• Call Us
  • +6654 466 666
  • E-mail
  • uppr@up.ac.th

School of Agriculture and Natural Resources issued a biogas pond installation area to reduce household costs.

AHiS

          วันพฤหัสบดีที่ ๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๔ อธิการบดีมหาวิทยาลัยพะเยา รองศาสตราจารย์ ดร.สุภกร พงศบางโพธิ์ ร่วมรับฟังวัตถุประสงค์และความเป็นมาของการส่งนักเรียนโรงเรียนสาธิตมหาวิทยลัยพะเยา เข้าร่วม โครงการ Asian Herb in Space (AHiS) ทดลองปลูกโหระพาบนพื้นโลก สู่สถานีอวกาศนานาชาติ พร้อมให้โอวาท สนับสนุน และเป็นกำลังใจให้นักเรียนได้ศึกษาและทำการวิจัยสู่ความสำเร็จ




 

         ณ ห้องประชุมบวร รัตนประสิทธิ์ อาคารสำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยพะเยา รองศาสตราจารย์ปรียานันท์ แสนโภชน์ ผู้อำนวยการโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยพะเยาได้กล่าวถึงความเป็นมาของโครงการ Asian Herb in Space (AHiS) ว่า โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยพะเยาได้สนับสนุน และผลักดันนักเรียนให้เข้าร่วมการศึกษาและวิจัยการปลูกพืชบนอวกาศ โดยเป็นการทดลองปลูกโหระพาบนพื้นโลก เปรียบเทียบกับการปลูกบนสถานีอวกาศนานาชาติ เป็นเวลา ๓๐ วัน โดยใช้เมล็ดพันธุ์ชนิดเดียวกัน เพื่อร่วมเป็นส่วนหนึ่งของการทดลองกับนักวิทยาศาสตร์ระดับนานาชาติ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยพะเยา ได้สมัครเข้าร่วมโครงการดังกล่าว โดยส่งทีมนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาเข้าร่วมโครงการ จำนวนทั้งสิ้น ๑๑ ทีม ซึ่งโครงการนี้ได้รับความร่วมมือระหว่างองค์การสำรวจอวกาศญี่ปุ่น (JAPAN AEROSPACEEXPLORATION AGENCY: JAXA) และสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ หรือ สวทช. ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๖๓ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและวิจัยการปลูกพืชบนอวกาศสำหรับใช้ในการดำรชีวิต และต่อยอดการวิจัยสู่การปลูกพืชบนดาวเคราะห์ดวงอื่น เพื่อรองรับการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์นอกโลกในอนาคต





          อธิการบดีมหาวิทยาลัยพะเยา รองศาสตราจารย์ ดร.สุภกร พงศบางโพธิ์ กล่าวว่า การเปิดโอกาสให้นักเรียนได้แสดงความสามารถ ผ่านโครงการระดับชาติและนานาชาติิถือว่าเป็นอีกช่องทางหนึ่งที่ได้เปิดโลกให้กับนักเรียนได้แสดงศักยภาพและทักษะความสามารถสู่สายตาประชาคม อีกทั้งเป็นการเพิ่มพูนความรู้ต่อยอดทักษะให้นักเรียน ทั้งในด้านการเรียนและการทำงานในอนาคต สอดรับกับยุทธศาสตร์การพัฒนามหาวิทยลัยด้านงานวิจัยและนวัตกรรม ด้านการเสริมสร้างและพัฒนาความเป็นสากลหรือนานาชาติ ซึ่งจะทำให้มหาวิทยาลัยพะเยามีชื่อเสียง เป็นที่รู้จักและยอมรับในระดับชาติและนานาชาตินักเรียนที่เข้าร่วมโครงการจะได้ฝึกฝนการค้นคว้าวิจัย ฝึกฝนการทำงานกลุ่ม รวมทั้งได้รับประสบการณ์ในการทำงานร่วมกับองค์กรอวกาศระดับโลก ขอให้นักเรียนมีความตั้งใจ ขยันหมั่นเพียร หมั่นฝึกฝน และนำความรู้และประสบการณ์ที่ได้รับกลับมาพัฒนางานวิจัยการปลูกพืชบนอวกาศสำหรับใช้ในการดำรงชีวิตและต่อยอดการวิจัยสู่การปลูกพืชบนดาวเคราะห์ดวงอื่น เพื่อรองรับการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์นอกโลกในอนาคต ตามวัตถุประสงค์โครงการ ตลอดจนนำมาใช้ในการเรียนและการทำงานต่อไป



  

        พร้อมกันนี้ ผู้ช่วยอธิการบดี ดร.ชัชวาล วงค์ชัย ได้นำเสนอความเป็นมาของโครงการเพิ่มเติม โดยเหตุผลที่เน้นการปลูกโหระพานั้น เพราะคาดว่าจะเป็นพืชที่ในอนาคตสามารถนำไปปลูกและทานได้ในอวกาศด้วยคุณสมบัติที่ทนเป็นยาสมุนไพรมีประโยชน์ จากนั้น ได้มีการแนะนำทีมนักเรียนที่เข้าร่วมโครงการทั้งหมด ๑๑ ทีม ซึ่งทุกทีมมีหัวข้อโครงงานวิจัยและอาจารย์ที่ปรึกษาเรียบร้อยแล้ว



 

         ในช่วงท้าย คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ รองศาสตราจารย์ ดร.ชยันต์ บุณยรักษ์ กล่าวว่า ทางคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา พร้อมให้ความร่วมมือและสนับสนุนการดำเนินโครงการนักเรียนทั้ง ๑๑ ทีม พร้อมชื่นชมนักเรียนโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยพะเยา มีความรู้และความสนใจด้านวิทยาศาสตร์เป็นอย่างดี จึงทำให้โรงเรียนได้จัดตั้งห้องเรียนวิทยาศาสตร์ในโรงเรียน (โครงการ วมว.) โดยการกำกับดูแลของมหาวิทยาลัย ทางคณะมีความยินดีและให้การสนับสนุนอย่างเต็มที่ต่อไป








825   4/2/2564 16:02:32   

Alumni

Address : University of Phayao

Phayao Thailand

Phone :

+6654 466 666

Opening Hours :

Mon - Fri: 8.30am - 4.30pm