คู่มือนิสิตฝึกงาน (เอกชน) ฉบับย่อ ตอนที่ 1

16/7/2567 16:09:32น. 1023
ใครอยากฝึกงานที่ต้องใช้ภาษาอังกฤษ ลองมาอ่านตรงนี้: (1) นักกฎหมายประจำบริษัท (In-house lawyer) เนื่องจากมีนิสิตหลายคนที่เตรียมตัวไปฝึกงานในภาคการศึกษาภาคปลายสนใจฝึกงาน law firm บ้าง in-house บ้าง หรืออยากลองไปฝึกงานในที่ที่มีโอกาสได้ใช้ทั้งภาษาอังกฤษและความรู้กฎหมาย แต่ยังไม่ค่อยแน่ใจว่าจะเริ่มจากตรงไหนดี มีงานไหนที่จะไปขอฝึกงานได้บ้าง ด้วยเหตุนี้ ฝ่ายพัฒนาคุณภาพนิสิตกับฝ่ายนวัตกรรมการเรียนรู้และสื่อสารองค์กรเลยมาคุยกันว่า เรามาลองทำคู่มือฉบับเล็กๆ สำหรับนิสิตที่จะช่วยให้นิสิตมีตัวเลือกในการฝึกงานในวิชาคลินิกฝึกงานมากขึ้น และเตรียมตัวสำหรับไปฝึกงานได้อย่างสบายใจ โดยเราจะนำเสนอเป็น 4 ตอนด้วยกัน คือ นักกฎหมายประจำบริษัท นักกฎหมายใน Law Firm การฝึกงานกับองค์กรจากต่างประเทศ และการฝึกงานกับองค์การพัฒนาเอกชนหรือภาคประชาสังคม

ใครอยากฝึกงานที่ต้องใช้ภาษาอังกฤษ ลองมาอ่านตรงนี้: (1) นักกฎหมายประจำบริษัท (In-house lawyer)

เนื่องจากมีนิสิตหลายคนที่เตรียมตัวไปฝึกงานในภาคการศึกษาภาคปลายสนใจฝึกงาน law firm บ้าง in-house บ้าง หรืออยากลองไปฝึกงานในที่ที่มีโอกาสได้ใช้ทั้งภาษาอังกฤษและความรู้กฎหมาย แต่ยังไม่ค่อยแน่ใจว่าจะเริ่มจากตรงไหนดี มีงานไหนที่จะไปขอฝึกงานได้บ้าง ด้วยเหตุนี้ ฝ่ายพัฒนาคุณภาพนิสิตกับฝ่ายนวัตกรรมการเรียนรู้และสื่อสารองค์กรเลยมาคุยกันว่า เรามาลองทำคู่มือฉบับเล็กๆ สำหรับนิสิตที่จะช่วยให้นิสิตมีตัวเลือกในการฝึกงานในวิชาคลินิกฝึกงานมากขึ้น และเตรียมตัวสำหรับไปฝึกงานได้อย่างสบายใจ โดยเราจะนำเสนอเป็น 4 ตอนด้วยกัน คือ นักกฎหมายประจำบริษัท นักกฎหมายใน Law Firm การฝึกงานกับองค์กรจากต่างประเทศ และการฝึกงานกับองค์การพัฒนาเอกชนหรือภาคประชาสังคม

ในตอนแรกนี้ เราจะพาไปรู้จักกับนักกฎหมายประจำบริษัทที่เรียกกันสั้นๆ ว่า “in-house” กัน


In-house lawyer คืออะไร: In-house lawyer คือ นิติกร ทนาย หรือที่ปรึกษากฎหมายประจำบริษัท มีตำแหน่งหน้าที่ในองค์กร และได้รับเงินเดือนจากองค์กร

ลักษณะงานของ In-house lawyer เป็นอย่างไร: ลักษณะงานจะมีความแตกต่างไปตามแต่ละธุรกิจ เช่น ธุรกิจเกี่ยวกับรถยนต์ และสถาบันการเงิน กฎหมายที่ใช้ก็จะมีความแตกต่างกัน เช่น
บริษัทส่วนใหญ่อาจแบ่งฝ่ายกฎหมายออกเป็น 3 แผนก ได้แก่
1) Contract หรืองานที่เกี่ยวข้องกับสัญญา เช่น การร่างสัญญา
2) Litigation ได้แก่งานคดีต่างๆ โดยส่วนมากจะต้องมีใบอนุญาตว่าความ
3) งานส่วน Corporate เช่น ฝ่าย Company Secretary ซึ่งจะรับผิดชอบในเรื่องการเรียกประชุมผู้ถือหุ้นและกรรมการ การจดบันทึกการประชุม ฯลฯ ซึ่งหากบริษัทเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ฝ่ายนี้จะยิ่งมีความสำคัญ โดยจะต้องปฏิบัติตามกฎของสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์(กลต.)


ฝ่ายกฎหมายของธนาคาร อาจแบ่งได้ดังต่อไปนี้

1) กลุ่มงานแพ่งและบังคับคดี
2) คดีอาญาและอาญาทุจริต
3) กลุ่มคดีชำนัญพิเศษ
4) กลุ่มงานปรึกษาภาษาไทยและอังกฤษ
ฝ่ายกฎหมายในบริษัทอสังหาริมทรัพย์ อาจแบ่งได้ดังต่อไปนี้
1) งาน Asset Management, งานซื้อขายที่ดินและงานพัฒนาโครงการ
2) งานนิติกรรมสัญญา
3) งานทะเบียนธุรกิจ (Compliance & Company Secretary)
4) งานคดีความ
5) งานราชการสัมพันธ์
6) งานกฎหมายเฉพาะทางอื่นๆ เช่น แรงงาน ภาษี
7) งาน Property Management และงานนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรและอาคารชุด
8) งานชุมชนสัมพันธ์และการเจรจาแก้ปัญหา

ตัวอย่างรายชื่อบริษัทที่มีแผนก In-house Lawyer
1) ธนาคาร เช่น ธนาคารกรุงเทพ ธนาคารกสิกรไทย ธนาคารกรุงไทย ธนาคารไทยพาณิชย์ ฯลฯ
2) บริษัทหลักทรัพย์ (รายชื่อบริษัท: https://www.set.or.th/th/market/information/member-list/main)
3) บริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน)
4) บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)
5) บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน)
6) บริษัท โพส เซฟี่ กรุ๊ป จำกัด (OPPO)
7) บริษัทประกอบธุรกิจรถยนต์ เช่น NISSAN MOTOR (THAILAND) CO., LTD.
8) บริษัท โตชิบา ไทยแลนด์ จำกัด
9) Central Pattana Public Company Limited

การเตรียมตัวฝึกงานในอาชีพ In-house Lawyer
นิสิตควรฝึกทักษะในการสื่อสารไม่ว่าการพูดหรือการเขียน โดยเฉพาะการใช้อีเมลในการติดต่อสื่อสารในองค์กร
นิสิตควรมีอุปกรณ์และเครื่องมือในการทำงาน เช่น คอมพิวเตอร์ โน้ตบุ๊ค
นิสิตควรเรียนรู้โปรแกรมที่ใช้สำหรับการทำงานเบื้องต้น เช่น MS Words, Zoom
ทักษะในการค้นคว้าข้อมูลทางกฎหมาย และการมีความกระตือรือร้นในการเรียนรู้งานเป็นสิ่งสำคัญ

อ้างอิง
1. ชีวิตก่อนความตาย….จบกฎหมายแล้วไปไหน ตอน 4 ไป….ทำงาน ตอนย่อย 4.2 “In-house lawyer”https://lawonreal.wordpress.com/2011/04/24/aftergraduated4_2/
2. งาน In-House ในบริษัทอสังหาริมทรัพย์ของนักกฎหมาย มีอะไรบ้าง https://www.facebook.com/photo.php?fbid=827679415823413&id=100057440859924&set=a.571787301412627&locale=th_TH
3. สรุปสาระสำคัญโครงการอบรมทักษะการปฏิบัติงานทางกฎหมาย ประจำปีการศึกษา 2564 ครั้งที่ 2 หัวข้อ “การฝึกงานและการทำงานรูปแบบ Work From Home” https://www.law.tu.ac.th/legal-practice-workshop-64-season2-summary-3/

บทความโดย อาจารย์พรณัชชา ทับพันบุบผา
ฝ่ายคุณภาพนิสิต และฝ่ายนวัตกรรมการเรียนรู้และสื่อสารองค์กร คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา





facebooktwitterline

แท็กที่เกี่ยวข้อง

ภาพ :      
ข้อมูล/ข่าว :      
เพิ่มข่าวโดย :   krittabhorn.ju@up.ac.th   
16/7/2567 16:09:32น. 1023
Print Friendly and PDF

ติดตามข่าวสาร มพ.


ติดตามข่าวสารผ่าน tiktok มพ.

@uptiktok2024

แอปพลิเคชั่น Smart UP

ดาวน์โหลดได้แล้ววันนี้

ข่าวที่มีผู้อ่านสูงสุด ย้อนหลัง 7 วัน