ
- Presence (5%),
- Visibility (50%),
- Transparency (or Openness) (10%)
- Excellence (or Scholar) (35%)
การประกาศผลการจัดอันดับ ไม่ได้มีวัตถุประสงค์ที่จะจัดอันดับคุณภาพของสถาบันการศึกษาด้านกายภาพ แต่เป็นเพียงดัชนีชี้วัดความสามารถในการผลิต Web Publications และความเป็น Open Access ของมหาวิทยาลัยนั้นๆ
ซึ่งเป็นการวัดผลงานทางวิชาการที่เผยแพร่บนอินเทอร์เน็ต นอกเหนือจากการวัดด้วยดัชนีการตีพิมพ์ผลงานวิจัยและการอ้างอิงผลงานวิจัย แบบที่เรารู้จักกันดี ที่เรียกว่า Bibliometric Indicators เท่านั้น หรือมองอีกแง่หนึ่งก็คือ วัดความสามารถในการเป็น "มหาวิทยาลัยอิเล็กทรอนิกส์ (e-University)"
ปัจจุบัน Webometrics Ranking ได้ทำการตรวจสอบมหาวิทยาลัย โดยดูจากชื่อโดเมน (Domain Name) จำนวน 13,074 แห่ง จากทั่วโลก เพื่อทำการจัดอันดับให้แก่มหาวิทยาลัย จำนวนทั้งสิ้น 12,000 อันดับ ทั้งนี้มีมหาวิทยาลัยต่างๆ ในประเทศไทยรวมอยู่ด้วย จำนวน 189 แห่ง รายชื่อเว็บไซต์มหาวิทยาลัยทั่วโลกเป็นข้อมูลที่รวบรวมมาจากแหล่งข้อมูลต่างๆ เช่น Universities Worldwide, All Universities Around the World และ BrainTrack - College & University Directory เป็นต้น
เกณฑ์การจัดอันดับของ Webometrics ประกอบด้วย
1.Presence (5%) จำนวนหน้าเพจที่ถูกแชร์เนื้อหาที่ถูกค้นพบในผลการค้นหาของ Google search engine ทั้งหมดในเว็บไซต์ของมหาวิทยาลัย และเว็บย่อยภายใต้โดเมน (domain name) เดียวกัน (วัดด้วย Google)
2.Visibility (50%) จำนวนการอ้างอิงจากเว็บไซต์อื่น (backlinks) กลับมายังเว็บของมหาวิทยาลัย (วัดด้วย การคำนวณจะใช้ค่าเฉลี่ยจาก Ahrefs และ Majestic)
3.Transparency or Openness (10%) จำนวนการถูกอ้างอิง (citation) ของผลงานวิชาการ 110 ผู้เขียนแรก ที่อยู่ในฐานข้อมูล Google Scholar (วัดด้วย Google Scholar Citation)
4.Excellence or Scholar (35%) จำนวนบทความวิชาการที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร ของงานวิจัยหรือเอกสารวิชาการที่ถูกนำไปอ้างอิงมากที่สุดในแต่ละสาขาวิชา ในระยะเวลา 5 ปี (2013 – 2017) ที่มีการถูกอ้างอิงสูงสุด 10 % แรกในฐานข้อมูล Scimago
ผลการจัดอันดับ รอบที่ 2 ปี 2020 รอบเดือน กรกฎาคม 2563 มหาวิทยาลัยพะเยา อยู่ใน ลำดับที่ 16 ของประเทศ และอันดับที่ 1,972 ของโลก จากอันดับเดิมที่ 37 ของประเทศ และอันดับที่ 4,621 ของโลก ขยับขึ้นมา 21 อันดับในไทย และขึ้นมา 2,649 อันดับของโลก
รอบ 1 January 2020 เดือน มกราคม 2563 อันดับ 37 ในประเทศไทย 4542 ในอันดับโลก
รอบ 2 July 2020 เดือน กรกฎาคม 2563 อันดับ 16 ในประเทศไทย 1973 ในอันดับโลก
ในกลุ่มของมหาวิทยาลัยภาคเหนือ มหาวิทยาลัยพะเยาขึ้นมาอยู่อันดับที่ 3 ในการจัดอันดับของ “Webometrics Ranking of World Universities”
- อันดับที่ 1 มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
- อันดับที่ 2 มหาวิทยาลัยนเรศวร
- อันดับที่ 3 มหาวิทยาลัยพะเยา
- อันดับที่ 4 มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
- อันดับที่ 5 มหาวิทยาลัยแม่โจ้