เมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม 2563 คณะกรรมการโครงการล้านนนาตะวันออก "เมืองรักษ์นกยูงไทยระดับโลก" สู่การท่องเที่ยวเชื่อมโยงเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ได้เข้าร่วมรับฟังการรายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานสำรวจวิจัยเพื่อพัฒนาจัดการพื้นที่อนุรักษ์นกยูงไทยในถิ่นที่อยู่อาศัยตามธรรมชาติ
(in situ Conservation) เพื่อการท่องเที่ยวธรรมชาติในพื้นที่อนุรักษ์ และสร้างจิตสำนึกแก่ชุมชนท้องถิ่น กิจกรรมหลัก ล้านนาตะวันออก “เมืองรักษ์นกยูงไทยระดับโลก” สู่การท่องเที่ยวเชื่อมโยงเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ภายใต้โครงการบูรณาการท่องเที่ยวของกลุ่มจังหวัด ซึ่งมี 10 กิจกรรม ได้ขับเคลื่อน ได้แก่
1 การสำรวจ ประเมินประชากรนกยูงไทยปัจจุบัน ในพื้นที่อนุรักษ์จำนวน 4 จังหวัด
2 วิเคราะห์พยากรณ์จำนวนในอนาคตและประเมินผลกระทบที่มีต่อนกยูงไทยในพื้นที่อนุรักษ์ จำนวน 4 จังหวัด
3 บริการวิเคราะห์และจัดทำแผนการจัดการพื้นที่ถิ่นที่อยู่อาศัยและชีววิทยาของนกยูงไทย รวมทั้งเฝ้าระวังภัย จำนวน 4 จังหวัด
4 การสำรวจและรวบรวมข้อมูลเพื่อจัดทำ Big Data เกี่ยวกับนกยูงในพื้นที่เป้าหมาย
5 การพัฒนาและจัดทำ Application เพื่อใช้ในการสำรวจติดตามนกยูงในพื้นที่
6 การจัดทำระบบภูมิศาสตร์สารสนเทศการกระจายประชากรนกยูงไทย
7 การพัฒนาระบบตัดสินใจเพื่อการอนุรักษ์นกยูงไทยในพื้นที่อนุรักษ์
8 การจัดทำขอบเขต (Zoning) พื้นปกปักทรัพยากรฯนกยูง : ข่วงนกยูงกับรอยต่อพื้นที่ชุมชนและป่าอนุรักษ์ (Buffer Zone)และการจัดการพื้นที่ท่องเที่ยวทางธรรมชาติในพื้นที่
9 จัดทำรายงานผลปฏิบัติติงานร่วมกันระหว่างพื้นที่อนุรักษ์เป้าหมายที่ดำเนินงาน ทั้งภายในจังหวัด และกลุ่มจังหวัด
10 ศึกษาพื้นที่อนุรักษ์ของชุมชนจำนวน 5 แห่ง
ทั้งนี้ คณะกรรมการให้ให้ข้อเสนอแนะแก่คณะทำงานเพื่อนำไปพัฒนาการดำเนินการให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดต่อไป โดยได้รับเกียรติจาก นายกฤตภาส ขันทะธงสกุลดี หัวหน้าเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเวียงลอ และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พรเทพ โรจนวสุ คณบดีคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสาร เป็นประธานในพิธี ณ ห้องประชุม บวร รัตนประสิทธิ์ ตึกอธิการบดี มหาวิทยาลัยพะเยา